1.7K
4 กรกฎาคม 2558
มจธ.จับมือไต้หวันพัฒนาคุณภาพ นศ.



รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวถึงความร่วมมือกับบริษัท เดลต้าอีเลคโทรนิคส์ เพื่อพัฒนาบุคลากรคุณภาพสู่ตลาด ว่า เป็นความร่วมมือภายใต้ โครงการ Work–integrated Learning หรือ WiL

ซึ่งเป็นการเรียนรู้คู่กับการทำโครงงานที่เป็นโจทย์จริงของบริษัทฯ โดยมีการทำงานร่วมกับหลากหลายภาควิชามากขึ้น เพื่อ เป็นการผลิตนักศึกษาที่เก่งและพร้อมเข้าทำงานกับภาคอุตสาหกรรม และการเข้าไปทำงานร่วมกับผู้ประกอบการในโรงงานจริงที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งด้านประสบการณ์ให้กับนักศึกษา เช่น เรื่องของความสัมพันธ์ การสื่อสาร การแก้ปัญหา และการทำงานเป็นทีม

อันเป็นบุคลากรที่ผู้ประกอบการในยุคปัจจุบันต้องการ ที่สำคัญการที่นักศึกษาได้เข้าไปเรียนรู้ภายใต้โจทย์ปัญหาจริงเป็นการกระตุ้นให้เกิดความขวนขวายศึกษาหาข้อมูล จะทำให้เขามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทั้งทางวิชาการและมีทักษะความสามารถด้านต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการพัฒนาคนรุ่นใหม่


ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้ จะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถสร้างบัณฑิตที่ดีมีคุณภาพทั้งในเชิงวิชาการและในเชิงสมรรถนะความสามารถสูงที่ดีและมีประโยชน์กับผู้ประกอบการต่อไป

อย่างไรก็ตาม การที่มหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกับบริษัทเดลต้าครั้งนี้ ยังถือเป็นโอกาสดีที่มหาวิทยาลัยจะได้ทำงานร่วมกับภาคเอกชนของไต้หวัน โดยเดลต้าจะเป็นฐานเชื่อมความสัมพันธ์ได้ดี และการเรียนรู้คู่การปฏิบัติในโครงการ WiL จะเป็นฐานที่ให้ประสบการณ์แก่อาจารย์และนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยยังคาดหวังว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่การเชื่อมโยงการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัย และภาคเอกชนของไต้หวันในโอกาสต่อไป



อธิการบดี กล่าวอีกว่า ที่สำคัญคือเกิดการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกัน โดยให้นักศึกษาจากไต้หวันเข้ามาเรียนรู้ร่วมการทำงานกับภาคเอกชนในประเทศไทยผ่านโครงการ WiL และมหาวิทยาลัยส่งนักศึกษาเข้าไปทำงานในโรงงานที่ไต้หวัน เพราะเห็นว่าแม้ไต้หวันจะเป็นประเทศเล็กๆแต่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว จากเดิมเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางการเกษตรเหมือนไทย แต่สามารถพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่มให้กับภาคการเกษตรและสามารถพัฒนาภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเป็นระบบ

นอกจากนี้ผู้ประกอบการไต้หวันนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับไทย โดยไต้หวันมีวิธีที่ทำให้ SMEs ของประเทศพัฒนาได้ดีและไปได้เร็วกว่า ซึ่งเป็นโมเดลน่าสนใจที่ไทยควรจะเรียนรู้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีภาคการเกษตร หากเราได้มีโอกาสเรียนรู้แนวทางการพัฒนาดังกล่าว เชื่อว่าจะส่งผลดีและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวม

อ้างอิงจาก  ryt9.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
988
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
670
“เติมพลังความรู้” กับ ..
599
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
571
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
561
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
523
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด