1.5K
21 มีนาคม 2559
สวทช.จับมือ มทร.ธัญบุรี ดัน SMEs เข้าถึงงานวิจัย ตั้งเป้า 50 ราย
 
 
 
ดร.ณรงค์ ศิริเลิสวรกุล รองผอ.สวทช. (ที่2 ขวา) ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดี มทร.ธัญบุรี (ที่2 ซ้าย) ดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ ผอ.โปรแกรม iTAP(ขวา)
 

สวทช.เร่งเดินหน้าโครงการโปรแกรม iTAP ล่าสุดลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ดูแลโปรแกรม iTAP เครือข่ายพื้นที่ภาคกลาง ตั้งเป้า 50 ราย SME ที่ได้รับความช่วยเหลือได้เงินหนุนรายละไม่เกิน 400,000 บาท ชี้ความร่วมมือดังกล่าวตอบโจทย์มหาวิทยาลัยผลิตบุคลากรได้ตรงความต้องการภาคเอกชน
       
นามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ในการดำเนินเครือข่าย โปรแกรม iTAP พื้นที่ภาคกลาง โดยมหาวิทยาลัยฯ จะนำกลไก iTAP ไปใช้ในการสนับสนุน SME ให้เข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยฯ มีบุคลากรที่มีความรู้และ ภาคเอกชน

และความร่วมมือในครั้งนี้ช่วยให้มหาวิทยาลัยรู้ความต้องการของภาคเอกชน และผลิตบุคลากรออกมาได้ตรงความต้องการด้วย และยังตอบโจทย์นโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนผู้ประกอบการได้นำวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมไปใช้ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อความก้าวหน้าของธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน
       
ทั้งนี้ ทาง สวทช.ได้มีการตั้งงบประมาณไว้สำหรับการช่วยเหลือผู้ประกอบการจากความร่วมมือในครั้งนี้รายละไม่เกิน 400,000 บาท โดยระยะเวลาการช่วยเหลือรายละ 6 เดือนถึง 1 ปี ตั้งเป้าไว้จำนวน 50 ราย ส่วนเป้าหมายของ สวทช.ในปี 2559 ตั้งเป้าให้การช่วยเหลือ SMEs จำนวน 800 โครงการ

งบประมาณ 5 เดือนแรกที่ได้รับงบประมาณตามปกติ 150 ล้านบาท ดำเนินไปแล้ว 400 โครงการ และขณะนี้ยื่นของบกลางเพิ่มอีก 150 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่เหลืออีก 400 โครงการ ปัจจุบัน โปรแกรม iTAP มีเครือข่ายทั่วประเทศจำนวน 10 แห่ง มีผู้เชี่ยวชาญดำเนินงานอยู่ 1,300 ราย
       
ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมวัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวต่อว่า ในส่วนของมหาวิทยาลัย มองว่าความร่วมมือในครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับประเทศ เพราะโอกาสที่ SMEs จะเข้าถึงงานวิจัย หรือเทคโนโลยีเป็นไปได้ยาก แต่พอมีโครงการนี้ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี นวัตกรรม เพราะวิทยาศาสตร์นั้นมีความจำเป็นต่อศักยภาพการผลิต

และภาคเอกชนถือว่าเป็นห้องปฏิบัติการที่ดีที่สุดสำหรับอาจารย์ และนักศึกษา และการทำงานร่วมกันกับภาคเอกชนยังตอบโจทย์ว่ามหาวิทยาลัยควรจะผลิตบุคลากรแบบไหนออกไปรองรับภาคเอกชนด้วย ซึ่งที่ผ่านมาทางมหาวิทยาลัยได้มีงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีปัญหาและมาขอความช่วยเหลือ โดยสามารถแก้ปัญหา และลดต้นทุนด้านพลังงานไปแล้วเป็นจำนวนมาก

อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
1,093
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
773
“เติมพลังความรู้” กับ ..
617
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
589
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
578
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
531
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด