5.1K
13 มีนาคม 2557
สินค้าไลฟ์สไตล์ส่งออกแสนล. รับอนิสงส์บาทอ่อน-ศก.สหรัฐเริ่มฟื้น


 
สมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย คุยส่งออกสินค้าของขวัญ เครื่องใช้ในครัวเรือนฯลฯ พุ่งสวนเศรษฐกิจซบ มั่นใจปีนี้ยอดสูงสุดในรอบ5ปี
 
นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ เลขาธิการสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย และประธานกิตติมศักดิ์สมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน  เปิดเผยว่า ในปีนี้ได้ตั้งเป้ามูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่มไลฟ์สไตล์ ประกอบด้วย ของขวัญของชำร่วยตกแต่งบ้านและเคหะสิ่งทอ , เครื่องใช้ในครัวเรือน ,ของเล่น ,เครื่องเขียน เครื่องใช้สำนักงาน , เฟอร์นิเจอร์ ไว้ที่ 100,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5 % เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  ซึ่งเป็นมูลค่าสูงสุดในรอบ 5 ปี

เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ที่ระดับ 32-33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะผู้ประกอบการใช้วัตถุดิบหลักในประเทศ  รวมทั้งเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา แลยุโรปเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐ ฯ มีสัดส่งออกการส่งออกสูงถึง 25 % ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของกลุ่มฯ
 
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบวกจากประเทศญี่ปุ่น มีข้อพพิพาทกับประเทศจีน ทำให้ญี่ปุ่นลดการนำเข้าสินค้าจากจีนลดลง และประเทศออสเตรเลีย มีปัญหากับประเทศอินโดนีเซีย ส่งผลให้ทั้ง 2 ประเทศหันมาสั่งซื้อสินค้าไทยมากขึ้น โดยปีที่ผ่านมาการส่งออกสินค้ากลุ่มไลฟ์สไตล์ไปออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นสูงมาก
 
ส่วนปัจจัยลบเรื่องขาดแคลนวัตถุดิบ และขาดแคลนแรงงาน ซึ่งได้แก้ปัญหาโดยการจ้างพนักงานภายนอก (เอ๊าท์ซอส) ให้ช่วยทำมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเทคโนโลยีเข้ามาในกระบวนการผลิตมากขึ้น และปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเริ่มยากขึ้น เพราะปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อระมัดระวังขึ้น ปัญหานี้เชื่อว่า ทางภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการให้ความช่วยเหลืออยู่
 
 
 
นายจิรบูลย์ ยังชี้แจงกระแสข่าวที่ว่า อาจเลื่อนการจัดงานแสดงสินค้าของขวัญและงานแสดงสินค้าของใช้ในบ้าน  (บิ๊ก แอนด์ บีไอเอช) ในเดือนเมษายนออกไปนั้น  ตนได้ยืนยันกับ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแล้วว่า ทางสมาคมฯ จะร่วมกับกรมฯ จัดงานบิ๊ก แอนด์ บีไอเอช ในเดือนดังกล่าวเช่นเดิม  แม้จะยังมีปัญหาสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง  โดยขณะนี้มียอดผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมขายสินค้าในงานแล้วกว่า 80%   และมียอดผู้เข้าร่วมงานแล้วเป็นจำนวนมาก
 
“ทางสมาคมฯ ไม่ถอยแน่นอน เพราะที่ผ่านมาการจัดงานบิ๊ก แอนด์ บีไอเอช  เคยผ่านวิกฤติมาแล้วกกว่า 5 ครั้ง ทั้งสมัยโรคซาร์  กลุ่มเสื้อแดงชุมนุม หรือน้ำท่วม เราก็ผ่านมาแล้วทั้งหมด ครั้งนี้เราก็ต้องผ่านไปได้ เพราะเราเชื่อมั่นในงานของเรา และสินค้าของผู้ประกอบการไทย มีความน่าสนใจ และถือเป็นงานที่ทั้งทั้งคนไทยและคนต่างชาติรอคอย โดยยอดจำหน่ายในแต่ละปีนี้ ตกลงบ้าง แต่ก็ไม่มาก เช่น ปีที่ผ่านมา ลดลง 12 – 14 % เมื่อเทียบกับงานแฟร์ทั่วโลกที่ตอนนี้ยอดขาย หรือยอดผู้เข้าร่วมงานตกไปถึง 40 %”นายจิรบูลย์กล่าว
 
ส่วนยอดงานแสดงสินค้าที่เริ่มลดลง ตนได้แนะนำให้ผู้ประกอบการไทยสินค้ากลุ่มไลฟ์สไตล์ ซึ่งส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้ปรับตัว โดยการหาช่องทางการจำหน่ายสินค้าทางอื่นเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์  ซึ่งขณะนี้เป็นกระแสของทั่วโลกที่นิยมการจำหน่ายผ่านช่องทางนี้มากขึ้น  และการเพิ่มตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะตลาดการค้าชายแดน  เพราะสินค้าไทยเป็นที่ต้องการของประเทศเพื่อนบ้านอยู่แล้ว เช่น พม่า กัมพูชา และได้เงินสดด้วย ซึ่งอาจรวมกลุ่มกันไปขายก็ได้ รวมทั้งให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทย เข้าร่วมโครงการการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของภาครัฐมากขึ้น

อ้างอิงจาก แนวหน้า
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
992
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
674
“เติมพลังความรู้” กับ ..
599
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
573
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
561
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
523
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด