บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
336
2 นาที
18 มีนาคม 2568
“ERRC” กลยุทธ์สร้าง “Blue Ocean” ปี2025
 

ในโลกของธุรกิจมี 2 คำที่คุ้นเคยกันดีคือ Red Ocean และ Blue Ocean ความแตกต่างระหว่าง 2 ตลาดนี้คือ
 
Red Ocean - เน้นที่ “ราคา” เป็นหลัก ความภักดีของลูกค้าต่อแบรนด์ (Brand Royalty) ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ เพราะลูกค้ามีตัวเลือกเยอะ จึงต้องแข่งขันกันที่คุณภาพและราคาแทนการเน้นความแตกต่างจากแบรนด์อื่น
 
Blue Ocean - เน้นการแข่งขันในการสร้างความต้องการ (Demand) ใหม่ขึ้นมา ผ่านการสร้างสินค้าใหม่ หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าที่มีอยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีการแข่งขันไม่สูงมาก และมีคู่แข่งน้อย แต่การใช้กลยุทธ์นี้จะต้องอาศัยความรอบคอบในการสำรวจตลาด และเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงกลุ่มด้วย
 
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในโลกของธุรกิจจึงมักจะหาวิธีหลีกหนีจาก Red Ocean ที่คู่แข่งเยอะมาก และมุ่งสู่ตลาดที่เป็น Blue Ocean ที่คู่แข่งน้อยกว่า มีโอกาสประสบความสำเร็จในการสร้างยอดขายได้มากกว่า
 
 
ถ้าจะให้ดูตัวอย่างของธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์ Blue Ocean มีอะไรบ้าง เช่น
  • บริษัท Apple ในช่วงที่ Steve Jobs เป็น CEO (iPod, iPhone, iPad, Macbook Air)
  • Netflix ที่เปลี่ยนจากการให้คนไปเช่าหนังที่ Blockbuster ให้สามารถดูหนังผ่าน Netflix ได้ที่บ้าน
  • สถาบันธนาคารที่หันมาใช้แอพพลิเคชันในการทำธุรกรรมการเงิน
  • ธุรกิจร้านอาหารที่ใช้เทคโนโลยี Virtual Restaurant ในการส่งภาพเมนูให้เลือกค้าได้ดูแบบเสมือนจริงเป็นมิติใหม่ในการเพิ่มยอดขายที่ทำให้ร้านแตกต่างจากแบรนด์อื่นมากขึ้น
  • Honda สร้าง Blue Ocean ในตลาดรถยนต์ SUV Hybrid ด้วยรถ Honda CR-V Hybrid ที่ให้ผู้บริโภคทั้งความสปอร์ต ประหยัดพลังงาน และมีคุณสมบัติที่ทำให้แตกต่างจากรถยนต์ SUV อื่นๆ ในตลาด
  • ฟาร์มโชคชัย พัฒนาธุรกิจสู่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ 

ทั้งนี้การที่สินค้าจะก้าวสู่ Blue Ocean ก็ไม่ใช่เรื่องที่นึกจะทำได้ทันทีจำเป็นต้องมีการศึกษาและวางแผนมาเป็นอย่างดีโดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่
  • หาจุดเด่นของสินค้าที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ และวางแผนการตลาด
  • ศึกษาพื้นที่ตลาดและความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน
  • เปรียบเทียบตำแหน่งของธุรกิจคู่แข่งกับธุรกิจของเรา จากนั้นมองหาตำแหน่งใหม่ที่เราต้องการขาย
  • พิจารณาข้อจำกัดในการผลิตและการขายของตัวเอง และหาวิธีก้าวข้ามข้อจำกัดนั้น
  • สร้างสูตรสำเร็จของธุรกิจในแบบของตัวเอง
และเพื่อให้แต่ละธุรกิจที่ต้องการก้าวสู่ Blue Ocean ได้ง่ายขึ้น นักการตลาดจึงได้มีการพูดถึง ERRC Framework ซึ่งก็คือ กรอบการทำงานที่เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ (Strategic Framework) ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้แบรนด์และธุรกิจได้มีแนวคิดใหม่ๆ ประกอบด้วย
 
 
E = Eliminate คือการกำจัดบางสิ่ง ที่ธุรกิจเคยเสนอให้กับลูกค้า โดยไม่ได้มองว่าลูกค้าต้องการจริงหรือไม่ ซึ่งบางครั้งลูกค้าจำเป็นต้องเลือกใช้ เพียงเพราะไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า เช่น บางสายการบินที่ตัดการเสิร์ฟอาหารเพื่อให้ต้นทุนในการเดินทางของผู้โดยสารถูกลง
 
R= Reduce คือการลดบางสิ่งให้น้อยลงกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมเพราะมันอาจมากเกินไปต่อความต้องการของลูกค้าและเป็นการเพิ่มต้นทุนที่ไม่จำเป็นอีกด้วย
 
R =  Raise คือการเพิ่มบางสิ่งที่ช่วยเพิ่มคุณค่า ให้กับสินค้าและบริการของแบรนด์ให้มากกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น ร้านสะดวกซื้อที่เปิดให้บริการ 24 ชม. เพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้าและเพิ่มคุณค่าให้กับแบรนด์ตัวเองได้
 
C = Create คือการสร้างบางสิ่งที่ลูกค้าต้องการ แต่ไม่เคยมีใครตอบสนองมาก่อน เช่นSpotify ได้เพิ่ม AI ที่ช่วยวิเคราะห์เพลงที่เราฟังเป็นประจำเพื่อแนะนำเพลงที่เราน่าจะชอบ
 
และนอกจากคำว่า Blue Ocean ที่คนส่วนใหญ่รู้จักแต่แท้ที่จริงในแต่ละธุรกิจก็จะมีเป้าหมายทางการตลาดที่แตกต่างและอาจไม่ใช่ทุกธุรกิจที่ต้องการมุ่งหา Blue Ocean แต่ยังมีอีกหลายตลาดที่น่าสนใจเช่น Green Ocean ตลาดของธุรกิจรักษ์โลก รักสุขภาพ , White Ocean ตลาดของธุรกิจที่มีจุดยืนเคียงข้างผู้บริโภค เป็นต้น

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
493
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
347
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
347
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
347
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
335
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
330
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด