2.1K
12 กันยายน 2561
ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดประชุม BNI โลก ตอกย้ำระบบตัวช่วยเอสเอ็มอีเชื่อมตลาดโลก
 
 
 (นายกลกิตติ์ เถลิงนวชาติ ประธานผู้อำนวยการ BNI ประเทศไทย)
 
'บีเอ็นไอ ประเทศไทย' ตัวช่วยธุรกิจ SME เพิ่มยอดขายผ่านระบบเครือข่ายแนะนำโอกาสธุรกิจ เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม BNI โลกเดือน พ.ย.นี้ ระดมนักธุรกิจ 75 ประเทศทั่วโลกถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ล่าสุดนักธุรกิจลงทะเบียนตอบรับแล้วกว่า 2,200 คน พร้อมออกบูทโชว์แกร่งจากเจ้าของธุรกิจนานาชาติ คาดเงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจกว่า 3 พันล้านบาท 
 
นายกลกิตติ์ เถลิงนวชาติ ประธานผู้อำนวยการ BNI ประเทศไทย เปิดเผยว่า ต้องยอมรับว่าปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญต่อภาคธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและธุรกิจของประเทศ โดยหน่วยงานภาครัฐระดมให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ขณะที่ภาคเอกชนถือว่าบีเอ็นไอเป็นธุรกิจหนึ่งที่เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อน SMEs ภายใต้รูปแบบการตลาดแบบบอกต่อหรือระบบการแนะนำโอกาสธุรกิจ (Referral Marketing) ที่เกิดขึ้นในไทยมานานกว่า 12 ปี

โดยเป็นระบบที่ลงลึกในรายละเอียดในการช่วยเหลือเอสเอ็มอีมาตรฐานจากต่างประเทศซึ่งเป็นระบบที่ทั่วโลกยอมรับนำไปปฏิบัติได้ผลจริง ก่อเกิดรายได้จากการซื้อขายสินค้าระหว่างกันก่อเกิดเป็นตัวเลขเศรษฐกิจที่ชัดเจนเศรษฐกิจและวัดผลได้ ปัจจุบันบีเอ็นไอเป็นองค์กรระดับโลก มีสาขากว่า 75 ประเทศทั่วโลก มีกลุ่มประชุมกว่า 7,800 กลุ่ม จำนวนสมาชิก 290,000 คนทั่วโลก และได้มีการมอบโอกาสทางธุรกิจแก่กันถึง 13,000,000 โอกาส คิดเป็นมูลค่าทางธุรกิจถึงกว่า 4,550 ล้านบาท 
 
ทั้งนี้ ล่าสุดได้เตรียมจัดประชุมใหญ่ประจำปี โดยได้เลือกประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมภายใต้งานที่ชื่อว่า BNI Global Convention 2018 จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 7-10 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอด เซ็นทรัลเวิลด์ มีนักธุรกิจจาก 75 ประเทศทั่วโลกลงทะเบียนแล้วกว่า 2,200 ราย

โดยในวันแรกเป็นการให้ความรู้และเปิดกว้างให้ผู้สนใจเข้าร่วมงาน ส่วนภาคบ่ายเป็นการจับคู่ธุรกิจและให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ส่วนอีก 2 วันจะเป็นการประชุมสมาชิกที่ลงทะเบียน เป็นการพบปะกันระหว่างนักธุรกิจไทยกับต่างชาติเพื่อแลกเปลี่ยนโอกาสทางธุรกิจซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการออกบูทของผู้ประกอบการประมาณ 100 บูท ซึ่งสัดส่วนบูทของสินค้าไทยมีประมาณ 30% นอกนั้นเป็นบูทจากนานาประเทศมาโชว์ศักยภาพผลิตภัณฑ์
 
สำหรับระบบการทำงานของบีเอ็นไอ คือการให้ผู้ประกอบการในหลากหลายธุรกิจได้มารวมตัวกันเพื่อช่วยสร้างธุรกิจซึ่งกันและกันภายในกลุ่มผ่านรูปแบบการตลาดแบบบอกต่อหรือระบบการแนะนำโอกาสธุรกิจ (Referral Marketing) โดยสมาชิกแต่ละรายซึ่งประกอบธุรกิจแตกต่างกันมารวมกลุ่มกันเพียง 1 สมาชิกต่อ 1 อาชีพ หรือธุรกิจต่อ 1 กลุ่มเท่านั้น
 
ในทุกๆ สัปดาห์สมาชิกของกลุ่มประชุมซึ่งมีอาชีพต้องไม่ซ้ำกันจะเข้าร่วมประชุมของกลุ่มตามโครงสร้างการประชุมที่กำหนดไว้ โดยสมาชิกแต่ละคนจะสื่อสารให้เพื่อนสมาชิกทราบว่าสินค้าหรือบริการของตนคืออะไรและกำลังมองหาโอกาสทางธุรกิจแบบใด และร้องขอให้เพื่อนในกลุ่มช่วยกันมองหาโอกาสทางธุรกิจหรือคอนเนกชันที่ต้องการ โดยตลอดสัปดาห์นั้นสมาชิกจะช่วยกันมองหาโอกาสธุรกิจให้แก่กันและกัน โดยตรวจสอบก่อนว่าลูกค้ามีความสนใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการของเพื่อนสมาชิกในกลุ่มของเราหรือไม่
 
หากมีความต้องการจะขออนุญาตให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มติดต่อผู้มุ่งหวังต่อไป โดยในการประชุมแต่ละสัปดาห์สมาชิกจะมอบโอกาสธุรกิจให้กับเพื่อนระหว่างการประชุมและให้ข้อมูลเพิ่มเติมของลูกค้า มุ่งหวังเพื่อช่วยให้สมาชิกสามารถเตรียมการนำเสนอสินค้าหรือบริการได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า มุ่งหวังเพื่อเพิ่มโอกาสในการปิดการขาย และเมื่อได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์แล้วสมาชิกจะนัดพบกับลูกค้ามุ่งหวังซึ่งพร้อมจะพิจารณาการนำเสนอสินค้าอยู่แล้ว ดังนั้นโอกาสในการปิดการขายซึ่งมาจากการแนะนำหรือการบอกต่อย่อมจะง่ายขึ้น
 
นอกจากนี้ สมาชิกยังสามารถเชื่อมโยงกับเพื่อนสมาชิกอื่นๆ ทั่วโลกผ่านระบบ BNI Connect Global เพื่อโอกาสในการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศอีกด้วยด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบนมือถือ ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ก็สามารถติดต่อคู่ค้าได้โดยตรง และยังเลือกประเภทธุรกิจที่ต้องการได้โดยราคาค่าสมาชิกแรกเข้า 5,000 บาท จ่ายค่ารายปี 15,000 บาท

โดยคุณสมบัติของสมาชิกต้องเป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นผู้ที่ชอบการเรียนรู้ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น คิดบวก ผู้ที่ต้องการการเติบโตในธุรกิจ และเป็นผู้ที่มีคอนเนกชันรู้จักผู้ประกอบการประมาณ 100-200 รายเพื่อสามารถนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันได้ นอกจากนี้ต้องสามารถเข้าประชุม 1 ครั้ง/สัปดาห์ได้
 
“ระบบการบริหารจัดการดังกล่าวเกิดขึ้นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาภายใต้วิสัยทัศน์ของ Dr. Ivan Minsner ที่ต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการสร้างยอดขายโดยการใช้คอนเนกชันของผู้ประกอบการเองในการขยายตลาดและหาลูกค้าใหม่ โดยสมาชิกจะมอบโอกาสทางธุรกิจแก่กันโดยการบอกต่อหรือแนะนำลูกค้าให้แก่กัน” นายกลกิตติ์กล่าว
 
สำหรับบีเอ็นไอ (ประเทศไทย) ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 ปัจจุบันมีกลุ่มประชุมจำนวน 35 กลุ่มในกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย นครราชสีมา ภูเก็ต พิษณุโลก สุโขทัย มีสมาชิกกว่า 1,500 คนจากหลากหลายธุรกิจ

โดยเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมาสมาชิกได้มอบโอกาสธุรกิจให้แก่กันและสามารถเปลี่ยนเป็นยอดธุรกิจได้ถึง 5,000 ล้านบาท มูลค่าธุรกิจสะสมตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งถึงสิ้นปี 2560 มีมูลค่ารวมกันมากกว่า 19,000 ล้านบาทและในปีนี้คาดว่าจะทะลุ 4,000 ล้านบาทอย่างแน่นอน โดยสมาชิกของบีเอ็นไอในประเทศไทยสามารถแบ่งตามประเภทธุรกิจได้ดังนี้ คือ ไอที 25% ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 25% การตลาด 15% อุตสาหกรรม 15% สุขภาพ 10% และการบริการด้านโรงแรมและโรงพยาบาล 10%
 
อย่างไรก็ตาม บีเอ็นไอ ประเทศไทยมีแผนขยายตลาดและเพิ่มจำนวนสมาชิกผู้ประกอบการให้ถึง 2,800 คนทั่วประเทศ และมีแผนขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ ต่อไป ได้แก่ ชลบุรี ขอนแก่น อุดรธานี บุรีรัมย์ ซึ่งหากแผนการตลาดได้ตามเป้าจะมียอดธุรกิจที่สมาชิกแนะนำลูกค้าให้กันและกันเฉลี่ย 5 ล้านบาทต่อคน เกิดเงินหมุนเวียนในประเทศกว่า 14,000 ล้านบาท ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
 
อ้างอิงจาก : MGROnline.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,215
PLAY Q by CST bright u..
1,331
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
947
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
945
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
796
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
770
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด