4.2K
1 มีนาคม 2553

ปั้นธุรกิจแฟรนไชส์เอสเอ็มอี

 


เน้น 10 ธุรกิจดาวรุ่งสู่สากล ชี้ร้านอาหาร-สปานำขบวน
   
นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ในปี 53 กรมฯ มีแผนการพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอี ใน 10 กลุ่มธุรกิจสำคัญเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันสู่ระดับสากล ได้แก่ การพัฒนาแฟรนไชส์ ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ร้านอาหารไทย ก่อสร้าง สปา อู่ซ่อมรถยนต์ ค้าปลีก ค้าส่ง สิ่งพิมพ์ และโลจิสติกส์ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจเอสเอ็มอีแข่งขันได้ดีขึ้นตามนโยบายของนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ที่ต้องการให้เอสเอ็มอีเป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และนายอลงกรณ์ พลบุตร รมช. พาณิชย์ ที่ต้องการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอี

ทั้งนี้ ธุรกิจแฟรนไชส์ ได้ตั้งเป้าหมายพัฒนาคนที่ทำธุรกิจอยู่แล้วให้เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ 20 ราย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกธุรกิจที่จะร่วมโครงการ 33 ราย เช่น ธุรกิจอาหาร การศึกษา และบริการความงาม ขณะเดียวกันจะพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยที่มีอยู่แล้วให้เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพไม่น้อยกว่า 50 ราย ตลอดจนได้เตรียมร่าง กฎหมายแฟรนไชส์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นระบบแฟรนไชส์ของประเทศ ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยสามารถเติบโตและขยายตัวได้อย่างเข้มแข็ง 

สำหรับแผนส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีแผนพัฒนาให้ผู้ประกอบการใช้ การตลาดผ่านระบบไอที เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มช่องทางการตลาดในการทำธุรกิจ โดย กระตุ้นให้ผู้ประกอบการเปิดร้านค้าในเว็บไซต์ www.DBDmart.com จำนวน 450 ราย พัฒนาให้เกิดผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอ นิกส์ใหม่จำนวน 240 ราย และจัดอี-คอมเมิร์ซ คลินิก เพื่อเอสเอ็มอีจำนวน 100 ราย พร้อมกันนี้ จะจัดอบรมอี-เลิร์นนิ่ง ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 800 ราย

นายบรรยงค์ กล่าวว่า การพัฒนาธุรกิจไทยสู่สากล มีแผนที่จะพัฒนาธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจก่อสร้าง สปา และอู่ซ่อมรถยนต์ โดยปีที่ผ่านมา กรมฯ ได้สร้างเกณฑ์มาตรฐานไว้เรียบร้อยแล้ว และปีนี้เปิดโอกาสให้ธุรกิจเหล่านี้เข้ามาฝึกอบรม เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับธุรกิจในการรับมือกับการแข่งขันที่มีมากขึ้น จากที่อาเซียนจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)

ส่วนการพัฒนาธุรกิจสิ่งพิมพ์ กรมฯได้จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายธุรกิจสิ่งพิมพ์สู่ระดับสากล เพื่อต่อยอดและขยายกลุ่มคลัสเตอร์ธุรกิจสิ่งพิมพ์กับธุรกิจอื่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและตลาดร่วมกับกลุ่มธุรกิจ เช่น กลุ่มเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน กลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือน กลุ่มโลจิสติกส์ และกลุ่มป้ายโฆษณา ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสิ่งพิมพ์สามารถเชื่อมโยงไปยังธุรกิจอื่น ๆ และมีโอกาสในการทำธุรกิจมากขึ้น

ด้านธุรกิจค้าปลีก ค้าส่งจะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้แผนพัฒนาระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์ธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง โดยพัฒนาร้านค้าส่งไม่น้อยกว่า 7 ราย ให้สามารถลดต้นทุนในการบริหารจัดการคลังสินค้าและการควบคุมปริมาณสินค้าคงคลัง ส่วนร้านค้าปลีกรายย่อย พัฒนาให้เข้าสู่มาตรฐานสากล มีระบบการบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งจะช่วยฝึกพนัก งานร้านค้าส่ง ค้าปลีก 

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากล่าวต่อว่า การสนับสนุนโลจิสติกส์ได้ตั้งเป้าหมายส่งเสริมให้กลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย มีการเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อข้อมูล



อ้างอิงจาก เดลินิวส์
 

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
950
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
651
“เติมพลังความรู้” กับ ..
592
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
563
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
554
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
517
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด