5.5K
25 ธันวาคม 2552

สุดยอดแฟรนไชส์ 2008 "ความสุข" ในวิกฤตของ "ซับเวย์"


 
ถือเป็นประเพณีปฏิบัติไปแล้วที่ในช่วงปลายปีก่อนหยุดยาวในวันคริสต์มาสและปีใหม่ในสหรัฐอเมริกา ค่ายต่างๆ จะประกาศผลการจัดอันดับในแวดวงอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับในแวดวงเอสเอ็มอี และแฟรนไชส์ที่ไม่กี่วันมานี้เองที่ "Entrepreneur" นิตยสารผู้นำในด้านนี้ได้ประกาศผลการจัดอันดับแฟรนไชส์ 500 อันดับ


โดยในปีนี้มีแฟรนไชส์หลายรายที่เป็นแบรนด์ที่คนไทยรู้จักกันดีนั้นขึ้นมาติดอันดับ "ท็อป 10" ไม่ว่าจะเป็นแมคโดนัลด์ที่คว้าตำแหน่งที่ 2 พิซซ่า ฮัท ที่คว้าตำแหน่งที่ 7 ยูพีเอสยักษ์ใหญ่ด้านโลจิสติกส์ที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับ 8 ขณะที่ "ซับเวย์" เชนแซนด์วิชที่ใหญ่ที่สุดในโลกปีนี้กลับมาคว้าแชมป์หลังจากปีที่ผ่านมาตกไปอยู่ในอันดับ 2


 

เมื่อ 44 ปีก่อนในวันที่ "เฟรด เดลูกา" ในวัย 17 ปี และ "ปีเตอร์ บัคส์" คู่หูเปิดร้านแซนด์วิชของพวกเขา และพวกเขาอาจจะไม่มีวันที่ล่วงรู้เลยว่าในวันนี้ "ซับเวย์" จะกลายเป็นแฟรนไชส์ที่มีสาขามากถึง 28,000 แห่ง ใน 86 ประเทศทั่วโลก และแม้ในปี 2551 ที่ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจกำลังสั่นคลอน สหรัฐอเมริกาประเทศต้นทางของวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่ "ซับเวย์" ตั้งอยู่ แต่ "เฟรด" ผู้ก่อตั้งที่ยังบริหารธุรกิจในวันนี้ ยืนยันว่าจะอย่างไรพวกเขาก็จะยังตั้งเป้าที่จะขยายสาขาให้ได้ถึง 30,000 สาขาก่อนจะจบปี 2551
 

เขาให้สัมภาษณ์นิตยสารเล่มนี้ทางโทรศัพท์ ทันทีที่ได้รู้ผลการจัดอันดับว่า "ในปีนี้อาจจะเป็นปีที่แย่สำหรับตลาดหุ้น ความเสียหายในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และความล้มเหลวของธุรกิจการเงิน แต่สำหรับซับเวย์ปีนี้ถือเป็นปีที่ดีที่สุดของเรา"

คำให้สัมภาษณ์ของเขาดูเป็นเหตุผลในตัวของมันเองว่า เพราะอะไรปีนี้ "ซับเวย์" ถึงกลับขึ้นไปยืนอยู่ในจุดที่สูงสุดอีกครั้ง
 

"เฟรด" บอกว่า "ในปีที่ผ่านมาเราทำงานหนักเพื่อที่จะให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด เราพยายามสร้างร้านด้วยเงินลงทุนในระดับ 200,000 เหรียญสหรัฐ และพยายามสร้างระบบบริหารจัดการที่ง่ายที่สุดในการบริหารจัดการร้าน รวมถึงการเตรียมสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าและ เป็นเหตุผลที่ทำให้เราสามารถดึงดูดให้แฟรนไชซีมาร่วมลงทุนในธุรกิจของเรา"

"สตีเวน กรีนบัม" ประธานสมาคมแฟรนไชส์สากล อธิบายถึงจุดสำคัญความสำเร็จของ "ซับเวย์" ในปีนี้ว่า "เราจะเห็นว่าในขณะที่แบรนด์ดังอย่างสตาร์บัคส์ กำลังย่ำแย่จากการที่ลูกค้าไม่ยอมจ่ายเงินซื้อกาแฟในราคาพรีเมี่ยมเช่นเดิม แต่สำหรับซับเวย์แล้วจะอย่างไรผู้คนก็ยังต้องรับประทานอาหาร"

หมายความว่าในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีคนอาจจะเปลี่ยนใจไปซื้อกาแฟในราคาที่ถูกกว่าเดิม หรืออาจจะดื่มกาแฟสำเร็จรูปแทนการไปดื่มกาแฟในช่วงบ่ายของวัน แต่สำหรับซับเวย์แล้วแซนด์วิชนั้นเป็นเหมือนข้าวกะเพราไข่ดาว หรือเป็นอาหารจานหลักที่ยังไงๆ คนก็ต้องกิน
 

มากกว่านั้นแฟรนไชซอร์รายนี้ยังพยายามทำให้ลูกค้าของพวกเขาสามารถเข้าถึงได้ในราคาที่เท่ากับกาแฟเพียงแก้วเดียว ว่ากันว่าวันนี้ในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่แคลิฟอร์เนียถึงลอสแองเจลิสชาวอเมริกันสามารถซื้อฟุตลอง แซนด์วิชของซับเวย์ได้ในราคาเดียวกับที่พวกเขาจ่ายเงินสำหรับกาแฟคาราเมล แมคคิอาโต หนึ่งแก้วของสตาร์บัคส์

สิ่งเหล่านี้คือความสำเร็จและความพยายามของซับเวย์ในการสร้างโมเดลธุรกิจ โดยคำนึงถึงเรื่องประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีต้นทุนที่ต่ำที่สุด และเป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟรนไชส์บอกว่า เป็นสิ่งที่ซับเวย์ทำได้ดีอย่างยิ่งตลอดระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา

เป็น 7 ปีที่เป็น "ทุน" สะสมที่ทำให้เมื่อถึงวันหนึ่งเกิดวิกฤต "ซับเวย์" กลับสามารถขึ้นสู่จุดสูงสุดอีกครั้ง !!











อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
 

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
963
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
664
“เติมพลังความรู้” กับ ..
597
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
567
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
558
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
522
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด