3.5K
7 เมษายน 2558
สำรวจสถานการณ์แฟรนไชส์ดาวรุ่งปี 58



 

ไม่ว่าเศรษฐกิจจะขาขึ้นหรือขาลง แฟรนไชส์ก็ยังคงเป็นรูปแบบธุรกิจที่รองรับได้ทุกสถานการณ์ เพราะในยามขาขึ้น คนกลุ่มหนึ่งก็มีเงินทุนคิดจะลงทุนธุรกิจใหม่ๆ เพิ่มเติม แต่ในยามเศรษฐกิจขาลง คนกลุ่มหนึ่งอาจต้องเปลี่ยนธุรกิจ หรือเปลี่ยนอาชีพแฟรนไชส์คือทางเลือกที่คนส่วนใหญ่คิดถึงเสมอ
      
แล้วในปี 2558 ทิศทางธุรกิจแฟรนไชส์จะเป็นอย่างไร ธุรกิจประเภทไหนจะเป็นดาวรุ่ง งานนี้สมาคมแฟรนไชส์มีคำตอบ...
      
จากการสำรวจล่าสุด ของสมาคมแฟรนไชส์ไทยพบว่า แฟรนไชส์ในประเทศไทยมีอยู่ระหว่าง 400-600 ราย ที่ทำให้เกิดร้านที่อยู่ในระบบแฟรนไชส์ มากกว่า 90,000 แห่ง โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี หรือ มีร้านใหม่ๆ เปิดเพิ่มขึ้น ทั้งสาขาของบริษัทแม่เอง และสาขาของผู้ประกอบการแฟรนไชซี่ ประมาณ 13,000-15,000 แห่งต่อปี หรือเท่ากับเปิดเพิ่มขึ้น 35-40 แห่งต่อวันทีเดียว
      
แต่ในจำนวนร้านแฟรนไชส์ทั้งหมด กลุ่มธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็กๆ จะมีมากที่สุด เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวรถเข็น ร้านลูกชิ้นทอด ลูกชิ้นปิ้ง ที่มีอยู่มากกว่า 100 ราย ซึ่งที่จริงแล้วจะเรียกว่า เป็นแฟรนไชส์ที่เต็มร้อย ก็ไม่ถูกต้องนัก แต่จะออกกึ่งๆ การขายวัตถุดิบมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มเหล่านี้ก็มีศักยภาพที่พัฒนาระบบให้ดีขึ้น และขยายตัวออกไปอย่างมั่นคงเช่นกัน


 
แฟรนไชส์อาหารขนาดเล็กที่กล่าวไปนั้น ยังไม่ได้รวม เครื่องดื่มกาแฟ ชานมไข่มุก เครื่องดื่มอื่นๆ ไอศกรีม และ ขนม-เบเกอรี่ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว จะทำให้กลุ่มแฟรนไชส์กลุ่มอาหาร-เครื่องดื่มนี้ มีมากกว่าครึ่งเลยทีเดียว
      
ขณะที่แฟรนไชส์ด้านการศึกษาก็มีมากเป็นอับดับรองมาจากกลุ่มธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม คือมากกว่า 60 รายให้เลือก เช่น สถาบันสอนภาษาอังกฤษ โรงเรียนสอนคณิตศาสตร์ คนตรี ศิลปะ หรือ พัฒนาทักษะสมองของเด็ก เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีธุรกิจบางกลุ่ม มีให้เลือกน้อย ทั้งๆ ที่ความต้องการในตลาดการลงทุนแฟรนไชส์มีอยู่สูง ได้แก่
      
- แฟรนไชส์ร้านอาหารระดับกลาง ยังไปได้สวย

หมายถึงร้านอาหารแบบมีที่นั่งรับประทาน ประมาณ 1 คูหาขึ้นไป ที่การลงทุนอยู่ในระดับหลักแสน และไม่เกินหลัก 3 ล้าน เช่น ร้านอาหารไทยทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นร้านตามสั่ง ร้านก๋วยเตี๋ยวรสเด็ด ร้านข้าวแกงแสนอร่อย ร้านราดหน้ามือหนึ่ง ร้านส้มตำ ยำแซ่บ ร้านอาหารจีน บะหมี่-เกี๊ยว ข้าวมันไก่ เป็นต้น

ล้วนมีโอกาสพัฒนาได้ทั้งสิ้น เพราะมีจุดเด่นด้านความอร่อยลงตัว มีแฟนพันธ์แท้หนาแน่นอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับปรุงบางอย่าง เพื่อให้เกิดความแตกต่างจากคู่แข่งขัน โดยมีการยกระดับขึ้นมาในเรื่องของการตกแต่ง เข้มงวดในด้านความสะอาด และระบบการบริการขั้นเทพ ที่ทำให้ลูกค้าพึงพอใจสูงขึ้น ตัวอย่างร้านแฟรนไชส์ระดับกลาง เช่น ร้าน เจียงก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา ร้านตำมั่ว เป็นต้น

      

- แฟรนไชส์ด้านบริการ ขาดแคลนอยู่
      
ธุรกิจด้านการบริการมีจุดได้เปรียบเรื่องต้นทุน เพราะเป็นการใช้ทักษะการทำงานเป็นหลัก งานบริการทุกชนิดสามารถ พัฒนาเป็นธุรกิจ แฟรนไชส์ได้ทั้งสิ้น เช่น ประดับยนต์ บริการติดฟิล์มรถยนต์ บริการซ่อมแซมรถ ซ่อมแซมบ้าน ติดตั้งผ้าม่าน ติดตั้งบานประตู หน้าต่าง บานเลื่อน หลังคา บริการด้านความงาม ทำผม ดูแลผู้สูงอายุ ทำความสะอาด บ้าน สำนักงาน กระจกอาคาร ด้านการท่องเที่ยว ตัวแทนขายบ้าน อสังหา หรือแม้แต่ การทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้น

ซึ่งกลุ่มของแฟรนไชส์ด้านบริการยังขาดแคลนอยู่มาก และแฟรนไชส์บริการ สามารถทำให้โครงการการลงทุนไม่สูงนักได้ แต่ต้องเน้นด้านการอบรมที่สร้างความชำนาญได้มาตรฐานสูงแก่ผู้ประกอบการที่มาซื้อแฟรนไชส์ได้เป็นอย่างดี โดยส่วนกลางบริษัทแม่เป็นผู้ทำการตลาดให้แก่ ช่างที่ผ่านการอบรมในสังกัด ซึ่งการเพิ่มแฟรนไชส์ในธุรกิจบริการนี้ จะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศได้มาก เพราะเท่ากับเพิ่มขีดความสามารถให้กับบุคคลากรของชาติด้วย

      
- แฟรนไชส์ด้าน ร้านค้าปลีก ยังมีไม่มาก
      
แฟรนไชส์ร้านค้าปลีก เป็นกลุ่มที่มีให้เลือกน้อย มีอยู่ราว 25 รายเท่านั้น แต่เป็นกลุ่มที่สร้างผู้ประกอบแฟรนไชซี่ได้มาก เพราะมีแบรนด์ใหญ่ในกลุ่มนี้ คือ คอนวีเนียนสโตร์ เซเว่น อีเลฟเว่น แฟมิลี่มาร์ท เป็นต้น ซึ่งในแต่ละปี แฟรนไชส์คอนวีเนียนสโตร์มีเป้าหมายในการขยายร้านเป็นหลักหลายพันแห่งต่อปี อย่างไรก็ตามแฟรนไชส์ร้านค้าปลีกอื่นๆ ยังมีไม่มากนัก ซึ่งร้านค้าปลีกในกลุ่มของร้านขายเครื่องมือช่าง ร้านขายสินค้าไอที ร้านขายยา หรือ ร้านที่มีสินค้าแบรนด์ติดตลาดแล้วก็มีศักยภาพที่จะขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ได้เช่นกัน
      
อย่างไรก็ตามการเติบโตในภาพรวมของธุรกิจแฟรนไชส์ที่ 15% นั้น พบว่าส่วนใหญ่เป็นการเติบโตในฝั่งของผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisees) และการขยายร้านสาขาของบริษัทแม่ แต่การเติบโตในฝั่งของผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchisors) ยังเติบโตไม่มากนัก ทั้งนี้ธุรกิจที่มีศักยภาพในการขายแฟรนไชส์ อาจจะไม่แน่ใจว่า ถ้าจะขายแฟรนไชส์นั้นจะต้องทำอย่างไร? งานนี้ “สมาคมแฟรนไชส์ไทย” มีคำตอบให้ โปรดติดตามได้เร็วๆ นี้

อ้างอิงจาก  ผู้จัดการออนไลน์
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,215
PLAY Q by CST bright u..
1,331
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
947
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
945
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
794
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
770
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด