บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
5.1K
3 นาที
26 กรกฎาคม 2562
การศึกษาความเป็นไปได้ของการร่วมทุนเพื่อพัฒนาองค์กร
 

ภาพจาก https://pixabay.com

หลายๆ ที่เราได้แค่เรียนรู้ รับรู้ แต่ขาดการลงมือทำ นั้น คือ อุปสรรคในการเริ่มต้นการทำงาน บทความนี้ตัวผู้เขียนเองเริ่มต้นจากการลงมือทำก่อนที่จะได้รับรู้เรื่องวิธีการหรือทฤษฎีที่จำเป็นต้องรู้ หลังจากได้เข้าปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ในรั่วมหาลัย ปริญญาโท อีก ครั้ง ทำให้เราเข้าใจมิติและศาสตร์แห่งการบริหารองค์กรมากขึ้นอย่างเป็นลำดับขั้นตอน จึงอยากเก็บประสบการณ์ที่ทำงานด้านที่ปรึกษามาแบ่งปันกัน

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของโครงสร้างทางธุรกิจ
  2. เพื่อให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างความเป็นไปได้ทางเทคนิค การปฏิบัติงานเศรษฐศาสตร์ และกฎหมาย
  3. เพื่อให้รู้จักการบริหารโครงการโดยใช้ผังแกนท์ และ แผนภาพเพิร์ธ
  4. เพื่อให้สามารถเขียนผังแกนท์ และแผนภาพเพิร์ธ
  5. เพื่อให้สามารถวางแผนงานและควบคุมโครงการ
  6. เพื่อให้สามารถพิจารณาความคุ้มทุนในการพิจารณาโครงการ
การเข้าใจปัญหา (Problem Recognition)
 

ภาพจาก https://pixabay.com

วัฎจักรการพัฒนาระบบงาน ( System development Life Cycle : SDLC ) คือ ขั้นตอนหรือกระบวนการในการพัฒนาระบบงาน ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในการทํางานและจุดสิ้นสุดของการปฏิบัติงาน การพัฒนาจะประกอบไปด้วยกลุ่มกิจกรรม 3 ส่วนหลักๆ ด้วยกัน 
  • การวิเคราะห์ (Analysis) 
  • การออกแบบ (Design) 
  • การนำไปใช้ (Implementation)
 *** สำคัญอย่างมากที่ต้องนำตัวเข้าไปในงานแล้วจะเข้าใจปัญหาที่แท้จริง ***
 
สัญญาณบ่งชี้และแหล่งของปัญหา
  • สัญญาณที่บ่งบอกปัญหา 
  • แหล่งปัจจัยภายใน 
  • แหล่งปัจจัยภายนอก 
การกำหนดปัญหา (Problem Definition)


ภาพจาก https://pixabay.com
  • กำหนดหัวเรื่องของปัญหา (Subject) กำหนดว่าระบบที่กำลังจะศึกษามีปัญหาอะไร โดย SA ต้องแสดงส่วนที่ก่อปัญหา และที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล พร้อมนิยามปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน (แยกอาการกับปัญหา) เช่น พนักงานในองค์กรไม่สามารถทำงานต่างๆ ให้เสร็จหมดใน 1 วัน
  • กำหนดขอบเขตของการศึกษา (Scope) เป็นการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการศึกษา โดยกำหนดว่าจะศึกษาระบบเพียงใด จะทำการศึกษาในฝ่ายใดบ้าง กลุ่มบุคคลที่จะเก็บข้อมูลเป็นใครบ้าง เป็นต้น
  • กำหนดเป้าหมายของการศึกษา (Objectives) สิ่งที่ควรคำนึงถึงมีดังนี้
การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)


ภาพจาก https://pixabay.com

การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) หมายถึง การวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปว่าควรพัฒนาระบบงานหรือไม่ และควรพัฒนาด้านใด (บางงานในระบบเดิมอาจจะดีอยู่แล้ว) การศึกษาความเป็นไปได้มีอยู่ 4 ด้าน ดังนี้
 
1.ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค (Technical Feasibility) 

ความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค (Technical Feasibility) คือ ความเป็นไปได้ของการสร้างระบบใหม่ โดยนำเทคโนโลยีที่มีในระบบปัจจุบันมาใช้งาน หรือ การอัปเกรดเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือ ควรใช้เทคโนโลยีใหม่ทั้งหมด  เทคโนโลยี ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ต้องมั่นใจว่าเทคโนโลยีนั้นมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ ง่ายต่อการใช้ 
 
2.ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน (Operational Feasibility) 

ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน  (Operational Feasibility) คือ ความเป็นไปได้ของระบบใหม่ที่จะให้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงความต้องการของผู้ใช้ การคำนึงถึงทัศนคติและทักษะของผู้ใช้งานกับระบบใหม่ที่มีการปรับโครงสร้างการทำงานว่าเป็นที่พอใจและยอมรับหรือไม่ อาจศึกษาว่า ระบบใหม่สามารถเตรียมข้อมูลต่างๆ ให้กับบุคลากรในหน่วยงานได้ถูกต้องหรือไม่  ต้องตรวจสอบว่า  ระบบใหม่สามารถติดตั้งรวมกับการทำงานของระบบปัจจุบันได้หรือไม่  และจะใช้งานร่วมกันอย่างไร ในการติดตั้งระบบใหม่ งานใดบ้างที่ต้องปรับโครงสร้างการทำงานใหม่  หรืองานใดบ้างที่ต้องฝึกอบรมการทำงานใหม่
 
3.ความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ (Economical Feasibility) 

ความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐศาสตร์  (Economical Feasibility) คือ ความเป็นไปได้ในทางการเงินและเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ ความคุ้มค่าของระบบประมาณการจำนวนเงินที่ต้องใช้สำหรับการทำโครงการ อาจแยกเป็น  ค่าใช้จ่ายในการศึกษาระบบ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

รวมถึงการบำรุงรักษาระบบ ผลประโยชน์ที่จะได้รับในรูปแบบของการลดค่าใช้จ่ายค่าใช้จ่ายของระบบเดิมที่ยังไม่พัฒนา เทียบกับระบบที่กำลังจะพัฒนาค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร คือค่าจ้างแรงงานที่จะจ่ายหลังจากพัฒนาระบบเสร็จแล้วค่าใช้จ่ายด้านติดตั้งระบบ เช่น ค่าสถานที่ เฟอร์นิเจอร์ จัดทำข้อมูล จัดทำเอกสารแบบฟอร์มต่างๆ, ค่าอบรม เป็นต้น ค่าใช้จ่ายด้านการปฏิบัติงาน เช่น ค่าไฟฟ้า อาคารสถานที่ เป็นต้น
 
4.ความเป็นไปได้ทางด้านกฎหมาย (Legal Feasibility) 

ความเป็นไปได้ทางด้านกฎหมาย (Legal Feasibility) คือ ความเป็นไปได้ในด้านระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย ว่าระบบที่จะพัฒนานั้นต้องไม่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย และขององค์กรที่มีอยู่ 
 
การบริหารโครงการ (Project Management) 
 

ภาพจาก https://pixabay.com

โครงการ หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกัน มีหลายขั้นตอน แต่มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ต้องการให้โครงการเสร็จสมบูรณ์ ทั้งในเรื่องของเวลา งบประมาณ ทรัพยากรดังนั้นต้องมีการวางแผนกิจกรรม อาจอยู่ในรูปของตาราง จะใช้ แกนต์ชาร์ต (gantt chart) มาช่วยในการวางแผนและกำหนดเวลาในการทำงานของโครงการ จะเขียนในรูปกราฟของกิจกรรม โดยที่ แกน Y แทนกิจกรรมต่างๆ ที่มีในโครงการ แกน X แทนเวลาในการทำงานของแต่ละกิจกรรม
 
การควบคุมโครงการ
 
จะใช้ PERT Diagram (หรือ Program Evaluation and Review Technique) มาช่วยในการบริหารโครงการด้วยการวางแผน ควบคุม โดยเน้นด้านเวลาในการดำเนินโครงการ
  • Node   – ใช้แทนจุดเริ่มต้น/จุดสิ้นสุดกิจกรรม
  • เส้นตรง – ใช้แทนกิจกรรม
  • เส้นประ – ใช้แทนกิจกรรมสมมติ (Dummy Activity)
การประมาณต้นทุนและกำไร
ต้นทุน (Cost) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
  1. ต้นทุนที่แสดงให้เห็นเด่นชัด คือค่าใช้จ่ายที่สามารถประมาณการได้ เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายโดยตรงในการทำโครงการ เช่น ค่าเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ค่าจ้างพนักงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เวลาที่ SA ใช้ เวลาที่ Programmer และค่าเช่าสำนักงาน
  2. ต้นทุนที่ไม่สามารถแสดงให้เห็นเด่นชัด คือค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถระบุได้แน่นอน เช่น การสูญเสียระดับการแข่งขัน การสูญเสียความเป็นที่รู้จักในตอนแรกของการสร้างนวัตกรรมใหม่การตัดสินใจบางอย่างที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพออาจทำให้ไม่สามารถใช้สารสนเทศได้
กำไร (Benefit) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ


ภาพจาก https://pixabay.com
  1. กำไรที่สามารถแสดงให้เห็นเด่นชัด  คือ กำไรที่สามารถวัดค่า หรือตีค่าออกมาอย่างชัดเจน อาจตีค่าเป็นหน่วยเงิน จำนวนทรัพยากร หรือเวลา เช่น การเพิ่มความเร็วในการประมาณผล, ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล การช่วยให้พนักงานทำงานเสร็จโดยใช้เวลาน้อยลง การเพิ่มยอดการขาย, การเพิ่มอัตราการผลิต เป็นต้น
  2. กำไรที่ไม่สามารถแสดงให้เห็นเด่นชัด เป็นกำไรที่ไม่สามารถจะวัดค่าได้อย่างแน่นอน เช่น กำไรของการตัดสินใจที่ดีกว่าในการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้, กำไรที่ได้จากการทำให้ภาพพจน์ของธุรกิจดีขึ้น เป็นต้น
การพิจารณาความคุ้มค่าต่อการลงทุนพัฒนาโครงการ
 
ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในองค์การถือเป็นงานที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งหมายถึงต้องมีการลงทุนในระยะยาว เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในอนาคต ดังนั้นเงินทุนที่ได้ลงทุนไปจึงจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ว่า ประกอบด้วยต้นทุนอะไรบ้าง และความคุ้มค่าจากการลงทุนที่เกินจากการพัฒนาระบบใหม่ จะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้ลงทุนไปแล้วนานเท่าใด ต้องใช้ระยะเวลาเท่าใดในการคืนทุน เป็นต้นซึ่งมีวิธีการพิจารณาที่เป็นที่นิยมอยู่ 3 แบบ คือ
  1. การวิเคราะห์โดยพิจารณาจุดคุ้มทุน (Break-even analysis)
  2. การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน (Payback analysis)
  3. การวิเคราะห์มูลค่าของเงินปัจจุบัน (Present value analysis)
1.การวิเคราะห์โดยพิจารณาจุดคุ้มทุน (Break-even analysis) เป็นการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่ดำเนินการในระบบปัจจุบันกับค่าใช้จ่ายของโครงการใหม่ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าเมื่อระบบมีการเติบโตแล้วค่าใช้จ่ายก็ย่อมเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลตอบแทนต่อระบบใหม่ยังคงเดิม ซึ่งเงื่อนไขนี้อาจไม่เป็นจริงต่อระบบธุรกิจ แต่จะใกล้เคียงความเป็นจริงเมื่อเป็นระบบงานของรัฐเนื่องจากรัฐไม่มุ่งเน้นหากำไร
 
2.การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน (Payback analysis) วิธีนี้จะพิจารณาผลตอบแทนที่ได้รับกลับมาภายหลังจากการใช้งานระบบใหม่ 
 
3.การวิเคราะห์มูลค่าของเงินปัจจุบัน (Present value analysis) ค่าเงินในปัจจุบัน และอนาคตจะมีค่าไม่เท่ากัน เช่น เงิน 100 บาทในปัจจุบัน หากเวลาผ่านไป 5 ปี ค่าของเงิน 100 บาทก็จะลดลง


ภาพจาก https://pixabay.com
 
มูลค่าปัจจุบัน  = (กำไรปีที่ n)* (ปัจจัยส่วนลด)
ปัจจัยส่วนลด  = 1/ (1+r/100) n (เมื่อ r คืออัตราดอกเบี้ย)

จากตัวอย่างหลายๆหัวข้อ แม้จะออกเชิงวิชาการ แต่เข้าใจได้ไม่ยากนัก “ การพิจารณาความคุ้มค่าต่อการลงทุนพัฒนาโครงการ “ ต่างต้องอาศัยข้อมูล เพื่อนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ในธุรกิจหรือในอุตสาหกรรมของเราเอง เพื่อแสวงหาช่องทางหรือรูปแบบของเราในการแข่งขันในตลาดเดียวกัน

ติดตามบทความถัดไปที่จะหาเคสตัวอย่างมานำเสนอเพื่อนๆสมาชิกกันครับ


 
อาจารย์อ๊อด  น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
500
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
352
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
350
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
350
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
338
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
335
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด