3.5K
20 มกราคม 2557
โออิชิเล็งเปิดแบรนด์ขนมญี่ปุ่น ขยายพอร์ตอาหารทุกเซ็กเมนต์



 
ร้านอาหารเครือโออิชิเล็งเปิดตัวแบรนด์ "ขนมญี่ปุ่น" รุกตลาดใหม่ หวังขยายพอร์ตครบทุกเซ็กเมนต์ คาดจบดีลต้นปีหน้า เผยอยู่ระหว่างตัดสินใจต่อสัญญาอุด้ง "คะโซคุเต" หลังพบตลาดไม่รุ่ง ผู้บริโภคคนไทยไม่คุ้นเคย รุกขยายตลาดต่างจังหวัด ล่าสุดบุกสุรินทร์-บุรีรัมย์หวังปิดยอด 7 พันล้านปีนี้ 
 
นายไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปี 2557 คาดว่าจะมีการเปิดแบรนด์ใหม่เสริมพอร์ตธุรกิจร้านอาหารในเครือโออิชิให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยจะเน้นไปที่ขนมหวานญี่ปุ่นรวมแล้ว 2-3 แบรนด์ ทั้งรูปแบบของการพัฒนาแบรนด์ขึ้นมาเอง และซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจา คาดว่าจะสรุปในช่วงต้นปีหน้า ส่วนการเปิดสาขาอยู่ระหว่างการหาทำเลที่เหมาะสม 
 
ทั้งนี้ การรุกเข้าไปในตลาดขนมหวานญี่ปุ่น จะทำให้โออิชิเป็นเครือที่มีอาหารญี่ปุ่นครบทุกเซ็กเมนต์ ซึ่งถือเป็นตลาดเดียวที่บริษัทยังขาดอยู่ และกำลังเป็นเซ็กเมนต์ที่มาแรงมีแบรนด์ใหม่ ๆ เข้ามาในตลาดต่อเนื่อง คาดว่าจะช่วยขยายตลาดและกลุ่มลูกค้าของบริษัทให้เติบโตขึ้น 
 
สำหรับปีหน้ายังอยู่ระหว่างพิจารณาการต่อสัญญาแฟรนไชส์กับแบรนด์ "คะโซคุเต" ร้านอุด้งที่บริษัทนำเข้ามาเปิดสาขาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งมีสัญญาทั้งหมด 10 ปี แต่จะมีการต่อสัญญาทุก 5 ปี โดยบริษัท
 
อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะมีต่อสัญญาไปอีก 5 ปีให้ครบกำหนดหรือไม่ เนื่องจากประสบการณ์ทำตลาดที่ผ่านมาพบว่าผู้บริโภคชาวไทยยังไม่คุ้นเคยกับตลาด "อุด้ง" มากนัก การตอบรับจึงน้อยกว่าอาหารญี่ปุ่นเซ็กเมนต์อื่น ๆ อย่างไรก็ตามไม่แปลกที่จะมีแบรนด์ร้านอาหารอุด้งใหม่ ๆ เข้ามาในตลาด เพราะมองว่ายังมีโอกาสเนื่องจากมีผู้เล่นน้อย 
 
 
 
"ตลาดเส้นสำหรับอาหารญี่ปุ่นก็มีราเมน, อุด้ง และโซบะ ในไทยที่ได้รับความนิยม คือ ราเมง ซึ่งตลาดก็ค่อนข้างเต็มแล้ว แต่จริง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นเองอุด้งกับโซบะจะได้รับความนิยมมากกว่า ส่วนหนึ่งเพราะเส้นอุด้งจะเป็นแป้งข้าวสาลี เป็นแป้งหนา ๆ ที่อาจไม่ถูกปากคนไทยมากนัก" 
 
นายไพศาลกล่าวว่า หากจะรุกตลาดอุด้งในไทยจึงต้องมีการปรับรสชาติให้เหมาะสม ยกตัวอย่าง ที่ผ่านมาบริษัทได้ทดลองปรับรสชาติจากอุด้ง ออริจินอลญี่ปุ่นแท้ ๆ เป็นอุด้ง รสต้มยำ พบว่าได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภค ปัจจุบันบริษัทมีสาขาคะโซคุเตทั้งสิ้น 7-8 สาขา จากเป้าหมายที่วางไว้ 5 ปีจะมี 10 สาขา ทั้งนี้นโยบายของบริษัทจะเน้นหนักกับแบรนด์ที่สามารถขยายสาขาได้จำนวนมาก การนำคะโซคุเตเข้ามาเมื่อ 5 ปีก่อนเป็นการทดลองตลาด" 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้มีแบรนด์อุด้ง "มิยะทะเคะ ซะนุคิ อุด้ง" ที่เครือเบทาโกรนำเข้ามาเปิดร้านแรกที่สยามพารากอน โดยเป็นแบรนด์เก่าแก่อายุกว่า 60 ปีในญี่ปุ่น รวมถึงแบรนด์ "มารุกาเมะ เซเมง" ที่บริษัทโนดุฟู้ดส์ในเครือของกลุ่มบริษัทบูทิค ผู้พัฒนาและให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์และคอมมิวนิตี้มอลล์นำเข้ามาเมื่อปีที่แล้ว 
 
ในช่วงปลายปีบริษัทมีการเปิดสาขาจำนวนมาก โดยรุกเข้าไปในต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคอีสานล่าสุดที่เพิ่งเข้าไปเปิดสาขาที่จังหวัดสุรินทร์ ก่อนหน้านี้นายไพศาลกล่าวว่า ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคอีสานช่วงหลายปีที่ผ่านมามีไลฟ์สไตล์เปลี่ยนแปลงใกล้เคียงคนกรุงเทพฯมากขึ้น มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท รวมทั้งการขยายตัวของหัวเมืองใหญ่ 
 
 
 
จากความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โออิชิจึงได้เริ่มทำตลาดในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีเกินคาด โดยในเดือนธันวาคมได้ขยายอีก 4 สาขาไปยังจังหวัดบุรีรัมย์ และสุรินทร์ ทำให้ปัจจุบันมีสาขาในภาคอีสานประมาณ 23 สาขา และคาดว่าสิ้นปีนี้จะมีร้านอาหารในเครือโออิชิรวม 190 สาขาทั่วประเทศ โดยสิ้นปีปิดรายได้ 7,000 ล้านบาทตามเป้าหมายที่วางไว้ 

อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,049
PLAY Q by CST bright u..
1,294
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
941
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
790
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
768
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด