1.4K
10 ธันวาคม 2561
พาณิชย์เผยตัวเลขเถ้าแก่ใหม่ ต.ค. 61 ลดลง 2% มูลค่าลงทุน 19,962 ล้าน
 
 
 
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า รายงานผลการจดทะเบียนธุรกิจเดือน ต.ค. 61 จำนวน 6,197 รายลดลง 116 ราย ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่ 3 อันดับ ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ และภัตตาคาร ร้านอาหาร มูลค่าการลงทุน 19,962 ล้านบาท ลดลง 28,065 ล้านบาท ส่วนธุรกิจเลิกกิจการ 2,166 ราย เพิ่มขึ้น 267 ราย มูลค่า 10,088 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,533 ล้านบาท 
 
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยการจดทะเบียนธุรกิจและการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนตุลาคม 2561 โดยมี ผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศในเดือนตุลาคม 2561 จำนวน 6,197 ราย เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2561 จำนวน 6,313 ราย ลดลงจำนวน 116 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 และเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 6,003 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 194 ราย คิดเป็นร้อยละ 3
 
สำหรับ ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 573 ราย คิดเป็น ร้อยละ 9 รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 383 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 และอันดับ 3 คือ ธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 201 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 
 
ส่วนมูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ ในเดือนตุลาคม 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 19,962 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2561 จำนวน 48,027 ล้านบาท ลดลงจำนวน 28,065 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58 และเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 39,723 ล้านบาท ลดลงจำนวน 19,761 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50
 
ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีจำนวน 6,066 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.89 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 113 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.82 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.29 โดยมีธุรกิจที่ทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 1 ราย คือ ธุรกิจโรงภาพยนต์ มีมูลค่าทุน 1,740 ล้านบาท 
 
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 ต.ค. 61) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน711,478 ราย มูลค่าทุน 17.79 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 182,626 ราย คิดเป็นร้อยละ 25.67 บริษัทจำกัด จำนวน 527,635 ราย คิดเป็นร้อยละ 74.16 และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,217 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.17
 
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 628,672 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.36 รวมมูลค่าทุน 1.04 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.85 รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 68,177 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.58 รวมมูลค่าทุน 1.84 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.34 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 14,629 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.06 รวมมูลค่าทุน 14.91 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 83.81 ตามลำดับ 
 
สำหรับ ธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 2,166 ราย เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2561 จำนวน 1,899 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 267 ราย คิดเป็นร้อยละ 14 และเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 1,797 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 369 ราย คิดเป็นร้อยละ 21 
 
โดย ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 181 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 110 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ตามลำดับ 
 
ส่วนมูลค่าทุนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ในเดือนตุลาคม 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 10,088 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2561 จำนวน 6,555 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 3,533 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 54 และเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 10,030 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 58 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1
 
และธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 2,064 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.29 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 94 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.34 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.37 
 
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.- ต.ค.61) มีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัท จำนวน 62,468 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 853 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.38 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.-ต.ค. 60) จำนวน 61,615 ราย การเติบโตของธุรกิจจัดตั้งใหม่มีทิศทางสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่มีการสนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งมีอัตราการเติบโตของการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทในพื้นที่ที่ระดับ 7- 8 % ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 
 
โดยกลุ่มธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป และอสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวสูงสุด อย่างไรก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยตลอดปี 2561 ยังอยู่ในกรอบของการขยายตัว เนื่องจากปัจจัยมูลค่าการส่งออก และมูลค่าการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านที่ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2561 และการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายทางการเงินไว้ที่ร้อยละ 1.5* รวมทั้งมาตรการจากภาครัฐในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งเมืองรองและชุมชน เพื่อสนับสนุนธุรกิจภัตตาคาร ร้านอาหาร และ ที่พักโรงแรมในส่วนภูมิภาคให้เกิดการขยายตัวเพิ่มขึ้น 
 
นอกจากนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดตั้งธุรกิจในปี 2561 นี้ ขึ้นอยู่กับความชัดเจนของการประกาศใช้มาตรการการส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปของนิติบุคคล รวมไปถึงมาตรการในการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวและการเข้ามาของชาวต่างประเทศต่างๆ ได้แก่ การยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2561 - มกราคม 2562 
 
โดย ครอบคลุม 21 ประเทศ เช่น จีน อินเดีย ไต้หวัน เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่ และการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ถือสมาร์ทวีซ่าสำหรับบุคคลเข้ามาพำนักในประเทศไทยชั่วคราวสำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูง กลุ่มนักลงทุน กิจการร่วมลงทุน และกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนในการช่วยผลักดันให้มีการประกอบธุรกิจและการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเพิ่มขึ้น
 
นอกจากนี้ กรมได้เร่งดำเนินการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้ามาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจมีโอกาสที่เพิ่มขึ้น ทั้งในด้านการขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน การได้รับการลดหย่อนภาษี และเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจ รวมทั้งมีโอกาสเข้าถึงความช่วยเหลือของภาครัฐมากยิ่งขึ้น
 
อ้างอิงจาก : MGROnline.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น เป..
4,992
ชีสซี่ฟราย สแน็ค เปิดต..
4,018
เริ่มแล้ว! งานแฟรนไชส์..
2,896
แรงจริง! #แฟรนไชส์ ก๋ว..
1,617
พบบูธ “ก๋วยเตี๋ยวเรือป..
985
ธงไชยผัดไทย ร่วมกับ 7-..
979
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด