บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
503
2 นาที
11 กุมภาพันธ์ 2568
Markup Pricing การตั้งราคาสินค้าให้ได้กำไร 30%
 

ในแต่ละธุรกิจการคำนวณต้นทุน-กำไรก็จะแตกต่างกันไปอย่างร้านอาหารก็ประเมินว่าควรมีกำไรเฉลี่ย 15-20% จากยอดขาย หรือร้านค้าปลีกควรมีกำไรอยู่ที่ 10-20% จากราคาขาย หรือบางธุรกิจเน้นการขยายสาขาให้ได้มากๆ เพื่อให้มีผลต่อการลดต้นทุนวัตถุดิบที่มีผลต่อการเพิ่มกำไรในอนาคตได้เช่นกัน
 
อย่างไรก็ดีในกลยุทธ์ของการตั้งราคาสินค้าและบริการที่ดี ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ 
  • รู้โครงสร้างต้นทุนสินค้าของธุรกิจ
  • ตั้งสัดส่วนการเงินเก็บโดยคิดจากต้นทุนสินค้า หรือ ที่เราเรียกว่า Mark-up
  • ตั้ง% กำไรที่ SME อยากได้จากการขายสินค้าหรือบริการ
แต่ก็เชื่อว่าวิธีตั้งราคาแบบทั่วไปคนทำธุรกิจก็มีความรู้ดีอยู่แล้ว แต่มาติดตรงคำว่า Markup Pricing ที่แม้ว่าไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ก็เป็นความรู้ที่หลายคนไม่รู้เช่นกัน โดย Mark-up คือ เงินที่เราเผื่อไว้ในราคาของสินค้าทุกชิ้น โดยบวกเพิ่มไปเสมือนเป็นต้นทุนสินค้าอีกอย่างหนึ่ง

 
ยกตัวอย่างเจ้าของสินค้าตั้งใจว่าจะใช้เงินจากยอดขายประมาณ 30% (Markup Pricing) ในการขยายสาขาในอนาคต
 
ต้นทุนสินค้าอยู่ที่ 200 บาท/ชิ้น
 
Markup Pricing = ต้นทุนสินค้า x จำนวน % ของ Markup ที่ต้องการ
 
ในกรณีนี้ Markup Pricing = 200 x 30% = 60 บาท
 
ถ้าตั้งราคาขายสินค้านี้อยู่ที่ 300 บาทเท่ากับจะมีส่วนต่าง 100 บาท ตรงนั้นเอามาแยก Markup Pricing ไว้ 60 บาท สำหรับใช้ในอนาคต ส่วนกำไรที่เหลืออีก 40 บาทก็นำไปใช้ในส่วนอื่นเช่น เงินเดือนพนักงาน, ค่าเช่าออฟฟิศ, ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น
 
 
วิธีการใช้ Markup Pricing เข้ามาควบคู่กับการตั้งราคาสินค้ามีอยู่หลายด้าน ได้แก่
  • สามารถใช้เป็นเงินสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน เป็นหนึ่งในแผนบริหารการเงินที่ธุรกิจนำมาใช้ในอนาคตได้ 
  • ใช้เงินทุนที่เก็บนี้ เพื่อการลงทุน ขยายกิจการ โดยไม่ต้องพึ่งเงินกู้จากธนาคาร หรือ นักลงทุนอื่น
  • เป็นแหล่งสำรองที่จะนำไปใช้จ่ายปันผล ให้โบนัสพนักงาน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในอนาคตได้
ซึ่งการตั้งราคา Markup Pricing ที่ 30% ในบางธุรกิจอาจเป็นตัวเลขที่สูงเกินไป ก็สามารถปรับเปลี่ยนตัวเลขให้เหมาะสมกับการธุรกิจได้ หรืออาจไปลดที่ต้นทุนสินค้าและบริการก็จะมีผลต่อการคำนวณเรื่อง Markup Pricing ด้วยเช่นกัน
 
และไม่ใช่แค่ Markup Pricing เท่านั้นที่ทำให้เรามีการตั้งราคาสินค้าได้ 30% ในทฤษฏีการตลาดยังมีอีกหลายวิธีที่น่าสนใจเช่น
 
นอกจากนี้ยังมีการใช้ทฤษฏีตั้งราคาแบบ Triple-Code Model ที่ว่ากันว่ามีโอกาสเพิ่มยอดขายได้ถึง 30% 
 
 
เป็นหลักการตั้งราคาที่เป็นเหมือนการ “หลอกสมอง” ทำให้คนซื้อพึงพอใจและรู้สึกว่าสินค้าคุ้มค่า ราคาไม่แพง ซึ่งมีการนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายวิธีเช่น การจัดโปรโมชัน 1 แถม 1 ,การตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9 เป็นต้น
 
อย่างไรก็ดีกลยุทธ์ในการตั้งราคานั้นมีหลากหลายขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจเป็นผู้กำหนดก็ต้องดูปัจจัยแวดล้อมหลายด้านมาประกอบกันเช่น
  • Customer Value–Based Pricing กลยุทธ์การตั้งราคา โดยใช้ ‘มุมมองของลูกค้า’ เป็นฐาน โดยพิจารณาจาก การรับรู้ถึงคุณค่าในสินค้าหรือบริการของลูกค้าเป็นกุญแจสำคัญในการตั้งราคา
  • Cost-Based Pricing กลยุทธ์การตั้งราคา โดยใช้ ‘ต้นทุน’ เป็นฐาน โดยพิจารณาจาก ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดจำหน่าย และการขาย นำมาบวกเพิ่มกับอัตราผลตอบแทนหรือกำไรที่ต้องการในจำนวนที่สามารถครอบคลุมการทำงานและความเสี่ยงต่างๆ ของบริษัทได้
  • Competition-Based Pricing กลยุทธ์การตั้งราคา โดยใช้ ‘การแข่งขัน’ เป็นฐาน โดยพิจารณาจาก กลยุทธ์ ต้นทุน ราคา และข้อเสนอของคู่แข่ง

ซึ่งทุกรูปแบบในการตั้งราคาล้วนมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดขาย แต่ก็ต้องให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริงของธุรกิจ การเล่นกับราคามากเกินไปบางทีอาจเป็นดาบสองคม ถ้าใช้ไม่ดีอาจได้ไม่คุ้มเสีย

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
500
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
352
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
350
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
350
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
338
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
335
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด