3.9K
23 มีนาคม 2552

สถาบันวิชาการแฟรนไชส์ เดินหน้าร่างเกณฑ์ประเมินมาตรฐาน


 
ยังนับเป็นความโชคดีของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในฟากฝั่งธุรกิจแฟรนไชส์ที่ยังได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์อย่างต่อเนื่อง แม้ต่อปีจะมีเงินงบประมาณสนับสนุนไม่สูงมากแต่ก็ต่อเนื่อง ทำให้ยังมองเห็นเส้นทางการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ว่ายัง ก้าวไปข้างหน้าและยังมีอนาคต

คือเริ่มตั้งแต่ธุรกิจแฟรนไชส์บ้านเรายังเตาะแตะ มีแฟรนไชส์สัญชาติไทยไม่กี่รายเมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว จนถึงปัจจุบันมีกว่า 300 รายที่ผ่านการอบรมภายใต้โครงการแฟรนไชส์บีทูบี

ในจำนวนนี้ก็มีหลายรายที่ได้รับการ ส่งเสริมและสนับสนุนในระดับที่กว้าง และขึ้นสูงจนถึงขั้นส่งออกธุรกิจแฟรนไชส์สัญชาติไทยไปต่างประเทศได้สำเร็จ ก็หลายราย

และเพื่อให้ได้โมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้มาตรฐานทั้งในเชิงธุรกิจและคุณภาพ ปีนี้กรมพัฒนาฯก็ยังเดินหน้าต่อในการกำหนดเกณฑ์ประเมินมาตรฐานเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

อ.สิทธิชัย ทรงอธิกมาศ ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการแฟรนไชส์ สมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทยอธิบายว่า ปีที่แล้วทางกรมพัฒนาฯได้ร่วมกับสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์กำหนดเกณฑ์มาตรฐานขึ้นมาในขั้นแรก มาปีนี้ทางกรมได้เดินหน้าต่อโดยจะมีการร่างเกณฑ์ประเมินมาตรฐานขึ้นเพื่อให้เกณฑ์มาตรฐานมีความสมบูรณ์ใน เชิงปฏิบัติ

"ถ้าให้เข้าใจง่ายขึ้นก็ต้องอธิบายเชิงเปรียบเทียบ ปีที่แล้วที่ร่างเกณฑ์มาตรฐานขึ้นมานั้นก็สามารถเปรียบ "เกณฑ์มาตรฐาน" คือคนดี ทีนี้การเป็นคนดีจะเอาอะไรวัด เราก็ต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อให้รู้ได้ว่า คนที่ว่าดี เขาดีอย่างไร ทำอะไรถึงจะได้เรียกว่าเป็นคนดี เกณฑ์ประเมินมาตรฐานก็เช่นเดียวกันที่ต้องร่างขึ้นมาเพื่อให้ทราบ บริษัทที่จะได้มาตรฐานนั้นต้องทำอะไร ทำอย่างไรบ้าง เพื่อให้เป็นไปตามกำหนดกฎเกณฑ์มาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง"

ซึ่งจริงๆ แล้วเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพที่เรารู้จักทั่วไปนั่นก็คือ ส่วนหนึ่งของรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติดำเนินการอยู่ แต่เนื่องจากในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของสถาบันเพิ่มผลผลิตยังไม่ได้ครอบคลุมมาถึงธุรกิจแฟรนไชส์ เราในฐานะที่อยู่ในวงจรธุรกิจมานานและอยากมีการพัฒนาระบบแฟรนไชส์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล จึงได้เดินหน้าผลักดันให้เป็นรูปเป็นร่าง

 

ซึ่งปีนี้หลังกรมไฟเขียวในส่วนของสถาบันวิชาการและสมาคมก็จะเดินหน้าต่อในการร่างเกณฑ์ประเมินมาตรฐานขึ้น โดยใช้กรอบคุณสมบัติ 7 ข้อจากร่างเกณฑ์มาตรฐานที่ได้ทำเมื่อปีที่แล้วมาใช้ โดยเจาะลึกลงรายละเอียดเป็นข้อๆ ประกอบด้วยเกณฑ์ประเมินการเป็นผู้นำ, เกณฑ์ประเมินการผลิต, เกณฑ์ประเมินกลยุทธ์, เกณฑ์ประเมินการบริหารบุคลากร, เกณฑ์ประเมินการบริการกระบวนการการทำงาน, เกณฑ์ประเมินด้านอินโนโวชั่นและ อินฟอร์เมชั่น เกณฑ์ประเมินผลประกอบการธุรกิจ และเกณฑ์ประเมินความพึงพอใจของลูกค้า

อ.สิทธิชัยกล่าวว่า สำหรับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือทีคิวเอ ที่สถาบันเพิ่มผลผลิตทำอยู่นั้นในระยะยาว เมื่อเกณฑ์ประเมินมาตรฐานสำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ แนวทางการทำงานของเราก็จะใกล้เคียงกัน คือ การประกาศรับสมัครผู้ประกอบการแฟรนไชส์เข้าร่วมโครงการแบบสมัครใจ

"แต่ทั้งนี้แม้ขณะนี้จะอยู่ระหว่างดำเนินการ แต่ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยก็สามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพราะการมีการดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานมันเป็นประโยชน์ทั้งกับตัวผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจและทุกส่วนที่เกี่ยวข้องที่สำคัญคือ ผู้บริโภค"










 

อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
1,125
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
777
“เติมพลังความรู้” กับ ..
618
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
593
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
581
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
533
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด