บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    วางแผนขยายธุรกิจ    การหาตลาดใหม่ และขยายธุรกิจ
6.5K
2 นาที
24 เมษายน 2555
“นมและผลิตภัณฑ์นม” ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย และ,-นิวซีแลนด์
 
สินค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (Thailand-Australia Free Trade Agreement : TAFTA) ณ วันนี้ ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตน้ำนมดิบในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภคภายในประเทศ อันเนื่องจากอุตสาหกรรมโคนมของไทยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศประมาณ 20,000 ครัวเรือน หรือเพียงร้อยละ 1.1 ของจำนวนเกษตรกรทั้งหมดของประเทศ เท่านั้น ขณะที่มีความปริมาณความต้องการใช้ประมาณ 600,000 ตัน/ปี แต่สามารถผลิตในประเทศได้เพียงประมาณ 500,000 ตัน/ปี จึงจำเป็นต้องมีการนำเข้าประมาณ 100,000 ตันในแต่ละปี
 
ภายใต้กรอบของ TAFTA ประเทศไทยกำหนดให้สินค้านมและผลิตภัณฑ์เป็นสินค้าอ่อนไหวมาก สินค้านมที่อยู่ในโควตาภาษี (Tariff Quotas) ประกอบด้วยน้ำนมดิบและนมพร้อมดื่ม และนมผงขาดมันเนย ไทยเปิดโควตานมผงขาดมันเนยให้แก่ออสเตรเลียเป็นการเฉพาะ จำนวน 2,200 ตันในปี 2548 ซึ่งจำนวนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของ 15,000 ตันต่อปีที่ไทยต้องนำเข้าอยู่แล้วเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ แม้จำนวนโควตาจะเพิ่มขึ้นเป็น 3,500 ตันในปี 2563 และคงประมาณนี้จนถึงปี 2567 ก็ยังอยู่ภายใต้ความต้องการที่ไทยนำเข้าโดยปกติ
 
นมผงขาดมันเนยมีอัตราภาษีในโควตาไม่เกิน 20% ในปี 2548 โดยจะลดลง 1%  เท่าๆ กัน ต่อปี จนเหลือ 0% ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน 2548 ไทยนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมจากออสเตรเลียคิดเป็นมูลค่า 62.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (34.96%) สำหรับในปี 2549 มีโควตานำเข้านมผงขาดมันเนยจำนวน 2,200 ตัน
 
การเปิดเสรีการค้าในสินค้านมและผลิตภัณฑ์ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของไทย ภาระต้นทุนจะถูกลง และจะช่วยให้อุตสาหกรรมโคนมมีความตื่นตัวในการแข่งขันและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านคุณภาพ ทั้งในเรื่องความปลอดภัยของอาหารและสารอาหาร และในด้านต้นทุนการผลิตด้วย
 
รัฐบาลได้มีการมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินมาตรการรองรับเพื่อปรับตัวให้ได้ภายใน 15.20 ปี ซึ่งปัจจุบันได้มีการดำเนินการในหลายรูปแบบ อาทิ การส่งเสริมพันธุ์โคนม การแจกจ่ายวัคซีนป้องกันโรคปากเปื่อยเท่าเปื่อย และการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น
 
สินค้าภายใต้ความตกลงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดไทย-นิวซีแลนด์ (Thailand-New Zealand Closer Economic Partnership : TNZCEP)
 
ผู้บริโภคและผู้ผลิตสินค้านมและผลิตภัณฑ์ ในประเทศไทยรวมไปถึงผู้ส่งออกของนิวซีแลนด์ต่างได้รับประโยชน์จากการค้าสินค้ากลุ่มนี้ด้วยกัน การนำเข้านมพร่องมันเนย และนมผงเป็นส่วนสำคัญที่ชดเชยการที่ประเทศไทยไม่สามารถผลิตสินค้ากลุ่มนี้ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการทั้งการบริโภค และการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ซึ่งถึงแม้ว่าการผลิตน้ำนมดิบของไทยจะเพิ่มขึ้นกว่าครึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมา ผลผลิตที่ได้ยังคงตอบสนองของความต้องการน้ำนมภายในประเทศได้เพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น
 
หากมองดูแล้ว นิวซีแลนด์ ก็เป็นประเทศที่ส่งออกนมให้แก่ไทยอย่างสม่ำเสมอ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยการส่งออกคงอยู่ในระดับเดิมตั้งแต่ปี 1998 แต่ก็มากกว่าออสเตรเลียซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในตลาดต่างประเทศ และนิวซีแลนด์ยังเป็นประเทศหลักที่ขายสูตรนมสำหรับเด็กให้กับประเทศไทย ถึงแม้ว่าออสเตรเลียจะเป็นประเทศหลักในการขายปลีกสินค้าดังกล่าว

ในขณะนี้ประเทศไทยเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 11 ของนิวซีแลนด์ โดยนำเข้าประมาณ ร้อยละ 6 ของการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของนิวซีแลนด์ นมผงส่วนใหญ่ที่ไทยนำเข้าจากนิวซีแลนด์นั้นนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ซึ่งความต้องการของส่วนผสมที่มีคุณภาพดีของไทยเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่รัฐบาลมียุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร

ดังนั้นการลดข้อจำกัดการนำเข้าต่อสินค้าประเภทนมจะทำให้อุตสาหกรรมกลุ่มนี้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นและได้รับประโยชน์จาการลดลวของต้นทุนการผลิต การที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปจะเป็นพื้นฐานในการที่จะมีการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น
 
การส่งออกของนิวซีแลนด์ที่เน้นหนักไปที่การขายนมผงให้แก่กลลุ่มอุตสาหกรรมอาหารของไทยนั้นแตกต่างไปจากการลผิตนมภายในประเทศที่เป้ฯการผลิตน้ำนมให้แก่ผู้บริโภคภายในประเทศและโครงการนมโรงเรียน ซึ่งความแตกต่างนี้เมื่อรวมกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดวัตถุดิบที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 จะทำให้ผู้ผลิตทั้งไทยและนิวซีแลนด์สามารถขยายโอกาสให้กับสินค้าตัวเองมากขึ้น เนื่องจากมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน
 
ภายใต้ความตกลงฯ ที่ประเทศไทยได้กำหนดปริมาณการนำเข้านมพร้อมดื่มให้แก่นิวซีแลนด์เป็นการเฉพาะ (Specific Quota) นอกเหนือจากที่กำหนดให้สมาชิก WTO โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณที่ไทยผูกพันไว้ภายใต้ WTO ปี 2547 แต่สำหรับนมผงขาดมันเนยซึ่งเป็นสินค้าอ่อนไหวมากของไทยจะไม่มีการเปิดโควตาเพิ่มเติมให้แต่อย่างใดในช่วงเวลา 20 ปี ก่อนการเปิดเสรี
 
สินค้านมและผลิตภัณฑ์ทีมีมาตการปกป้องพิเศษของไทย ได้แก่ นมและครีม หางนม เนย ไขมัน นม เนยแข็ง (สด ผง แปรรูป และไม่แปรรูป) บัตเตอร์มิลค์ โดยหากมีการนำเข้าจริงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในปีนั้น หรือทีเรียกว่า Trigger Volume ไทยสามารถกลับไปเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นได้ โดยสใช้อัตราภาษีก่อนเริ่มลดหรืออัตรา MFN ที่ใช้อยู่ ในอัตราใดอัตราหนึ่งที่ต่ำกว่าจนกระทั่งถึงปี 2558 และ 2563
 
ไทยนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นมจากนิวซีแลนด์นับตั้งแต่ความตกลงฯมีผลใช้บังคับ (1 ก.ค.48) ถึงเดือนพฤศจิกายน 2548 คิดเป็นมูลค่า 43.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (23.5%) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจของไทยเน้นในด้านอุตสาหกรรม และคนส่วนใหญ่ในชนบทยังคงเกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรมอยู่
 
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ไทยต้องระมัดระวังในการเปิดเสรีที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและคนงาน โดยมีภาษีนำเข้าที่สูงและมีการกำหนดปริมาณการนำเข้าในผลิตภัณฑ์นมเพื่อสนับสนุนการผลิตในประเทศ อย่างไรก็ดี แนวโน้มของโลกในการเปิดการค้าเสรีทำให้ท่าทีของไทยมีการลดข้อกีดกันทางการค้าควบคู่ไปกับการติดตามเฝ้าระวังและการปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับผลกระทบ

อ้างอิงจาก    การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
511
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
375
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
366
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
364
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
350
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
349
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด