3.0K
25 พฤษภาคม 2558
ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ-ส่งออกฝืด สภาพัฒน์หั่นจีดีพีเหลือ 3-4%



เศรษฐกิจโลกไม่ฟื้น ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ส่งออกแย่โตแค่ 0.2%  สภาพัฒน์หั่นจีดีพีปี 58 เหลือแค่3-4%  แนะภาครัฐแก้ปัญหาส่งออก ปรับโครงสร้างการผลิตเพิ่มมูลค่าสินค้า  แสวงหาตลาดใหม่ๆ   ขจัดอุปสรรคการค้าชายแดน  เร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม ในฐานะเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่า สศช.ได้ปรับลดเป้าคาดการณ์อัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ในปี 2558 ลดลงเหลือ3-4% ต่อปีจากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 3.5-4.5%ต่อปี

เนื่องจากภาคการส่งออกยังขยายตัวไม่ดีเท่าที่ควรโดยทั้งปีคาดว่าส่งออกจะขยายเพียง 0.2% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.5% ต่อปี เป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวได้ไม่ดี และราคาสินค้าการเกษตรในตลาดโลกตกต่ำ รวมถึงราคาน้ำมันดิบลดลงมาก

สำหรับเศรษฐกิจไทย ปี 2558 ในช่วงที่เหลือของปียังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจภายใต้ข้อจำกัดการขยายตัวของการส่งออกและความแตกต่างของราคาสินค้าในตลาดโลก

โดยการขยายตัวดังกล่าวมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การใช้จ่ายและการลงทุนของภาคเอกชน ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ตามความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม การขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี

นอกจากนี้การผลิตภาคอุตสาหกรรม ที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นและสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น และ ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชนและภาคธุรกิจ และเอื้ออำนวยต่อการดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลาย อย่างต่อเนื่อง



และเศรษฐกิจในภาพรวมขยายตัวได้ต่ำกว่าที่ได้ประมาณการไว้ ทำให้ยังไม่กระจายตัวทั่วถึงทุกภาคส่วนในระบบ เศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกร และการส่งออก โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วง -0.3%  ถึง 0.7% และบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3.9% ของจีดีพี

อย่างไรก็ตามการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 1.5% ส่งผลให้ค่าเงินอ่อนตัวลง ซึ่งเป็นผลดีต่อการส่งออก และเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจเอสเอ็มอีโดยมองว่าในไตรมาสที่ 2 จะมีทิศทางที่ดีขึ้นซึ่งเป็นผลจากปัจจัยต่อเนื่องในไตรมาสแรก 

และยังมีปัจจัยเร่งรัดเม็ดเงินงบประมาณและการลงทุนในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจากรัฐบาล รวมถึงจากภาคเอกชนที่จะมาจากการส่งเสริมการลงทุน ที่เข้มงวดมากขึ้นจากเงื่อนไขหากผู้ประกอบการรายใดไม่มีแผนการลงทุนในระยะเวลา 1 ปี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)จะยกเลิกใบอนุญาตทันที

“ถามว่ากนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายเพียงพอหรือยัง คงต้องถามกนง.มากกว่า แต่ลดแล้วใช่ว่าจะขึ้นไม่ได้ และจีดีพีของประเทศ 2-3 ปีที่ผ่านมาก็น้อยมาก ซึ่งไม่เพียงพอต่อรายได้ของประเทศ แต่เชื่อว่าโดยรวมในช่วงหลังจะดีขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยน

นอกเหนือจากนโยบายด้านการคลังทำให้เอสเอ็มอีได้ประโยชน์ แต่เสียอย่างเดียวราคาสินค้าทางการเกษตรที่ตกต่ำ ซึ่งในระยะยาวต้องมีการปรับให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และต้องเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ได้” นายอาคม กล่าว

สำหรับภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี2558 ขยายตัวได้ 3% ดีขึ้นกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 2.1%ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐ การผลิตภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้าง และภาคการท่องเที่ยว โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ขยายตัว 2.4% เร่งตัวขึ้นจากการขยายตัว 2.1% ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 ส่วนการลงทุนรวม ขยายตัว 10.7% จากการลงทุนของรัฐบาลและการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ

ด้านการส่งออกสินค้ามีมูลค่า 52,997 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 4.3% โดยปริมาณการส่งออกลดลง 2.6% และราคาสินค้าส่งออกลดลง 1.8%มาจากสาเหตุสําคัญ 4 ประการ ได้แก่
  1. เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก ยังชะลอตัว โดยเฉพาะญี่ปน และจีน
  2. การแข็งค่าของเงินบาทโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเงินสกุลยูโรและเงินเยน
  3. ราคาสินค้าส่งออกลดลงตามราคาน้ำมันดิบ และราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก
  4. การตัดสิทธิพิเศษทางการค้า (จีเอสพี) ส่วนสาขาการก่อสร้าง ขยายตัว 25.4% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 1.3% ในไตรมาสก่อนหน้า
ส่วนการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี2558 ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการเร่งรัดแก้ไขปัญหาด้านการส่งออกโดยในระยะยาวจะต้องปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า ผลิตภาพการผลิต และเพิ่มสัดส่วนอุตสาหกรรมและบริการในยุคที่สาม



ส่วนในระยะสั้นควรให้ความสำคัญกับการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่า เร็วกว่าประเทศคู่แข่ง การแสวงหาตลาดและเพิ่มปริมาณสินค้าส่งออกที่สำคัญๆ การลดปัญหาอุปสรรค ความล่าช้าและข้อจำกัดในกระบวนการการทำงานและระเบียบปฏิบัติของภาครัฐ

รวมทั้งการอำนวย ความสะดวกด้านการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะในแนวด่านชายแดนต่างๆ และการเร่งรัดแก้ปัญหาการค้า แรงงานข้ามชาติและปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย

นอกจากนี้ต้องแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร โดยให้ ความสำคัญกับการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจสถานการณ์และเงื่อนไขทางด้านราคาเพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขด้านราคาในตลาดโลกควบคู่ไปกับการดำเนินการเพื่อสนับสนุน

การปรับตัวของการผลิตภาคเกษตรโดยเฉพาะการดูแลต้นทุนวัตถุดิบทางการเกษตร การเพิ่มผลิตภาพการผลิต และการสนับสนุนการส่งเสริมอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือนในภาคเกษตร การบรรเทาปัญหา ความเดือดร้อนของเกษตรกรและผู้ได้รับผลกระทบจากภาวะซบเซาของการส่งออก และการเร่งรัด การเบิกจ่ายงบประมาณและการดำเนินการตามโครงการลงทุนที่สำคัญๆ ของภาครัฐ

อ้างอิงจาก  แนวหน้า
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,050
PLAY Q by CST bright u..
1,298
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
941
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
790
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด