บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    การหาตลาดใหม่ และขยายธุรกิจ
4.3K
1 นาที
24 เมษายน 2555

อานิสงส์ FTA ชีสไทยโกอินเตอร์
 

ผลิตภัณฑ์เนยแข็งหรือชีสเป็นสินค้าหนี่งในกลุ่มสินค้าเกษตรที่ไทยได้ตกลงจะทยอยลดภาษีนำเข้าให้กับผลิตภัณฑ์ชีสที่นำเข้าจากออสเตรเลีย จนเหลือ 0 ภายใน 15 ปี นับแต่ความตกลงการค้าเสรีไทย – ออสเตรเลีย มีผลบังคับใช้ คือเหลือ 0% ภายในปี 2563 และไทยยังสามารถเจรจาขอให้ออสเตรเลียยินยอมให้ไทยใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard : SSG) กับสินค้าอ่อนไหวหลายรายการรวมทั้งผลิตภัณฑ์ชีสด้วย ซึ่งมาตรการหนึ่งภายใต้ SSG คือการกำหนดปริมาณนำเข้าผลิตภัณฑ์ชีสในแต่ละปี ที่จะเรียกเก็บภาษีในอัตราหลังการลดภาษี (ตารางที่ 1) หากมีการนำเข้ามากกว่าปริมาณที่กำหนด ส่วนเกินจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราก่อนหน้าการปรับลดภาษีทันที ซึ่งอัตราภาษีก่อนลดคือประมาณ 30-33 %

ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ชีสภายใต้ FTA ไทย – ออสเตรเลีย ไทยได้เวลาในการปรับตัว 15 ปี ไทยสามารถเจรจาให้จีนจัดให้ผลิตภัณฑ์ชีสอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ต้องนำมาเร่งลดภาษี (Early Harvest) โดยจีนยินยอมเริ่มทยอยลดภาษีผลิตภัณฑ์ชีสตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 จนเหลือ 0% ในวันที่ 1 มกราคม 2549 ทำให้ไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ชีสไปยังจีนได้เป็นครั้งแรกในปี 2548 โดยมีมูลค่าส่งออกถึง 43,008 เหรียญสหรัฐ และใน 7 เดือนแรกของปี 2549 ไทยสามารถส่งออกชีสไปจีนมีมูลค่าถึง 141,820 เหรียญสหรัฐ (ตารางที่ 2) ทำให้จีนเป็นผู้นำเข้าชีสรายใหญ่ที่สุดของไทยแทนที่ฟิลิปปินส์ แต่อย่างไร

ก็ตาม คู่แข่งที่น่าจับตามองคือบราซิลและมาเลเซีย 


ประเทศไทยมีโรงงานผลิตชีสทั้งหมด 8 โรงงาน ผลิตชีสได้ปีละประมาณ 2,000 ตัน ส่วนความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ชีสในประเทศทั้งที่เป็นการบริโภคโดยตรง และเป็นวัตุดิบทางอุตสาหกรรมอาหาร มีรวมกันประมาณ 5,000 – 6,000 ตันต่อปี ทำให้ไทยต้องนำเข้าชีสจากต่างประเทศประมาณ 3,000 – 4,000 ตันต่อปี
 
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เข้าเยี่ยมชมกิจการของบริษัท ไมเนอร์ ชีส จำกัด อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชีสหรือเนยแข็งและไอศครีมรายใหญ่ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาดชีสภายใต้ FTA ไทย-ออสเตรเลีย แต่จากการรับฟังผลการดำเนินงานพบว่า  การที่ไทยได้มีเวลาสำหรับการปรับตัวอย่างเพียงพอ คือ 15 ปี ก่อนที่ภาษีจะค่อยๆ ทยอยลดเหลือ 0% ภายในปี 2563 และยังสามารถนำมาตรการ SSG มาใช้ ทำให้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมชีสของไทยมีไม่มากนัก  

นอกจากนี้ การที่จีนยอมลดภาษีเป็น 0% เมื่อมกราคม 2549 ทำให้บริษัทฯ สามารถขยายธุรกิจจากการผลิตชีสเพื่อขายภายในประเทศเป็นการจำหน่ายไปต่างประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียรวมทั้งจีนมากขึ้นเรื่อยๆ และปัจจุบันสามารถขยายบริษัทในเครือที่ใช้ชีสเป็นส่วนประกอบในการผลิตอาหาร  เช่น เดอะพิซซ่าคอมปานี ซิสเล่อร์ สเวนเซ่น เบเกอร์คิง เป็นต้น และได้รับการตอบรับจากการขยายแฟรนไชส์ของแบรนด์เหล่านี้ในประเทศจีนเป็นอย่างดี ซึ่งโรงงานกำลังศึกษาลู่ทางและวางแผนจะขยายสาขาไปยังเมืองต่างๆ ในจีน ให้มากขึ้นต่อไป

อ้างอิงจาก  การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
511
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
375
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
366
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
364
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
350
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
349
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด