4.1K
2 พฤศจิกายน 2556
แนะธุรกิจแฟรนไชส์เร่งวางแผนล่วงหน้ารับเออีซี

 
นายกสมาคมแฟรนไชส์ชี้สินค้า-บริการที่สะท้อนความเป็นไทยมีศักยภาพในตลาดเออีซี แนะผู้ประกอบการต้องวางแผนล่วงหน้า 5 ปีก่อนขยายสาขาไปเพื่อนบ้าน ทั้งสร้างความเข้มแข็งให้กับแบรนด์ในไทย มีทีมงานสนับสนุนและคอร์ส อบรมคู่ค้า ย้ำชัดคุณสมบัติของคู่ค้าสำคัญกว่าปัจจัยทางการเงิน
 
นางสาวสมจิตร ลิขิตสถาพร นายกสมาคมแฟรนไชส์ไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจแฟรนไชส์มีโอกาสทางการตลาดสูงเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาหารหรือบริการ อาทิ ร้านเสริมสวย นวดแผนไทยและกีฬามวยไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักในตลาดโลกแต่ยังไม่มีใครที่สามารถคิดระบบการบริหารจัดการและสามารถขยายธุรกิจในลักษณะของแฟรนไชส์ ทั้งๆ ที่ความนิยมกีฬาชนิดนี้เพิ่มขึ้น ดังนั้น หากมีการพัฒนาระบบได้จะเพิ่มโอกาสธุรกิจให้ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว
 
 
ส่วนกลุ่มอาหารที่โดดเด่นก็คือ เมนูผัดไทย ต้มยำกุ้ง ส้มตำและเมนูตามสั่งที่คนต่างชาติชื่นชอบ ผู้ประกอบการต้องศึกษาวัฒนธรรมการบริโภคของคนในประเทศนั้นด้วย และต้องปรับรสชาติหรือพัฒนาเมนูให้เหมาะกับผู้บริโภคในแต่ละประเทศ
 
"จากประสบการณ์พบว่า ความต้องการแฟรนไชส์ไทยในเพื่อนบ้านมีสูง แต่ความพร้อมของผู้ประกอบการที่จะขยายธุรกิจไปนอกประเทศยังน้อย เพราะการไปทำตลาดต่างประเทศ จะต้องประสบความสำเร็จในประเทศก่อน เพื่อสร้างมาตรฐานความมั่นใจให้กับคู่ค้า" นางสาว สมจิตรกล่าว
 
 
 
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องวางแผนและสร้างความพร้อมล่วงหน้า 5 ปี หากต้องการขยายแฟรนไชส์ไปเพื่อนบ้าน จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะออกต่างประเทศในทันที ที่เปิดเออีซีหรืออีก 2 ข้างหน้านี้ ยกเว้นธุรกิจที่ทำแฟรนไชส์และเตรียมพร้อมขยายตลาดในอาเซียนไว้ตั้งแต่แรก เช่น ร้านโชคดีติ่มซำที่เข้าไปหาพาร์ทเนอร์ในพม่า
 
ส่วนคุณสมบัติของแฟรนไชส์ที่มีศักยภาพไปต่างประเทศ ข้อแรกคือต้องประสบความสำเร็จในประเทศ หรือมีแฟรนไชส์อย่างน้อย 10 สาขา และมีความสามารถในการบริหารร้านแฟรนไชส์ให้เติบโตมีกำไร มีมาตรฐานบริการที่ดี แต่ความพร้อมอย่างเดียวยังไม่พอ ข้อสองคือต้องมีความต้องการจากผู้สนใจที่อยากลงทุนเปิดแฟรนไชส์ไทยในประเทศของตนเองด้วย
 
ข้อสามต้องมีทีมงานสนับสนุน ข้อสี่ต้องมีคู่มือดำเนินกิจการให้กับคู่ค้า ซึ่งพัฒนามาจากการใช้งานจริงมาแล้ว ข้อห้าการฝึกอบรมให้กับคู่ค้าได้เรียนรู้การทำธุรกิจอย่างเป็นระบบ และสิ่งที่สำคัญก็คือต้องเลือกคู่ค้าที่มีความสนใจในการทำธุรกิจนั้นๆ มากกว่าปัจจัยทางการเงินอย่างเดียว
 
แนวโน้มการขยายธุรกิจของหลายบริษัทนับจากนี้คือ การขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ผ่านการร่วมมือกับนักลงทุนท้องถิ่น เพื่อเข้าไปทำตลาดในประเทศกลุ่ม CLMV (เวียดนาม ลาว กัมพูชาและพม่า) ที่มีศักยภาพ จากนั้นจึงจะขยายให้ครบทุกประเทศในอาเซียน
 
ในทางกลับกัน การเข้ามาในตลาดเมืองไทยของแฟรนไชส์ต่างประเทศนั้น ย่อมกระทบกับสินค้าหรือธุรกิจประเภทเดียวกับของไทย แต่จะส่งผลดีต่อบุคลากรที่มีโอกาสศึกษาระบบการทำงานของต่างประเทศ โดยเฉพาะงานช่างที่รับติดตั้งระบบต่างๆ รวมถึงงานช่อมแซมรถยนต์ เท่ากับเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของคนไทยทางอ้อม

อ้างอิงจาก กรุงเทพธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
950
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
651
“เติมพลังความรู้” กับ ..
592
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
563
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
554
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
517
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด