บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    โลจิสติกส์ ขนส่ง AEC
15K
2 นาที
30 เมษายน 2555
ความอยู่รอดของข้าวไทยภายใต้ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
 
ข้าว เป็นพืชอาหารหลักที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย และเป็นแหล่งรายได้หลักของชาวนาไทย กว่า 3.7 ล้านครัวเรือน จากจานวนครัวเรือนเกษตรทั้งสิ้น 5.6 ล้านครัวเรือน หรือร้อยละ 66.0 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมดของไทย อีกทั้งยังสร้างอาชีพให้แรงงานในภาคเกษตรได้กว่า 4 ล้านครัวเรือน
 
ปัจจุบันประเทศไทยสามารถเพาะปลูกข้าวได้ 31. 3 ล้านตันข้าวเปลือก ในปี 2552 2 ซึ่งคิดเป็นปริมาณผลผลิต ข้าวนาปี 401 กิโลกรัมต่อไร่ และข้าวนาปรัง3 687 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากนั้นข้าวเปลือกที่ผลิตได้จะถูกส่งไปยังตลาดกลางข้าวเปลือกหรือขายให้แก่ผู้รวบรวมข้าวในพื้นที่และพ่อค้าเร่จากพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อส่งต่อไปยังโรงสีข้าว ซึ่งผลผลิตข้าวสารของไทยในปี 255 2 พบว่ามีปริมาณ 19. 9 ล้านตัน ข้าวสารแบ่งเป็นการใช้ภายในประเทศ ในปี 2552 เท่ากับ 11.3 ล้านตันข้าวสาร และ การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าต่างๆ เช่น ไนจีเรีย สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ มาเลเซีย และฮ่องกง เป็นต้น

ในปี2552 เท่ากับ 8.6 ล้านตันข้าวสาร มูลค่า 170,000 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากที่เคยส่งออกได้203,219 ล้านบาทในปี 2551 คิดเป็นอัตรามูลค่าการส่งออกที่ลดลงในปี 2551-2552 เท่ากับร้อยละ 16.4 และหากพิจารณาสัดส่วนของมูลค่าการส่งออกข้าวของไทยในปี 25524 พบว่ามีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 30.8 ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตร และคิดเป็นร้อยละ 3.3 ของมูลค่าการส่งออกรวมทั้งหมด จึงถือได้ว่าข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญมากของไทย
 
นอกจากข้าวจะเป็นพืชหลักที่สำคัญของประเทศไทยแล้ว ข้าวยังเป็นพืชหลักของประเทศเพื่อนบ้านของไทยในอาเซียน และประเทศนอกอาเซียนอีกด้วย โดยประเทศในอาเซียนที่มีการผลิตข้าวได้ดี คือ พม่า เวียดนาม ลาว และกัมพูชา สาหรับประเทศนอกอาเซียนที่ผลิตข้าวได้ดี ได้แก่ อินเดีย และจีน เป็นต้น โดยในปัจจุบันประเทศเวียดนามได้ถูกกล่าวถึงว่าเป็นประเทศที่สามารถผลิตข้าวได้ปริมาณมากและมีตลาดส่งออกหลักเช่นเดียวกับไทย

ซึ่งอาจจะกลายเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทยในตลาดโลก ดังเห็นได้จากในปีเพาะปลูก 2551/52 เวียดนามสามารถผลิตข้าวสารได้ทั้งสิ้น 23.7 ล้านตัน (ตารางที่ 1 .1) ในขณะที่ไทยสามารถผลิตข้าวสารได้เพียง 19.4 ล้านตัน พม่าสามารถผลิตได้ 10.1 ล้านตัน กัมพูชาผลิตได้ 4.5 ล้านตัน และลาวผลิตได้ 1.8 ล้านตัน ส่วนประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์สามารถผลิตข้าวได้แต่ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ
 
เมื่อพิจารณาผลผลิตต่อไร่ของไทยเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว จะเห็นว่าเวียดนามมีผลผลิตต่อไร่สูงถึง 782.4 กิโลกรัมในขณะที่ไทยผลิตได้ 440.0 กิโลกรัมต่อไร่ พม่าผลิตได้ 417.6 กิโลกรัมต่อไร่ และลาวผลิตได้564.8 กิโลกรัมต่อไร่สาหรับนโยบาย ของสินค้าข้าว ของภาครัฐ บาลไทยและ ประเทศผู้ส่งออกข้าวที่ส่งเสริมและสนับสนุนภาคการผลิต และการค้า ข้าวของตนเองนั้นก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่นปัจจุบันไทยดำเนินนโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว และไม่ให้เกษตรกรต้องขาดทุน

รวมทั้งลดภาระค่าใช้จ่ายรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่า และไม่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาซื้อหรือเช่าที่ดินเพื่อทำนา ทั้งในรูปแบบส่วนบุคคลหรือนิติบุคคล ในขณะที่ประเทศเวียดนาม กัมพูชา พม่า และลาว ไม่มีนโยบายด้านราคา แต่มีมาตรการส่งเสริมให้ต่างชาติเข้ามาเช่าพื้นที่ทำนาในประเทศของตน อีกทั้งเวียดนามยังมีการดำเนินนโยบายด้านการผลิต อาทิ การรักษาพื้นที่เพาะปลูกข้าวให้อยู่ที่ 3.8ล้านเฮคแตร์ การหาวิธีลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ผลกาไรสูงขึ้น 2.5 เท่าและเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกร ส่วนนโนบายด้านการตลาดของเวียดนาม อาทิ กำหนดให้การส่งออกข้าวต้องมีการออกใบอนุญาตส่งออก โครงการสร้างเสถียรภาพตลาดข้าวในประเทศ5 เป็นต้น
 
จากข้อตกลงของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community: AEC) ที่กำหนดให้ในปี 2553 ประเทศในอาเซียนเดิม คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และบรูไน ต้องลดภาษีสินค้าเป็นศูนย์ และกำหนดให้ในปี 2558ประเทศในกลุ่ม CLMV ประกอบด้วย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว ต้องลดภาษีสินค้าเป็นศูนย์ ย่อมส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรของไทยทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งอาจก่อให้เกิดทั้งอุปสรรคและโอกาสให้กับประเทศไทย ประเด็นนี้ถือว่าเป็นความท้าทำยอย่างหนึ่งของประเทศไทย ว่าจะสามารถฉกฉวยโอกาสได้มากน้อยเพียงใด ในขณะเดียวกันก็ควรมีมาตรการรองรับ
 
การเปิดเสรีในครั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบด้านลบที่มีต่อชาวนา โรงสีข้าว ผู้ส่งออกข้าว และอุตสาหกรรมต้นน้าของการปลูกข้าวของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
 
อ้างอิงจาก    ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
555
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
512
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
394
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
388
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
375
ทุนจีน! รุกหนักย่านการค้า 40% เป็นของคนจีน
373
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด