4.6K
19 ธันวาคม 2550
ทัศนะแฟรนไชส์นานาชาติ

 
 
แฟรนไชส์ เป็นช่องทางการดำเนินธุรกิจที่หลายกิจการให้ความสนใจ ทั้งยังเหมาะที่สุดสำหรับกิจการขนาดกลางและ ขนาดย่อมที่จะขยายกิจการให้เติบโตแตกหน่อออกไปได้ แต่หลายกิจการไปไม่ถึงฝั่งฝัน 
 
จากการประชุมสภาระหว่างประเทศเพื่อธุรกิจขนาดเล็ก (ISBC) ครั้งที่ 34 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2550 มีตัวอย่างอย่างผู้สำเร็จในเส้นทางนี้มาบอกเล่าให้ฟัง
 
ในทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจแฟรนไชส์ต่างมีความเห็นร่วมกันว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ได้เปิดโอกาสอย่างมากมายในโลกของธุรกิจ และเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการสามารถตอบสนองกับ แนวโน้มทางการตลาดได้อย่างรวดเร็ว 
 
หากแต่ว่าการจะประสบความสำเร็จในโลกของธุรกิจแฟรนไชส์ได้ ความสามารถในการควบคุมคุณภาพอย่างสม่ำเสมอคือ กุญแจของความสำเร็จ
 
 
 
นาย Jose A. Minana รองประธานและหัวหน้าบริษัท Jollibee Foods Corporation จากประเทศฟิลิปปินส์ ได้กล่าวถึงกลยุทธ์แห่งความสำเร็จของธุรกิจแฟรนไชส์ของบริษัท Jollibee Foods Corporation ว่า
 
"จะต้องทำให้สินค้าและบริการของคุณมีความอยู่ตัวเพียงพอ ที่จะให้ผู้อื่นสามารถบริหารงานได้ สินค้าของเราจะต้องมีคุณภาพสม่ำเสมอ"
 
 
 
บริษัท Jollibee เริ่มเปิดบริการในปี 2518 ด้วยร้านจำหน่ายไอศกรีมเพียงสาขาเดียว แต่ในปัจจุบันบริษัทได้ขยายสาขาเป็น 600 แห่งทั่วฟิลิปปินส์ เวียดนาม สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และบรูไน โดยมียอดขายทั้งหมด 600 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
 
 
 
นาย Minana ได้เน้นถึงความจำเป็นในการหาผู้ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะร่วมกัน มุ่งสู่วิสัยทัศน์และคุณค่าเดียวกัน โดยเน้นการสื่อสารและการฝึกอบรมเป็นองค์ประกอบหลักที่จะนำไปสู่ชัยชนะร่วมกัน
 
นาย Matthew Shay ประธานของ International Franchise Association (IFA) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงธุรกิจแฟรนไชส์ว่าเป็นวิธีการที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา SMEsทั่วโลก สมาคม IFA ได้ประมาณการว่ามีจำนวนแฟรนไชส์ทั่วโลกอย่างน้อย 20,000 ตราสินค้า โดยมีการจ้างงานมากกว่า 20 ล้านคน และสร้างรายได้ถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
 
 
 
"สำหรับทั้งเจ้าของตราสินค้าและผู้ลงทุนแล้ว ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการลงทุนที่ปลอดภัยกว่า และมีประโยชน์ที่ชัดเจนหลายประการ มีการเขียนแผนธุรกิจที่ดี ตราสินค้าเป็นที่รู้จัก ทั้งยังมีระบบบริหารด้านเทคโนโลยีที่อยู่ตัวแล้ว นาย Shay ยืนยันว่าทางสมาคม IFA มองธุรกิจแฟรนไชส์ว่าเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการพัฒนาการลงทุน แต่ก็มีข้อเสียบางประการ ผู้ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ไม่มีความเป็นอิสระมากนักในการบริหาร และใช่ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ทุกแห่งจะประสบความสำเร็จ"
 
อย่างไรก็ตาม ประธานของสมาคม IFA ก็ยังเชื่อว่าประโยชน์ของธุรกิจแฟรนไชส์ยังมีมากกว่าข้อเสีย และธุรกิจแฟรนไชส์ยังเป็นลู่ทางที่ดีที่สุดในการฉวยโอกาสทางธุรกิจจากตลาดใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านการแพทย์ หรือบ้านพักสำหรับผู้เกษียณอายุ เป็นต้น
 
ธุรกิจแฟรนไชส์กำลังขยายตัวด้วยดีในทวีปยุโรป นาย Jean-Paul Dorier แห่ง Directorate for Trade, Handicraft,Services and Liberal Professions ประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่าประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกและเป็นผู้นำในด้านนี้
 
โดยมีบริษัทในประเทศฝรั่งเศสถึงร้อยละ 99.8 ที่เป็น SMEs ทั้งยังได้กล่าวถึงบทบาทของรัฐบาลในการส่งเสริมธุรกิจ แฟรนไชส์ว่ามีความจำเป็นที่ต้องมีระบบเศรษฐกิจแบบเสรี โดยใช้กฎเกณฑ์ของระบบตลาดเป็นตัวนำ
 
 
นายประวิทย์ จิตนราพงศ์ ประธาน และกรรมผู้จัดการบริษัทแบล็คแคนยอน ได้กล่าวถึง Micro-franchising ว่าเป็นเทรนด์ใหม่ล่าสุดในโลกของธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเป็นการลอกแบบกฏเกณฑ์การบริหารธุรกิจ แฟรนไชส์เพียงแต่มุ่งเป้าหมายไปที่ตลาดระดับรากหญ้า
 
 
 
แนวคิดนี้ได้ถูกพัฒนามาจากแนวคิดเรื่อง Micro-Credit ของศาสตราจารย์ Dr.Yunus ในประเทศบังคลาเทศ เจ้าของรางวัลโนเบลในปี 2549 ซึ่งได้รับรางวัลจากการให้ความช่วยเหลือคนยากจน ในการก่อตั้งธุรกิจในระดับรากหญ้า ซึ่งคุณสุเมธ กระจ่างเนตร์ จากบริษัทแบล็ค แคนยอนเช่นกัน ได้กล่าวว่า

เมื่อผสมผสานแนวคิดนี้เข้ากับรูปแบบการบริหารธุรกิจแบบอเมริกันคือ การลอกแบบแนวคิดทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอยู่แล้ว ก็จะเกิดเป็นรูปแบบทางธุรกิจแบบใหม่ในลักษณะผสมผสาน เมื่อนำธุรกิจในรูปแบบใหม่นี้ไปใช้ในพื้นที่ยากจนก็จะสามารถ ช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้ โดยการสอนให้คนจนรู้จักพึ่งตนเอง
 
 
 
เขาได้ยกตัวอย่างของการนำแนวคิดทางทฤษฎีนี้ไปใช้ในทางปฏิบัติ คือบริการโทรศัพท์หมู่บ้านของบริษัท Vodaphone ที่มีบริการทางอินเทอร์เน็ตด้วยในทวีปแอฟริกา และประเทศบังคลาเทศ และอีกตัวอย่างหนึ่งคือ แว่นตาราคาถูกของบริษัท SCOJO Visionในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ และเม็กซิโก
 
เขายังได้กล่าวเสริมว่า สำหรับประเทศไทยยังมีร้านขายก๋วยเตี๋ยว ร้านกาแฟขนาดเล็ก และร้านไก่ย่างห้าดาวเป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าขนาดเล็กก็สามารถดีกว่าได้ในบางครั้ง
 
แบล็ค แคนยอน ก็มีกลยุทธ์ที่คล้ายคลึงกัน โดยมุ่งเป้าหมายไปที่ผู้บริโภคระดับกลาง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของบริษัทในปี2536 โดยมีร้านกาแฟที่ขายอาหารทั้งอาหารไทยและอาหารฝรั่ง ปัจจุบันสามารถขยายสาขาได้ถึง 160 แห่งในประเทศไทย และอีกกว่า 20 แห่งในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา และเมืองดูไบ
 
นายประวิทย์ กล่าวว่า ความสำเร็จของบริษัทตั้งอยู่บนการวางตำแหน่งทางการตลาดที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่า Micro-franchising ยังเพิ่งจะอยู่ในขั้นเริ่มต้นของทวีปเอเชีย แต่เขามีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจในกลุ่มนี้จะสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีในอนาคต
 
 
 
 
 
ที่มา : บิสิเนสไทย 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
963
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
664
“เติมพลังความรู้” กับ ..
596
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
567
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
558
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
522
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด