1.1K
27 กรกฎาคม 2563
กรมพัฒน์ฯ รายงานจดทะเบียนธุรกิจเดือนมิถุนายน และครึ่งแรกปี 2563

 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
 
นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนมิถุนายน 2563 และครึ่งแรกปี 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
ผลการจัดตั้งธุรกิจใหม่
  • จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศในเดือนมิถุนายน 2563 จำนวน 5,731 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 14,757 ล้านบาท
  • ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 612 ราย คิดเป็น 11% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 271 ราย คิดเป็น 5% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร จำนวน 188 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ
  • ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 4,323 ราย คิดเป็น 75.43% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 1,326 ราย คิดเป็น 23.14% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 69 ราย คิดเป็น 1.20% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 13 ราย คิดเป็น 0.23% ตามลำดับ
ธุรกิจจัดตั้งใหม่ ครึ่งแรกปี 2563 เพิ่มขึ้น 74 ราย เทียบปี 2562
  • จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศครึ่งแรกปี 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) จำนวน 33,337 ราย เมื่อเทียบกับครึ่งหลังปี 2562 (ก.ค.-ธ.ค.) จำนวน 33,263 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 74 ราย คิดเป็น 0.2% และเมื่อเทียบกับครึ่งแรกปี 2562 (ม.ค.-มิ.ย.) จำนวน 38,222 ราย ลดลงจำนวน 4,885 ราย คิดเป็น 13%
  • ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 3,394 ราย คิดเป็น 10% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1,665 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร จำนวน 932 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ
  • มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ในครึ่งแรกปี 2563 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวนทั้งสิ้น 104,571 ล้านบาท เมื่อเทียบกับครึ่งหลังปี 2562 (ก.ค.-ธ.ค. 62) จำนวน 209,708 ล้านบาท ลดลงจำนวน 105,137 ล้านบาท คิดเป็น 50% และเมื่อเทียบกับครึ่งแรกปี 2562 (ม.ค.-มิ.ย.) จำนวน 117,756 ล้านบาท ลดลงจำนวน 13,185 ล้านบาท คิดเป็น 11%
  • ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 24,471 ราย คิดเป็น 73.40% รองลงมาคือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 8,336 ราย คิดเป็น 25.01% รองลงมาคือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 468 ราย คิดเป็น 1.40% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 62 ราย คิดเป็น 0.19%

ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนมิถุนายน 2563
  • จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจำเดือนมิถุนายน 2563 มีจำนวน 1,336 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 5,132 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
  • ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 111 ราย คิดเป็น 8% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 69 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการจัดการ จำนวน 36 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ
  • ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 923 ราย คิดเป็น 69.09% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 350 ราย คิดเป็น 26.20% ลำดับถัดไปคือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 59 ราย คิดเป็น 4.41% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 4 ราย คิดเป็น 0.30% ตามลำดับ
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนมิถุนายน 2563
  • ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 30 มิ.ย. 63) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 765,775 ราย มูลค่าทุน 18.44 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 186,682 ราย คิดเป็น 24.38% บริษัทจำกัด จำนวน 577,822 ราย คิดเป็น 75.46% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,271 ราย คิดเป็น 0.16% ตามลำดับ
  • ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 452,511 ราย คิดเป็น 59.09% รวมมูลค่าทุน 0.40 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.17% รองลงมาคือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 225,544 ราย คิดเป็น 29.45% รวมมูลค่าทุน 0.75 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4.07% ช่วงถัดไปคือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 71,858 ราย คิดเป็น 9.39% รวมมูลค่าทุน 1.95 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10.57% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 15,862 ราย คิดเป็น 2.07% รวมมูลค่าทุน 15.34 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.19% ตามลำดับ
ต่างชาติลงทุน
  • เดือนมิถุนายน 2563 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้นมีจำนวน 56 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จำนวน 22 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ จำนวน 34 ราย โดยมีนักลงทุนต่างชาติลงทุนเพิ่มขึ้น 11 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน (พ.ค. 63) 24% และมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 11,401 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2563 จำนวน 87 ล้านบาท คิดเป็น 0.77%
  • นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น จำนวน 7 ราย เงินลงทุน 386 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ จำนวน 5 ราย เงินลงทุน 623 ล้านบาท และจีน จำนวน 2 ราย เงินลงทุน 330 ล้านบาท
  • ครึ่งแรกปี 2563 คนต่างชาติได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ จำนวน 355 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 58,407 ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนพบว่ามีจำนวนนักลงทุนต่างชาติได้รับอนุญาตเพิ่มขึ้น 22 ราย (7%) เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 3,653 ล้านบาท (7%) ซึ่งธุรกิจที่ต่างชาติเข้ามาดำเนินการเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ และนโยบายในการส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เงินลงทุนสูง เช่น บริการขุดเจาะปิโตรเลียม บริการออกแบบ จัดซื้อ จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ ก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม และบริการให้คำปรึกษาแนะนำและตรวจสอบการทำงานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และบริการออกแบบพร้อมติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ รวมทั้งซ่อมแซมบำรุงรักษาสินค้าประเภทแผงโซลาร์เซลล์ เป็นต้น
อ้างอิงจาก : MGROnline.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
937
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
638
“เติมพลังความรู้” กับ ..
591
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
562
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
553
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
516
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด