6.1K
26 พฤศจิกายน 2555
องค์การสวนยาง สั่งลุยแฟรนไชส์สวนยาง

 
 
บิ๊ก อ.ส.ย. กางแผนปี 56 ผุดโครงการแฟรนไชส์เพิ่มพื้นที่ปลูกยางพารา เลียนแบบซีพีโมเดล หวังเพิ่มผลผลิตป้อนโรงงานแปรรูปยางภาคใต้ ขณะที่ 3 โครงการยางแท่ง 3 จังหวัดภาคอีสานล่าช้า ผ่าน 2 ปีเพิ่งเปิดได้โรงเดียวอ้างฝนถล่ม  ไอเดียกระฉูด เตรียมเสนอบอร์ดปันผลคืนกำไรให้ชาวสวนยาง 20%
 
นายชนะชัย เปล่งศิริวัธน์ ผู้อำนวยการองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) เปิดเผยว่า ในปี 2556 นี้ ทาง อ.ส.ย. มีแผนเพิ่มพื้นที่สวนยางพารา โดยการทำโครงการแฟรนไชส์ยางพารา ซึ่งจะมีรูปแบบคล้ายกับของกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) คือ หากใครมีที่ดิน อยากปลูกยางพารา ทาง อ.ส.ย. ในฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจะนำพันธุ์ยางไปลงแปลงให้

โดยไม่คิดค่าบริหารจัดการ แต่จะขายพันธุ์ยางให้เกษตรกรในราคาประหยัด เช่น กิ่งตายาง สกุล RRIM ราคาฟุตละ 5 บาท ต้นยางชำถุง สกุล RRIM 600 และ RRIT 251 ราคาต้นละ 35 บาท เมื่อปลูกเสร็จ จะมีการให้คำปรึกษาเป็นระยะๆ หลังจากต้นยางถึงอายุกรีดน้ำยางได้แล้วให้นำผลผลิตมาขายให้กับ อ.ส.ย.
 
 
 
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวนี้เป็นโครงการเพิ่มพื้นที่กรีดยางโดย อ.ส.ย.ไม่จำเป็นต้องมีที่ดินเป็นของตนเอง โดย แนวคิดดังกล่าวเริ่มต้นมาจากที่ อ.ส.ย.มีแปลงพันธุ์ยาง อยู่ที่ อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช  ปัจจุบัน อ.ส.ย.มีสวนยางพาราเองกว่า 4 หมื่นไร่ทั่วประเทศ แต่ไม่เพียงพอป้อนโรงงานแปรรูปยางของ อ.ส.ย.ที่มีอยู่ 3 โรงที่จังหวัดนครศรีธรรมราช (อยู่ใกล้สวนยาง) แบ่ง เป็น 1.โรงงานผลิตยางเครปขาว กำลังการผลิต 300 ตันต่อปี  ยางแท่ง STR 5L กำลังการผลิต 3,500 ตันต่อปี และยางแท่ง STR 20  กำลังการผลิต 3.2 พันตันต่อปี  2.โรงงานผลิตน้ำยางข้น กำลังการผลิต 9 พันตันต่อปี และยางแท่งสกิมบล็อก กำลังการผลิต 700 ตันต่อปี  และ 3.โรงงานยางแผ่นรมควัน กำลังการผลิต 3 หมื่นตันต่อปี
 
"เป้าหมายของ อ.ส.ย.ในฐานะรัฐวิสาหกิจ  แม้ว่าจะเป็นองค์กรที่แสวงหากำไร แต่ก็ไม่ควรแสวงหากำไร เราควรที่จะทำหน้าที่อย่างอื่นมากกว่า เช่น สนับสนุนให้ธุรกิจในส่วนสถาบันเกษตรกรแจ้งเกิด ผลักดันให้มีพื้นที่ปลูกยางเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากใครมีที่ดินเปล่า แล้วสนใจที่จะปลูกยางสามารถติดต่อมาได้ที่สำนักงาน"
 
นายชนะชัย  กล่าวอีกว่า ผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปเบื้องต้นของ อ.ส.ย.ในแต่ละปีมีปริมาณซื้อขายกว่าพันล้านบาท โดยจำหน่ายให้กับโรงงานผลิตยางล้อรถยนต์ โรงงานผลิตเส้นยางยืด โรงงานผลิตรองเท้ายาง ถุงมือยางในประเทศ  เป็นต้น ปัจจุบันมีสัดส่วนการขายให้กับผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปต่อเนื่องจากยางพาราในประเทศ 30% ขายให้กับผู้ส่งออกอีก 70% จากอดีตขายให้กับผู้ส่งออก100%
 
 
 
ด้านโรงงานผลิตยางแท่ง STR 20 ของ อ.ส.ย.ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานที่มีอยู่ 3 แห่ง กำลังการผลิตแห่งละ 2 หมื่นตันต่อปี ได้แก่ ที่จังหวัดนครพนม อุดรธานี และศรีสะเกษ ที่ได้มีการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรมูลค่ากว่า 475 ล้านบาท เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 นั้น ล่าสุด เพิ่งเปิดดำเนินการเมื่อช่วงตุลาคม 2555 ได้เพียงแค่ 1 โรง ที่จังหวัดศรีสะเกษ ส่วนอีก 2 โรงยังไม่แล้วเสร็จ

สาเหตุเพราะช่วงปี 2554 ฝนตกหนักมาก มรสุมเข้าจึงทำให้งานล่าช้า ประกอบกับต้องมีการปรับพื้นที่ใหม่ บางแห่งอยู่ในพื้นที่สูง  รถเข้าออก ลำบาก  ทั้งนี้เป้าหมายของโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในภาคอีสานที่มักถูกพ่อค้าคนกลางกดราคารับซื้อผลผลิต โดยอ้างมีสิ่งเจือปนในเนื้อยางมาก
 
"งบลงทุนทั้ง 3 โรง เป็นเงินรัฐบาล ไม่ใช่ของ อ.ส.ย. ดังนั้นจึงอยากให้เกษตรกรมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ หากโรงงานทั้ง 3 โรงมีกำไร จะปันผลคืนกลับให้เกษตรกร เช่น ตั้งเป้าไว้ว่าถ้าโรงงานมีกำไร 100 ล้านบาท จะต้องปันผลให้เกษตรกร 20% โดยพิจารณายอดการรับซื้อผลผลิตของแต่ละราย ในเรื่องนี้จะได้เสนอบอร์ดรับรอง ในเร็วๆนี้ หากบอร์ดอนุมัติคาดว่าจะปันผลได้ปี 2556"

อ้างอิงจาก ฐานเศรษฐกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
993
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
674
“เติมพลังความรู้” กับ ..
599
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
573
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
561
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
523
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด