บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การตลาด บริหารธุรกิจ    รีวิวหนังสือ สปอยหนัง
5.0K
3 นาที
16 กันยายน 2563
#รีวิวหนังสือ หลังบ้าน YouTuber


 
รีวิวหนังสือ หลังบ้าน YouTuber "YouTuber" ถือเป็นคำยอดฮิตที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี และไม่ใช่แค่รู้จักหลายคนมีความฝันและตั้งใจอยากจะเป็น YouTuber บ้าง แต่ใช่ว่าทุกคนที่คิดแล้วจะทำได้ เส้นทางสู่การเป็น YouTuber มีหลายอย่างที่เราต้องเรียนรู้และข้อมูลที่ดีที่สุดคือเรียนรู้จาก YouTuber รุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี หนังสือหลังบ้าน YouTuber จะเป็นเหมือนไกด์ไลน์นำทางให้เราประสบความสำเร็จในเส้นทางของ หลังบ้าน YouTuber ได้ง่ายขึ้น

 
นามปากกาผู้เขียน : Bearhug
 
รีวิวหนังสือ "หลังบ้าน YouTuber" หนังสือเล่มแรกของ "กานต์" และ "ซารต์" 2 ยูทูบเบอร์ จากช่อง Bearhug (แบร์ฮัก) ที่มีผู้ติดตามกว่า 3 ล้านคน พวกเขามาพร้อมวิธีการเป็นยูทูบเบอร์ วิธีทำคลิปวิดีโอ วิธีทำเงินจากยูทูบ ถ้อยคำสร้างแรงบันดาลใจ รวมทั้งเรื่องราวดี ๆ และภาพน่ารัก ๆ อัดแน่นทั้งเล่ม กว่าจะมาเป็น "แบร์ฮัก" ในวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย อะไรคือความลับที่ทำให้คนธรรมดา และช่องยูทูบที่ดูเหมือนธรรมดาแต่ไม่ธรรมดานี้ประสบความสำเร็จ หนังสือเล่มนี้จะชวนมาดูเบื้องหลังวิธีคิด วิธีการทำงาน และวิธีการทำเงินของแบร์ฮัก รวมทั้งมุมมองความคิดดี ๆ ที่นำไปปรับใช้กับงานได้ แม้คุณจะไม่ใช่ยูทูบเบอร์!
 

 
1."ซารต์" นักบัญชีสายเนิร์ด สู่ยูทูบเบอร์สายกิน
 

 
ซารต์ คอนเทนต์ออนไลน์ที่ดีต้องจริงใจกับคนดูเพราะเชื่อว่าคนดูต้องสัมผัสได้แน่ๆ
  • ตอนเด็กๆฝันอยากเป็นดารา
  • ตอนเด็กเป็นเด็กเนิร์ดตั้งใจเรียน
  • เวลาว่างอ่านหนังสือ และเรียนพิเศษ
  • พอจบม.6 เลือกเข้าคณะบัญชีและบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ได้เกียรตินิยมอันดับ 1
  • รู้สึกเครียดกับเอกสารและความรับผิดชอบในการเป็น ออดิทฝึกหัด
  • เปิดเพจขายเสื้อผ้ามือสอง แต่ขายไม่ออก 
  • โดนต่อราคาขาดทุน พอขายหมดก็ปิดเพจไปเลย
  • ขยันหาเงินและประหยัดสุดๆ 
  • หลังเรียนจบมีเงินเก็บถึง 50,000 บาท
  • กลับไปเป็นออดิท(พนักงานบัญชี)อีกรอบ
  • กานต์ชวนไปทำ ยูทูบเบอร์ แต่ปฏิเสธไป
  • ลาออกจากงานบัญชี ไปสมัครเป็น ผู้ช่วยโบรกเกอร์
  • ลาออกจากผู้ช่วยโบรกเกอร์ ไปทำยูทูปกับกานต์
  • ทำอาชีพเซลล์ขายประกันและเครื่องกรองน้ำ คู่กับเป็นผู้จัดการให้กานต์
  • กานต์อาสาทำช่องให้ นั้นคือช่อง Sunbeary
  • จากรีวิวของเล่นเปลี่ยนมาเป็นกินและเที่ยว

2."กานต์" รู้ตัวอีกที เราก็เป็นยูทูบเบอร์ซะแล้ว
 
  • กานต์ โชคดีที่ผมในตอนนั้นไม่คิดอะไรเพราะถ้าคิด น่าจะไม่ได้ลองทำแน่ๆเลย
  • ทำไมถึงมาเป็นยูทูปเบอร์ ไม่รู้
  • เริ่มทำเพราะความ อยาก
  • รูมเมทชวนดูคลิปฝรั่งคนหนึ่ง เพื่อความบันเทิงและฝึกภาษา
  • ได้รู้จักว่านี่คือ ยูทูปเบอร์
  • ติดยูทูปเบอร์ 2 คน คือ Nigahiga และ Pewdipie
  • เริ่มฟังภาษาอังกฤษรู้เรื่อง เริ่มหลงใหลในอาชีพนี้
  • เริ่มหาอุปกรณ์เพื่อใช้ถ่ายทำและตัดต่อ
  • ศึกษา ถ่ายทำ เริ่มตัดต่อ
  • เริ่มมีผู้ติดตามหลัก 1000 รายได้ 15,000/เดือน
  • ปี 2014 ยูทูปประเทศไทยเปิดทำการ เรตรายได้ถูกปรับ 
  • รายได้เหลือ 600/เดือน
  • 4 เดือนให้หลัง ลองผิดลองถูกจนไม่ต้องขอเงินจากทางบ้านอีกเลย

3.กว่าจะเป็น "แบร์ฮัก"

  • ออกจากเซฟโซนที่ไม่สบายใจ มันคือโอกาสพาชีวิตไปเจอสิ่งใหม่
  • ช่อง Sunbeary มีผู้ติดตามถึง 2 ล้านคน
  • กานต์ดูแลเรื่องคอนเทนต์(ครีเอทีฟ) ของทั้ง 2 ช่อง
  • ซารต์กลายเป็นที่รู้จักของเอเจนซี่ใหญ่
  • Sunbeary  ถือเป็น Top 5 Influencer ด้านการกิน
  • มีลูกค้าเข้ามา 4-5 ราย/เดือน
  • กานต์เข้าสู่ภาวะ Burn Out เพราะงานเยอะไป
  • Burn Out ภาวะที่คนเราทำงานเครียดจัดมากๆเป็นเวลานาน
  • ซารต์แฮปปี้จากการที่มีงานเข้ามารัวๆ
  • กานต์และซารต์ตัดสินใจรวมช่องกัน เป็น แบร์ฮัก Bearhug ในปี 2018
  • จากที่เคยขายงานได้ 100% กลับขายได้แค่ 10-20%
  • ทั้งคู่เรียนรู้ที่จะทำงานรวมกัน และพัฒนาตัวเอง
  • จนมีผู้ติดตามและรายได้มากกว่า สองช่องเก่ารวมกันอีกด้วย

4.How to be a YouTuber (ที่มีคนติดตามเป็นล้าน)

  • แบร์ฮักมีการเขียน Business Model มีการวางแผน วางตำแหน่งแชแนลของเราอย่างดี ไม่ต่างกับการบริหารหนึ่งธุรกิจเลย
  • ถ้าจะเริ่มทำอย่าเพิ่งจริงจังกับคำว่า ผู้ติดตามหลักล้าน
  • ความรักvsความหลงใหล ถ้าอยากทำอาชีพนี้จริงๆอย่าเอาแค่สิ่งที่รักมาทำ
  • ต้องรักการทำวิดีโอด้วย อัดวิดีโอ วางสตอรี่ ตัดต่อ เอนเตอร์คนดู ขายของ ฯลฯ
  • ต้องมีความหลงใหลในสิ่งที่ทำด้วย
  • ความเป็นตัวเอง ความไม่เป็นตัวเอง 
  • ความเป็นตัวเองที่เกินพอดีแต่ไม่ได้รับผิดชอบสังคม ได้ยอดวิวและเงินเยอะจริง
  • แต่สุดท้ายคุณจะรู้สึกว่ามันไม่ถูกต้อง แถมยังได้ฟีดแบ็กเชิงลบกลับมาด้วย
  • แต่กลับกันถ้าแสดงความเป็นตัวเองแค่ 50% เพื่อให้คนดูรู้จักในตัวตน และเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม จะทำให้เป็นที่รักของคนหมู่มาก และรู้จักกาลเทศะ
  • ปัจจัยหลัก คือ การเลือกแสดงอารมณ์ให้คนดูเห็น เลือกด้านที่เป็นประโยชน์ต่อคนดู โดยคงความเป็นธรรมชาติของเราไว้
  • วางกลยุทธ์ให้เหมือนธุรกิจ 
  • นั้นคือ Business Model คือชุดคำถามเกี่ยวกับการวางแผนธุรกิจที่เราต้องตอบให้ได้ เมื่อแรกเริ่มทำกิจการ ทั้ง 9 หัวข้อ
  • Parther ( Partner) หรือพาร์เนอร์ทางธุรกิจ
  • Activities หรือ กิจกรรม หรือการดำเนินงานที่เราต้องทำ
  • Resources หรือทรัพยากรที่เราต้องมี
  • Costs หรือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้
  • Value หรือ คุณค่าที่ลูกค้าจะได้จากสินค้าของเรา
  • Relations หรือ ความสัมพันธ์ที่เราจะมีกับลูกค้า
  • Channels หรือ เส้นทาง วิธีนำคุณค่าของสินค้าเราส่งต่อไปถึงลูกค้า
  • Customers หรือ กลุ่มลูกค้าของเรา
  • Revenues หรือ รายได้ที่เราจะได้จากธุรกิจนี้
  • เริ่มต้นให้ลองตอบแค่ 4 ข้อก่อน
  • คุณค่า Value เราให้คุณค่าอะไรกับคนดู อะไรที่ทำให้ต้องดูช่องเรา
  • ทรัพยากร Resources เรามีทรัพยากรอะไรที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร
  • คนดูของเราคือใคร Customer ทำออกมาให้ใครดู
  • รายได้ Revenue ยอดวิว สปอนเซอร์ การขายสินค้า ขายบริการ
  • คนดูคือหัวใจ คนที่ตัดสินใจติดตามเรา คือคนที่ผู้สร้างอย่างเราควรแคร์ที่สุด

5.ก้าวแรกบนเส้นทางของ "ยูทูบเบอร์" 

  • สิ่งที่หลายคนก้าวข้ามได้ยากมากๆ คือการทำความรู้จักกับยูทูบ
  • ต้องทำความรู้จักกับ ยูทูบ และโซเชียลอื่นๆ
  • นักทำวิดีโอ 
  • แบบที่ 1 ไม่อยากตัดเอง มีงานอื่น ไม่มีเวลาตัด 
  • จ้างทีมตัดต่อ ข้อดี ประหยัดเวลา 
  • รวดเร็ว ผลงานระดับมืออาชีพ ผลิตผลงานได้เนอะ ไม่ต้องลงทุนกล้อง
  • ข้อเสีย ต้องมีเงินทุนจ้างงาน หาคนที่เข้าใจสไตล์ตัวเองยาก ควบคุมยาก
  • แบบที่ 2 มีความรู้เรื่องการโปรดัคชั่นส์ หรือเรียนรู้โปรแกรมด้วยตัวเอง
  • ตัดต่อด้วยตัวเอง ข้อดี ลงทุนน้อย ได้ความรู้ติดตัว
  • สไตล์ถูกใจตัวเองแน่นอน ถ่ายทำสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องขึ้นกับคนอื่น
  • ติสต์แตกได้เต็มที่
  • ข้อเสีย ใช้เวลาศึกษา เก็บรอบบินนาน
  • อาจต้องลงทุนซื้อคอม กล้อง ไมค์เพิ่ม
  • ต้องใช้ความเพียร ความอดทน

6.กว่าจะออกมาเป็น 1 คลิป (แบบเจาะลึก)

  • การทำคลิปที่ตอบ why ได้จะทำให้สปอนเซอร์เข้าเยอะมากๆ
  • ทำไมต้องเป็นร้านนี้ ทำไมต้องเป็นผลิตภัณฑ์นี้
  • เทคนิคตัดต่อแบบแบร์ฮัก เบื้องหลังการทำงานแบร์ฮักจะให้ความสำคัญกับการตัดต่อเยอะมาก เติมนู้นตัดนี่คลอดเวลากว่าจะได้ดราฟค์ที่สมบูรณ์ที่สุด
  • ตัดต่อในยูทูปต่างจากทีวีตรงที่ ไม่ต้องเป๊ะ
  • ชื่อและปกคลิป ควรใช้ชื่อที่อ่านง่ายแล้วรู้ได้ว่าเข้ามาดูแล้วจะเจออะไร
  • ไอเดียของแบร์ฮักมาจากไหน 1. เกิดจากความฟุ้งซ่านของซารต์ 2.โอกาสที่เข้ามา

7.สิ่งที่แบร์ฮักทำ และจะไม่ทำเด็ดขาด!

ทั้งกานต์และซารต์ต่างคุยกันว่ามีอะไรที่ไม่ชอบ และอะไรที่ชอบ เพื่อตีกรอบการทำคอนเทนต์ให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น และที่สำคัญคือ จะไม่โกหก 
 

8.สารพัดปัญหาบนเส้นทางที่เรียกว่า "ยูทูบเบอร์"

  • นักเลงคีย์บอร์ดไม่ใช่ปัญหา ปัญหาคือตัวเราต่างหากที่ตอบโต้พวกเขา
  • จัดการง่ายๆคือ มองข้ามไป หรือ บล็อค 
  • ต้นทุนเรื่องหน้าตา หากไม่มั่นใจ ก็ถ่ายวิวมากกว่าคน ใช้เลนส์วาย อย่าจัดไฟ เน้นตัดต่อ
  • ว่าด้วยเรื่องความรู้ อยากรู้อะไรก็เสิร์ซ กูเกิล
  • การพัฒนาตัวเอง ไม่ว่าจะเจอเรื่ออะไรก็ ลองผิดลองถูก เรียนรู้เรื่อยมา

9.วิธีทำเงินจากยูทูบเบอร์

  • ทำไมยูทูบเบอร์ถึงไม่ทำคลิปบอกรายได้ตัวเอง
  • เพราะ มันไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย 
  • แถมยังทำให้โดนเปรียบเทียบและถูกตัดสินคุณค่าจากรายได้
  • รายได้ของแบร์ฮัก มีพอเก็บ เพื่อต่อยอดทำธุรกิจร้านของหวาน
  • ต้นทุนการเป็นยูทูปเบอร์นั่นน้อย แต่กำไรเยอะกว่าหลายๆกิจการ
  • เคล็ดลับเป็นยูทูบเบอร์ที่ได้ยอดวิวเยอะ 
    • คอนเทนต์ที่เกี่ยวกับความรัก
    • คอนเทนต์เกี่ยวกับความรวย
    • คอนเทนต์เกี่ยวกับความบันเทิง
    • คอนเทนต์เกี่ยวกับเด็ก
  • วิธีเป็นยูทูบเบอร์ที่สปอนเซอร์พร้อมเปย์
  • นั้นคือการ ตอบโจทย์ได้มากกว่า ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่า
  • ยูทูปเบอร์ที่หารายได้จากการขายสินค้า ส่วนมากจะเป็นคนที่เชี่ยวชาญในบางอย่าง และขายสินค้าเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญ

10.ในวันที่ชีวิตมีขึ้นมีลง รับมือยังไง จะไปต่อยังไง

  • เตรียมตัวรับมือ 
  • ยอดวิวน้อย ไม่มีคนดู ไม่มีรายได้ การสร้างฐานแฟนคลับที่เหนียวแน่นและกว่าจะได้รับเงินจากกูเกิลใช้เวลามากกว่า 3 เดือน ควรมีแผนสำรองไว้
  • ดราม่า รับมือกับดราม่าโดยการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น
  • หมดไอเดีย พกสมุดจดติดตัวเสมอ เพราะไอเดียสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
  • หลงทาง ให้นึกถึงเสมอว่า ทำวิดีโอเพื่ออะไร ทำไปทำไม 
  • ทีมงานไม่ได้ดั่งใจ วิธีแก้คือ หันหน้าคุยกัน หรือไม่ก็จบกัน

11.จากใจแบร์ฮักถึงแฟนคลับ

  • ขอบคุณทุกคนจริงๆ ที่อยู่เคียงข้างกันเรื่อยมาก
พิเศษ
  • Bearhouse ร้านชานม ซารต์ อยากเปิดแฟรนไชส์ ชานมไข่มุกของไต้หวัน
  • ตื้อจนทางเจ้าของแฟรนไชส์ยอมขาย มาสเตอร์แฟรนไชส์ให้
  • Master Franchise คือ การให้สัญญาว่า จะเป็นรายเดียวในไทย
  • ที่ได้สิทธิ์เปิดร้านชานมชื่อนี้ รวมถึงได้สูตรทั้งหมดของไต้หวัน
  • แต่เงื่อนไขที่กำกวมและต่อรองไม่ได้จึงได้ล้มเลิก 
  • และไปตามหาสูตรชานมไข่มุกถึงที่เชียงใหม่
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
501
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
355
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
353
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
351
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
339
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
336
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด