774
4 มีนาคม 2562
‘ดีป้า’ ร่วมมือ 6 บริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรม ผลักดัน ‘ดิจิทัลพาร์คไทยแลนด์’


ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) หรือดีป้า เป็นตัวแทนลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท Unity และ Spotwerkz โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคนิค สนับสนุน Digital Park Thailand และ IoT Institute ภายใต้นโยบาย ‘ไทยแลนด์ 4.0’โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา depa ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ 4 บริษัทชั้นนำในสิงคโปร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านแพลตฟอร์มและโซลูชัน IoT และด้านการลงทุนภายในภูมิภาคอาเซียน

ประกอบด้วย Willowmore, Gobi Partners, Unabiz และ Ascent Solutions ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าว เป็นการ เปิดโอกาสให้ประเทศไทยได้ใช้แพลตฟอร์ม และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ เพื่อยกระดับมาตรฐาน และประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการไทยให้เทียบเท่าระดับสากลดร.ภาสกร กล่าวถึงจุดประสงค์ของการเดินทางไปพบปะ เยี่ยมเยือน และพุดคุยถึงโอกาสด้านความร่วมมือต่าง ๆ กับบริษัทเป้าหมายในประเทศสิงคโปร์ครั้งนี้ว่า เป็นการสนับสนุนนโยบาย ‘ไทยแลนด์ 4.0’ ของรัฐบาลไทย

ทั้งในการแลกเปลี่ยนความรู้ในเชิงวิชาการและด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี IoT ใหม่ๆ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงเพื่อกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้นโดยบริษัท Unity นั้นเป็นผู้นำด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับเกม โดยเป็นแพลตฟอร์มที่มีการนำไปใช้มากกว่าสองในสามของตลาดเกมทั่วโลก

นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ให้บริการด้าน 3D automotive design, industrial and architectural services และ บริการด้าน film and animation โดยบริการเหล่านี้มีความสำคัญในการสนับสนุนและผลักดันการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs และสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต


รวมถึงอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ นอกจากนี้ Spotwerkz ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ big data analytics เป็นผู้ได้รับสิทธิในการใช้โซลูชั่นของ Unity ในประเทศไทย ส่วนบริษัท Willowmore Singapore Pte. Ltd. เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมกุญแจและตู้ล็อคอัจฉริยะ และเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยี Sig-Wav แห่งแรกของโลก นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นด้านการพัฒนานวัตกรรมและการนำเสนอโซลูชันที่โดดเด่น และมีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวได้มีการนำปัญญาประดิษฐ์ที่มีความซับซ้อนสูงมาใช้เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยและความทันสมัย

และยังสามารถป้องกันการโจรกรรมกุญแจซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้แพร่หลายในปัจจุบัน ในขณะที่ บริษัท Gobi Partners เป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนในเอเชีย มีแนวทางในการเลือกลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่ม startup, AI, Data Analytics และ IoT ภายใต้ ‘depa startup funds’ และ/หรือ ‘matching fund’ โดยจากความร่วมมือในครังนี้ จะเป็นการระดมความรู้ ความเชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อพัฒนา ‘startup fund’ ต่อไปในอนาคตและในส่วนของบริษัท UnaBiz ให้บริการ IoT (Integrated network solution) ซึ่งเป็นการให้บริการโซลูชันบนเครือข่ายแบบครบวงจรที่ช่วยเสริมศักยภาพด้าน IoT ให้ผู้ประกอบธุรกิจ UnaBiz เล็งเห็นถึงความสำคัญของตลาดในประเทศไทย

ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการค้าในภูมิภาค และยังมีศักยภาพในการเติบโตสูง ทั้งมีการรองรับจากระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และเทคโนโลยี 5G ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต UnaBiz จึงต้องการที่จะเปิดศูนย์วิจัย เพื่อพัฒนาต่อยอดด้าน IoT Sensor ผ่านความร่วมมือกับ depaAscent Solutions เป็นบริษัท IoT ในประเทศสิงคโปร์ให้บริการในหลายอุตสาหกรรม อาทิเช่น การบริหารคลังสินค้า การขนส่งอัจฉริยะ อี-พาสปอร์ต ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เช่น NB-IoT, Satcom, GPRS, Active และ Passive RFID โดยมุ่งเน้นการให้บริการโซลูชีนที่มีความความปลอดภัย

และยังมีแผนที่จะขยายเครือข่ายไปทั่วโลก โดยความร่วมมือกับ depa ในครั้งนี้จะมุ่งเน้นการพัฒนาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขยายฐานลูกค้าสำหรับอุตสาหกรรม รวมถึงการให้บริการด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยอำนวยความสะดวก ความรวดเร็วด้านการขนส่งทั้งในและต่างประเทศ“ความร่วมมือระหว่าง depa กับ 6 บริษัทชั้นนำด้านนวัตกรรม IoT ในครั้งนี้ ถือเป็นการต่อยอดและพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในระดับสากล เพื่อสานต่อนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ช่วยยกระดับขีดความสามารถผู้ประกอบการไทย และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้กับนานาประเทศ จากการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่มีประสบการณ์และความรู้ ซึ่งพร้อมร่วมพัฒนาบุคลากรไทยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ จุดประกาย และเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการของไทยในการรองรับการดำเนินธุรกิจรูปแบบดิจิทัลต่อไปในอนาคต” ดร.ภาสกร กล่าว

ทั้งนี้ ภายในงานนอกจากการลงนามความร่วมมือดังกล่าว ดีป้า ยังได้จัดงานสัมมนาวิชาการโดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสมาคม IoT แห่งประเทศไทย รวมถึงผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรงด้าน IoT ทั้งจากประเทศไทย และจากต่างประเทศ โดยการเสวนาในหัวข้อแรกกล่าวถึงภาพรวม แนวโน้ม และความสำคัญของนวัตกรรม IoT ต่อแผนการพัฒนาประเทศไทยสู่ ‘ไทยแลนด์ 4.0’ ซึ่งดำเนินการเสวนาโดย ดร.เจษฎา ศิวารักษ์ ที่ปรึกษาประธานสมาคม IoT แห่งประเทศไทย และหัวข้อที่สอง ซึ่งเน้นข้อมูลเชิงลึกในด้านบทบาทของการประยุกต์ใช้ IoT ในอุตสหกรรมต่าง ๆ

อาทิ อุตสาหกรรมการผลิต การเกษตร AR/VR เครื่องจักรและการออกแบบ และอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดแวร์ ทั้งในประเทศไทย และในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยด้วย
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น เป..
4,095
ชีสซี่ฟราย สแน็ค เปิดต..
3,324
เริ่มแล้ว! งานแฟรนไชส์..
2,843
แรงจริง! #แฟรนไชส์ ก๋ว..
1,357
พบบูธ “ก๋วยเตี๋ยวเรือป..
970
ธงไชยผัดไทย ร่วมกับ 7-..
921
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด