777
24 พฤษภาคม 2565
“จุรินทร์” นำรัฐมนตรีการค้าเอเปกปิดฉากการประชุมงดงาม ทุกชาติปรบมือให้ไทย เดินหน้าสู่ FTA เอเปกให้สำเร็จ
 

เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปก (Ministers Responsible for Trade Meeting : MRT) พร้อมด้วยนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และนายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ณ ห้อง Convention B2 ชั้น 22 โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
 
นายจุรินทร์กล่าวว่า ภาพรวมการประชุมเอเปกที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ตลอด 2 วันที่ผ่านมา รวมทั้งวันนี้ ในฐานะประธานในที่ประชุม ไทยได้แสดงความชื่นชมรัฐมนตรีการค้าเอเปกจากทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ รวมทั้งสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปก หรือที่เรียกว่า ABAC (สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปก) และผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของสมาชิกเอเปกในการผลักดันและกำหนดทิศทางผ่านการแสดงวิสัยทัศน์ และมุมมองที่หลากหลายในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เพื่อฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน รวมทั้งการส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตามหัวข้อหลักของการประชุมเอเปกประจำปี 2022 ที่ประเทศไทยกำหนดขึ้นภายใต้วิสัยทัศน์ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์เชื่อมโยงกันสู่สมดุล” หรือ “Open. Connect. Balance”
 
 
อย่างไรก็ตาม ผลการประชุมเอเปกที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพวันนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงามเพราะหัวข้อหลักที่ประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าภาพกำหนดไว้ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “Open. Connect. Balance” เป็นไปตามเป้าหมายและบรรลุผลเป็นรูปธรรมทั้งจากความเห็นของที่ประชุมและที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ในเรื่องของ Open คือการเปิดกว้างและเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน ผลรูปธรรมที่ทุกเขตเศรษฐกิจเห็นร่วมกัน คือ การที่เราจะนำเอเปกไปสู่การจัดทำ FTAAP (Free Trade Area of the Asia-Pacific) ให้เกิดขึ้นในอนาคต
 
สำหรับเรื่อง Connect หรือการเชื่อมโยงระหว่างเขตเศรษฐกิจทั้งในส่วนของบุคคลหรือสินค้าและบริการ ได้มีการตั้งคณะทำงานที่เรียกว่า APEC Safe Passage Task Force เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไปให้เกิดผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น และส่วนคำว่า Balance หรือสร้างสมดุล มีความเห็นที่ตรงกันในทุกเขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมประชุมให้มุ่งเน้นการสร้างสมดุลในด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพลังงานและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายทุกระดับ ตั้งแต่คนตัวใหญ่จนกระทั่งถึงคนตัวเล็ก ในระดับ SMEs และMicro-SMEs เแรงงาน ผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบาง สตรีและอื่นๆ
 
นอกจากนั้นสัญญาณอีกข้อที่สะท้อนความสำเร็จของประเทศไทยคือการที่ทุกเขตเศรษฐกิจได้ยอมรับและสนับสนุน BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ของไทย ให้เป็นวิสัยทัศน์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของกลุ่มเขตเศรษฐกิจเอเปกในอนาคต

 
การประชุมครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ประชุมไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมของการประชุมเอเปกได้เช่นเดียวกับบางครั้งที่เกิดขึ้นในอดีต แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ จะมีผลลัพธ์ในรูปถ้อยแถลงหรือแถลงการณ์ของประธานการประชุมเอเปก คือ ประเทศไทย ในรูป Chair Statement แทน ซึ่งได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินการยกร่าง เชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมในการยกร่างและจะประกาศเป็นทางการในรูปเอกสารต่อไป
 
ถึงแม้ว่าการประชุมครั้งนี้จะไม่ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วม แต่ถือว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จและประเทศไทยเคารพความเห็นของทุกเขตเศรษฐกิจ รวมทั้งประเทศไทยยังพร้อมทำงานร่วมกับเอเปกอย่างเข้มแข็งต่อไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดตั้ง FTAAP การสนับสนุนการค้าในรูปแบบพหุภาคีรวมทั้ง WTO และการจับมือเดินไปด้วยกันอยู่ร่วมกันกับโควิดและอนาคตต่อไป

ซึ่งแถลงการณ์ร่วมจะเกิดขึ้นได้เมื่อทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ มีความเห็นตรงกันทั้งหมดที่เรียกว่า เป็นฉันทามติ ถ้ามีแม้เขตเศรษฐกิจใดเศรษฐกิจหนึ่งเห็นไม่สอดคล้องก็ไม่สามารถประกาศได้ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เนื่องจากมีความเห็นไม่สอดคล้องกันในเรื่องสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทุกเขตเศรษฐกิจเห็นพ้องกันในการให้มีแถลงการณ์ร่วม เพียงแต่มีเนื้อหาส่วนหนึ่งที่เห็นไม่สอดคล้องกัน บางเขตเศรษฐกิจเห็นไม่ตรงกัน เป็นที่มาที่ทำให้ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมได้
 
ที่มา : MGRonline.com
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
950
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
651
“เติมพลังความรู้” กับ ..
592
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
563
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
554
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
517
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด