647
31 มกราคม 2566
กรมพัฒน์ฯ ตั้งคณะทำงานจับตาโจรไซเบอร์สวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่หลอกอัพเดทข้อมูลธุรกิจต่างชาติ
 
 

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกโรงเตือนประชาชนและธุรกิจระวังโจรไซเบอร์อีกครั้ง รอบนี้ขยายไปถึงนิติบุคคลต่างชาติก็โดนด้วยส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นในการทำธุรกิจในประเทศ ตั้งคณะทำงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมกรมพัฒนาธุรกิจการค้าคอยจับตาโจรไซเบอร์ พร้อมหนุนผู้เสียหายดำเนินคดีร่วมกันที่เอาชื่อเสียงกรมฯ ไปหากินแบบผิดๆ ยืนยันจะดำเนินคดีทุกรายไม่มีเว้น และส่งเรื่องให้ปอท. ช่วยกำจัดโจรให้สิ้น ย้ำวิธีระวังตนเอง 4 คาถายังต้องทำต่อไป เช็ค URLให้ดี ไม่กดลิ้งค์ที่ไม่รู้จัก ไม่เชื่อคำเชิญชวน และไม่เปิดเผยข้อมูล
 
นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า “ที่ผ่านมากรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนและผู้เสียหายว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมฯ ขอให้อัพเดทข้อมูลนิติบุคคล โดยใช้กลอุบายให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชันไลน์ที่เป็นบัญชีปลอมเพื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ บัตรประชาชน อีเมล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ และข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น จากนั้นมิจฉาชีพจะเข้าระบบดูดเงินจากในบัญชีธนาคารของผู้เสียหายออกไป ซึ่งกรมฯ ได้ประกาศแจ้งเตือนอยู่เป็นระยะรวมถึงวิธีการป้องกันตัวเองเพื่อให้นิติบุคคลและประชาชนระมัดระวังตัว ไม่หลงเชื่อ และกรมฯ ไม่มีนโยบายที่จะติดต่อหรือทักหาประชาชนไปก่อน หรือให้อัพเดทข้อมูลผ่านระบบไลน์
 
อธิบดี กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีประชาชนผู้ประสบเหตุและผู้เสียหายได้ติดต่อมายังกรมฯ จำนวนเพิ่มขึ้นผ่านทางสายด่วน 1570 อีเมล และช่องทาง Social Media ของกรมฯ เพื่อแจ้งถึงกรณีดังกล่าว มากไปกว่านั้นยังขยายความเดือดร้อนไปถึงนิติบุคคลต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งใช้กลอุบายหลอกลวงแบบเดียวกันแต่เป็นรูปแบบภาษาอังกฤษ ซึ่งการกระทำนี้สร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศเป็นอย่างมาก และอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักธุรกิจต่างชาติได้
 
กรมฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อย่างใดและได้ดำเนินการในเชิงรุก พร้อมแต่งตั้ง ‘คณะทำงานศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมกรมพัฒนาธุรกิจการค้า’ ขึ้น เพื่อดูแลประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการหลอกลวงนี้ โดยได้รับแจ้งเรื่องประกอบกับให้ส่งหลักฐานที่มีสำหรับนำไปแจ้งตำรวจเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษกับมิจฉาชีพทุกรายที่นำชื่อและตราสัญลักษณ์ของกรมฯ ที่เป็นหน่วยงานราชการไปหลอกประชาชน และขอแนะนำให้ผู้เสียหายควรไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อจะได้สกัดกั้นการกระทำลักษณะนี้ไม่ให้ขยายวงกว้าง รวมไปถึงกรมฯ ยังได้ส่งต่อหลักฐานให้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
 
สำหรับในภาคประชาชนและธุรกิจกรมฯ ขอย้ำเตือนว่าการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลในยุคนี้ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง มิเช่นนั้นจะตกเป็นเหยื่อของโจรไซเบอร์โดยไม่รู้ตัว และการป้องกันตัวใน 4 รูปแบบยังคงมีความสำคัญคือ) ก่อนเข้าเว็บไซต์ต้องเช็คตัวสะกดของ URL ให้ดี 2) ไม่กดลิ้งค์/SMS/โหลดแอปพลิชันที่ไม่รู้จักหรือได้รับแชร์ 3) ไม่หลงเชื่อคำเชิญชวน และ 4) ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล หากมีข้อสงสัยและศึกษาข้อมูลอื่นๆ ติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วน 1570 เว็บไซต์ www.dbd.go.th และ FB: DBD Public Relations” อธิบดี กล่าวทิ้งท้าย”



อ้างอิง MGRonline
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
นำโชคลอตเตอรี่ “ธุรกิจ..
3,538
ประมวลภาพสุดยิ่งใหญ่งา..
1,181
คลิ๊กโรบอท เอ็นจิเนียร..
1,028
ธงไชยผัดไทย เปิดโครงกา..
1,017
“นาด้า” ร่วมแข่งขันจิน..
904
ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส ..
760
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด