บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    การสร้างความเป็นผู้นำ
3.6K
2 นาที
10 กรกฎาคม 2562
ความเป็นผู้นำกับภาวะผู้นำ ในธุรกิจ SMEs แฟรนไชส์


เมื่อวานได้รับเกียรติไปนั่งฟังบรรดารุ่นพี่ที่เก๋าด้านธุรกิจแฟรนไชส์ เบอร์ต้นๆของเมืองไทยในการสรรหาตำแหน่งนายกคนใหม่มานั่งเป็นผู้นำสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ หรือ FLA คนที่ 3 แม้เราจะเด็กสุด แต่ก็อยู่กับสมาคมมา 5 ปีแล้วครับ พอเข้าใจวัฒนธรรมของสมาคมอย่างดี ได้รับโอกาสดีๆจากรุ่นพี่ๆให้มาร่วมวงด้วยครับ

เราคุยกันเรื่องคุณสมบัติของผู้นำของผู้ที่จะมาเป็นนายก เราไม่ได้เอนเอียงกันเลย แต่เราจะทำอย่างไรให้ได้นายกที่เหมาะสมและเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนสมาคมให้ประโยชน์กับเพื่อนสมาชิกและสร้างความเชื่อถือให้กับธุรกิจแฟรนไชส์เมืองไทยดีขึ้น วันนี้จึงอยากจะนำเสนอเรื่อง “ ผู้นำ“ กันบ้างครับ


ความเป็นผู้นำกับภาวะผู้นำ ดูสั้นๆ ง่ายๆ ความหมายดี ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในทุกๆองค์กรผู้นำที่มีดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
  1. ความมุ่งมั่น (drive)
  2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ (Leadership Motivation)
  3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)
  4. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
  5. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)
  6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)
มาลองดูทฤษฎีของ Mintzberg’s Managerial Roles
1.Interpersonal การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร

  • Figurehead  เป็นหัวโขน : รับแขก แจกของ ร้องเพลง เปิดงาน ปิดงาน
  • Leader  เป็นผู้นำ  : จูงใจ ส่งเสริม พัฒนา ผู้ใต้บังคับบัญชา
  • Liaison เป็นผู้ประสานงาน : ทั้งภายในและภายนอกองค์การ
2.Informational การสื่อสารหรือข้อมูลในองค์กรด้านข้อมูลข่าวสาร
  • Monitor เป็นผู้รับข้อมูล : เก็บรวบรวมติดตามข้อมูลมั้งภายในและภายนอกองค์การ
  • Disseminator เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูล : ให้กับพนักงานและหน่วยงานต่างๆในองค์การ
  • Spokesperson เป็นผู้แถลงข่าว : เช่นนโยบาย แผนงาน ผลการดำเนินงานไปยังภายนอกองค์การ
3.Decisional (ด้านการตัดสินใจ)
  • Entrepreneur  เป็นผู้ประกอบการ : แสวงหาโอกาส ริเริ่มงานใหม่ๆ พิจารณาทบทวนงานปัจจุบัน
  • Disturbance Handler  เป็นผู้แก้ไขความขัดแย้ง : ทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์การ
  • Resource Allocation  เป็นผู้จัดสรรทรัพยากร : ให้กับหน่วยงานต่างๆภายในองค์การ
  • Negotiator เป็นผู้เจรจาต่อรอง : ในทุกระดับพนักงาน สหภาพ คู่สัญญา รวมทั้งกับองค์การอื่นๆ
4.Dimensions ทักษะที่ความมีครบถ้วนทุกมิติ เรามักจะแบ่ง Skills ออกเป็น 4 มิติ 
Conceptual Skills
  • ความสามารถในการใช้ข้อมูลข่าวสารแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ
  • ความสามารถในการมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่นำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ
  • การตระหนักในกรอบของปัญหาและความสามารถในการดำเนินการแก้ไข
  • ความสามารถในการกลั่นกรองและเลือกสรรข้อมูลที่สำคัญที่จะนำมาใช้
  • ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ
  • ความเข้าใจในการกำหนดรูปแบบธุรกิจขององค์การ
Communication skills

  • ความสามารถในการแปลงความคิดเห็นเป็นคำพูดและการกระทำ
  • ได้รับความเชื่อถือในหมู่เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา
  • มีความสามารถในการฟังและถามปัญหา
  • ความสามารถในการนำเสนอด้วยการพูดอย่างมีหลักการ
  • ความสามารถในการนำเสนอด้วยการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรและรูปภาพ
Effectiveness Skills
  • ช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อให้พันธะกิจและจุดมุ่งหมายของหน่วยงานบรรลุผล
  • กิจกรรมต่างๆมุ่งที่ลูกค้าเป็นสำคัญ
  • สามารถทำงานหลายอย่างพร้อมๆกัน
  • มีความสามารถในการตรวจสอบการปฏิบัติงานและปรับปรุงให้ดีขึ้น
  • กำหนดและรักษามาตรฐานการปฏิบัติงานทั้งภายในและภายนอกองค์การ
  • กำหนดกิจกรรมที่ควรทำก่อนหลังได้ถูกต้อง
  • รู้จักการบริหารเวลา
Interpersonal Skills
  • ความสามารถในการสอนและเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
  • สามารถทำงานร่วมกับผู้คนที่หลากหลายและแตกต่างวัฒนธรรม
  • มีเครือข่ายความสัมพันธ์กับผู้คนในองค์การ
  • สามารถทำงานเป็นทีม มีความผูกพันและความร่วมมือ
Why Study Management  ผู้บริหารทั้งหลายในทุกองค์การล้วนมีหน้าที่การจัดการเหมือนกัน วางแผน, จัดการองค์การ, การเป็นนำ การสร้างผู้นำ การสร้างผู้ตามหรือผู้ปฎิบัติงาน และสร้างระบบควบคุม มาจากวิชาการจัดการที่ผู้บริหารต้องเข้าใจกระบวนการทั้งองค์กร แต่ไม่จำเป็นต้องลึกมากก็ได้ เพราะผู้นำก็จะมีหน้าที่บริหารในส่วนงานที่ได้ออกแบบไว้แล้ว
ส่วนอำนาจการตัดสินใจก็ต้องมีลำดับกันอย่างชัดเจน
  • Organizational Culture and Environment เมื่อวานเรามีการพูดคุยกันถึงเรื่องวัฒนธรรมองค์การ และ สิ่งแวดล้อมองค์การเดิมกันก่อน การจะสร้างรูปแบบใหม่ๆเป็นสิ่งที่ดี แต่ผู้นำที่จะเข้ามาก็ต้องเข้าใจพื้นฐานเดิมขององค์กรนั้นๆให้ดีเสียก่อน มุมมองในอดีต สู่ ปัจจุบัน
Omnipotent View  : ผู้บริหารถูกมองว่ามีบทบาทต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์การ

Symbolic View :
ผู้บริหารเป็นเพียงสัญลักษณ์ขององค์การ เพราะปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอก ( ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ ) ที่กระทบต่อต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์การมากกว่าบทบาทของผู้บริหาร
 
Organizational Culture วัฒนธรรมองค์การ เป็นค่านิยม และ ความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ และใช้เป็นแนวทางกำหนดพฤติกรรมของคนในองค์การนั้น เปรียบได้กับ บุคลิกภาพ (Personality ) หรือ จิตวิญญาณ (Spirit) ขององค์การ

 
วัฒนธรรมองค์การ 7 ลักษณะ
  1. Attention to Detail เน้นให้พนักงานรู้จักศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียด
  2. Outcome Orientation มุ่งที่ผลงาน มากกว่าวิธีปฏิบัติ
  3. People Orientation   ให้ความสำคัญกับบุคลากรในการตัดสินใจต่างๆของผู้บริหาร
  4. Team Orientation มุ่งให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม มากกว่าตัวบุคคล
  5. Aggressiveness เน้นให้พนักงานคิดและทำงานในเชิงรุก มากกว่าออมชอม
  6. Stability เน้นรักษาความมั่นคงและสถานะภาพขององค์การ
  7. Innovation and Risk Taker เน้นส่งเสริมให้พนักงานคิดค้นสิ่งใหม่ๆ และกล้าเสี่ยง
เมื่อได้ผู้นำที่มีคุณสมบัติที่ดี การเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กรเป็นสิ่งที่ดี เป้าหมายที่จะไปก็สำคัญยิ่งนัก การเปลี่ยนก็จำเป็นที่ทุกองค์กรก็ต้องพร้อมที่จะปรับไปตามสังคมและเทคโนโลยรที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อพัฒนาและสร้างสังคมขององค์กรให้มั่นคงและเติบโตต่อไป

 
อาจารย์อ๊อด น้ำดี
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
500
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
352
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
350
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
350
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
338
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
335
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด