9.1K
30 มกราคม 2552

บทสรุปแฟรนไชส์ปีชวด อาหารครองแชมป์ยอดฮิต 
 


เผยบทสรุปแฟรนไชส์ไทยรอบปี 51 จำนวนรวมกว่า 479 กิจการ ธุรกิจอาหารครองแชมป์สุดฮิต ระบุผลกระทบการเมือง เศรษกิจ อัตราลงทุนขยายแค่ 7.88% มีสาขารวม 3.7 หมื่นแห่ง ก่อมูลค่ากว่า 8.5 หมื่นล้านบาท คาดแนวโน้มโตไม่ถึง 10%

ระบุแฟรนไชส์คาดมาแรง ได้แก่ อาหารเพื่อสุขภาพ ซ่อมบำรุง และการศึกษา ชี้ปัญหาผู้ประกอบการ และผู้ลงทุนยังขาดความเข้าใจระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง


       
       นายพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจการค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล ระบุว่า ในปี 2551 มีผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ จำนวนทั้งสิ้น 479 กิจการ แบ่งเป็นแฟรนไชส์ไทย 450 กิจการ และแฟรนไชส์จากต่างประเทศ 29 กิจการ
      
       ทั้งนี้ ได้แบ่งกิจการแฟรนไชส์เป็น 17 กลุ่ม ได้แก่ ความงาม ค้าปลีก งานพิมพ์ ตัดผม นวดไทย เบเกอรี่ รถยนต์ เครื่องดื่ม ไอศกรีม บริการ วิดีโอ ไขอาชีพ (ธุรกิจที่ขยายงานโดยเน้นสินค้าหรือการจัดทำ ผลิตสินค้าในหน้าร้านมีการสอนวิธีการและจำหน่ายเครื่องมือ แต่ไม่เน้นถ่ายทอดกระบวนการทางธุรกิจ) หนังสือ อาหาร อสังหาริมทรัพย์ กาแฟ และการศึกษา


จากการสำรวจพบว่า 4 อันดับแรกที่มีผู้ประกอบการมากที่สุด คือ อาหาร จำนวน 146 ราย บริการ 56 ราย การศึกษา 53 ราย และความงาม 52 ราย



      
       สำหรับอัตราการเติบโตในปี 2551 ในช่วงไตรมาส 1- 2 ขยายตัวได้อีก ทว่า หลังจากเกิดความวุ่นวายทางการเมือง ประกอบกับเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ช่วงปลายปี การขยายแฟรนไชส์เกิดการชะงัก โดยรวมแล้ว การลงทุนขยับขึ้นเล็กน้อย มีจำนวนธุรกิจเพิ่มขึ้น 7.88% แม้จะมีการปิดกิจการลงไปบ้าง แต่การเร่งเปิดสาขาของแฟรนไชส์ขนาดใหญ่เริ่มจะเห็นผลได้ชัด โดยมีการเพิ่มสาขารวมถึง 37,357 สาขา ส่งผลให้มูลค่าคาดการณ์ของธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งสิ้นประมาณกว่า 85,320 ล้านบาท
      
       อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของแฟรนไชส์มีทิศทางขยายตัวลดลง จากผลกระทบทางเศรษฐกิจและ การเมือง ทำให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ในระบบต้องปรับตัวมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับสถานการณ์ที่คาดว่าจะรุนแรง โดยผลการวิจัยระบุว่า การเติบโตในระบบแฟรนไชส์อยู่ระดับไม่เกิน 10%
      
       นายพีระพงษ์ เผยด้วยว่า แนวโน้มการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ของโลก คาดจะมีแฟรนไชส์ด้านบริการจะมีตลาดกว้างมากกว่าเดิม ขณะที่แฟรนไชส์ด้านอาหารการแข่งขันจะสูงขึ้น
      
       ส่วนแฟรนไชส์ไทยธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มยังจะครองตลาดต่อไป โดยมีสัดส่วนกว่า 40% จากธุรกิจแฟรนไชส์ทั้งหมด โดยแนวโน้มธุรกิจอาหารที่เน้นเสริมสุขภาพ แนวโน้มจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ตามด้วยธุรกิจบริการเน้นการซ่อมบำรุง ขณะที่ธุรกิจการศึกษาแนวโน้มยังไปได้ดี
      
       อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการปิดตัวของแฟรนไชส์ที่สูงกว่า 20% ในแต่ละปี ส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร โดยปัจจัยสำคัญมาจากทั้งผู้ประกอบการ และผู้ลงทุนยังไม่เข้าใจในระบบแฟรนไชส์อย่างแท้จริง
      
       “มีข้อน่าสังเกตว่า ระบบแฟรนไชส์ในไทยมีมากกว่า 50% ที่ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม ทำให้กระบวนการแฟรนไชส์ขาดความต่อเนื่องในการขยายงาน เนื่องจากไม่ได้เตรียมการสร้างรายได้จากระบบธุรกิจ เมื่อเจ้าของแฟรนไชส์ขาดเงินก็จะขาดแรงจูงใจที่จะสร้างธุรกิจให้เติบโตต่อเนื่อง ไม่ว่าจะด้านพัฒนาแบรนด์ หรือสร้างทีมงานสนับสนุนการตลาด หรือส่งเสริมสาขา ทำให้ระบบธุรกิจไม่เติบโต” นายพีระพงษ์ กล่าว

 











อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์

 

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
5,391
PLAY Q by CST bright u..
1,055
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
940
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
931
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
780
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
754
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด