1.6K
9 กุมภาพันธ์ 2560
กสอ. เผยทีเด็ด 125 ต้นแบบเอสเอ็มอีอัจฉริยะ (Intelligent SMEs) เคล็ดลับความสำเร็จ ของเอสเอ็มอียุค Industry 4.0

 
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดตัวโครงการสร้างและส่งเสริมเอสเอ็มอีอัจฉริยะ (Intelligent SMEs)เน้นคัดสุดยอดต้นแบบ SMEs ที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 125 ราย จากทั่วประเทศ เพื่อนำมาถ่ายทอดแนวคิดการดำเนินธุรกิจผ่านการประชาสัมพันธ์เชิงรุก กระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการเลือดใหม่เชิงนวัตกรรม สอดรับกับนโยบาย Industry 4.0
 
นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากการเปลี่ยนแปลงของระบบอุตสาหกรรมทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ในการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมจำเป็นต้องเร่งปรับบทบาทและโครงสร้างกระทรวงฯ ให้สอดคล้องกับบริบทดังกล่าว

รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ที่มีแนวคิดในการขับเคลื่อนประเทศไทย ภายใต้โมเดลประเทศไทย4.0 ที่มุ่งผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาคเศรษฐกิจ จากเดิมที่เน้นการใช้แรงงาน และมีมูลค่าเพิ่มต่ำ ไปสู่การเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนบนฐานความรู้และนวัตกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม

ดังนั้น การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมให้สามารถยกระดับสู่การเป็น "อุตสาหกรรม 4.0" จึงถือเป็นโจทย์ที่สำคัญของกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องให้ความสำคัญเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมและวิสาหกิจไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ
 
ทั้งนี้ เพื่อที่จะผลักดันการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศที่เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ถือเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็น SMEs 4.0

โดย กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีเป้าหมายในการปรับรูปแบบการทำงาน ที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นการตั้งยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาธุรกิจในแต่ละระดับการเติบโต

ไม่ว่าจะเป็น (1) กลุ่ม Startup SMEs ที่มุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้และฝึกปฏิบัติในการจัดทำแผนธุรกิจ การบ่มเพาะ และจัดกิจกรรมนำเสนอแผนธุรกิจของผู้ประกอบการ (Pitching) เพื่อแสวงหาโอกาสทางการเงินและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ผลักดันให้เข้าสู่กลุ่ม High-Valued Startup

(2) กลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งอนาคต (First S- Curve และ New S-Curve) โดยดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มผลิตภาพให้กับผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรม (Innovative Driven Enterprises : IDE) เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ รวมทั้งส่งเสริมให้ SMEs ใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation) และการใช้หุ่นยนต์ (Robotic) เข้ามาช่วยในกระบวนการการผลิต และ

(3) กลุ่ม SMEs ที่ต้องการความช่วยเหลือหรืออยู่ในช่วงฟื้นตัว ซึ่งภาครัฐจะให้การสนับสนุนโดยการจัดฝึกอบรมการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ และให้คำปรึกษาแนะนำในด้านต่างๆ รวมถึงการเชื่อมโยงกับธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในแต่ละสาขา ในการบูรณาการร่วมกันระหว่างนักธุรกิจที่เป็นภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันการเงิน เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยสามารถขยับสู่การเป็นประเทศรายได้สูงได้ภายในปี2579
 
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถือเป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีหน้าที่ในการสนับสนุนพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศ และมีความยั่งยืนสู่สากลเพื่อเป็นการสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว

ในปีนี้ กรมฯ จึงได้จัดทำ โครงการสร้างและส่งเสริมเอสเอ็มอีอัจฉริยะ หรือ Intelligent SMEs ขึ้น โดยการคัดเลือกวิสาหกิจต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จ (Best Practice) จำนวน 125 ราย นำมาถอดเป็นบทเรียนจากประสบการณ์จริง

และถ่ายทอดออกมาผ่านสื่อ Media ต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการในการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ของนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำธุรกิจ เป็นการสร้าง "SMEs เลือดใหม่" ให้กับวงการ SMEs ไทย รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้กับ SMEs ทั่วไป ที่ต้องการเรียนรู้ถึงวิถีแห่งความสำเร็จของต้นแบบวิสาหกิจ โดยขั้นตอนในการเข้าร่วมโครงการฯ ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด
 
ใบสมัครได้ที่ www.dip.go.th ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งคณะกรรมการจะตัดสินผู้ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกในเบื้องต้น และประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกผ่านเว็บไซต์ www.dip.go.th ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 ก่อนดำเนินการคัดเลือกอีกครั้งอย่างเข้มข้น จนเหลือ 125 รายสุดท้าย และนำมาถอดบทเรียนความสำเร็จ

รวมถึงนำไปเผยแพร่ตามช่องทางสื่อต่าง ๆ ซึ่งหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ สามารถเข้าไปติดตามได้ในเว็บไซต์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม www.dip.go.th และนอกจากกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นเพื่อเฟ้นหา SMEs ต้นแบบแล้ว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ยังได้จัดกิจกรรมพิเศษ สำหรับเยาวชน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ในการเข้าร่วมประกวดออกแบบ Mascot สัญลักษณ์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

โดยมีเงินรางวัลรวมสูงถึง 60,000 บาท (หกหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งผู้ที่สนใจจะต้องออกแบบ Mascot ที่มีลักษณะบ่งบอกถึงความเป็นกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมตั้งชื่อ โดยรายละเอียดหลักเกณฑ์การรับสมัครและส่งผลงาน สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม www.dip.go.th
 
อย่างไรก็ดีในปีนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ยังจะเดินหน้าการพัฒนา SMEs อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เกิดต้นแบบของ SMEsอัจฉริยะ มากยิ่งขึ้น ผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ

โดยได้ตั้งงบประมาณกว่า 830 ล้านบาท เพื่อรองรับการพัฒนา SMEs ในทุกระดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับโอกาสอันดีเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจและนำพาประเทศสู่ฐานะผู้นำทางเศรษฐกิจในอนาคต นายสมชาย กล่าวปิดท้าย
 
อ้างอิงจาก ryt9.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น เป..
4,986
ชีสซี่ฟราย สแน็ค เปิดต..
4,011
เริ่มแล้ว! งานแฟรนไชส์..
2,894
แรงจริง! #แฟรนไชส์ ก๋ว..
1,617
พบบูธ “ก๋วยเตี๋ยวเรือป..
985
ธงไชยผัดไทย ร่วมกับ 7-..
976
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด