บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การบริหารจัดการองค์กร    สร้างความสมดุลของชีวิตกับการทำงาน
4.2K
2 นาที
9 กรกฎาคม 2558
ประโยชน์ของธุรกิจขนาดย่อมที่เถ้าแก่ต้องรู้

ประโยชน์ของธุรกิจขนาดย่อม

1.การสร้างงานใหม่ ธุรกิจขนาดย่อมจะเป็นธุรกิจที่สร้างงานใหม่เพราะ เป็นการริเริ่มจากความคิดสร้างสรรค์ทำธุรกิจของผู้ประกอบการ จึงถือได้ว่าเป็นโอกาสสำหรับตลาดแรงงาน เช่น ในปี พ.ศ. 2540-42 ประเทศไทยได้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่ต้องลดปริมาณแรงงานลง(Down  Sizing)โดยการให้คนงานออกจากงาน คนที่ว่างงานมักจะหันมาเริ่มต้นธุรกิจขนาดย่อมได้ง่ายและธุรกิจขนาดย่อมนั้นสามารถเติบโตเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้ต่อไป

สำหรับธุรกิจขนาดย่อมสามารถสร้างงานใหม่ได้ คือ การลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ หรือ การขยายธุรกิจเดิมส่งเสริมการมีงานทำ และช่วยทำให้มาตรฐานการดำรงชีวิตของผู้คนในสังคมสูงขึ้นเพราะในการดำเนินการธุรกิจนั้น จำเป็นต้องมีการจ้างบุคคลเข้าทำงาน อันก่อให้เกิดรายได้ เกิดอำนาจซื้อ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ทำให้มีรายได้นำไปซื้อปัจจัย 4 ที่มีคุณภาพมาตรฐาน

ซึ่งมีผลดีต่อความเป็นชีวิตของตัวผู้ประกอบการเอง ส่งผลให้ผลดีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง  พัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น และมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นด้วยและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน( Quality  of  Working  life)     

2. การสร้างนวัตกรรม หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่กล่าวนี้ มักจะมีจุดเริ่มต้นจากการวิจัยตลาดหาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ตลอดจน   การค้นคว้าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพแก่ลูกค้าซึ่งมีส่วนช่วยเหลืออย่างมีคุณค่าให้เกิดขึ้นกับมาตรฐานและคุณภาพชีวิตของประชาชน

โดยที่แผนกวิจัยของธุรกิจขนาดใหญ่มุ่งเน้นปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้มีคุณภาพตามความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค การศึกษาถึงนวัตกรรมแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว จะต้องอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับค่านิยม ทัศนคติ พฤติกรรมของลูกค้าจากของธุรกิจขนาดย่อมในการทำงานวิจัย  ช่วยให้เกิดการพัฒนาทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยี สินค้า และบริการใหม่ ๆ ที่ให้ความสะดวกความสบาย ความพอใจแก่ผู้บริโภคได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น

เพราะธุรกิจมีการแข่งขัน และพยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นผู้นำทางด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในด้านการผลิต ธุรกิจขนาดย่อมจะช่วยกระตุ้นการแข่งขันในตลาดและช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่

3. สร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารธุรกิจ  เป็นพื้นฐานการศึกษาวิชาที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ  ผู้ที่เริ่มประกอบธุรกิจสามารถเรียนรู้จากการประกอบการของธุรกิจขนาดย่อม  เป็นแหล่งในการฝึกทักษะ  สร้างความเชี่ยวชาญ  การลองผิดลองถูกเพื่อสร้างธุรกิจขนาดใหญ่ได้ต่อไปในอนาคต

4. ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า  การเพิ่มการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เป็นสถานการณ์ซึ่งธุรกิจมีการแข่งขันด้านการขาย ถ้ามีผู้ผลิตที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่เพียงไม่กี่บริษัท บริษัทขนาดใหญ่เหล่านั้นมีอำนาจการต่อรองสูง  ผูกขาดด้านราคา  ไม่มีการสร้างนวัตกรรมใหม่

แต่ถ้าหากมีธุรกิจขนาดย่อมเข้ามาแข่งขันด้วยจะทำให้การแข่งขันด้านราคาลดลง  ตลอดจนมีการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมาตรฐานของสินค้าการบริการ ซึ่งเป็นการเพิ่มมาตรฐานการครองชีพให้แก่ประชาชนได้ เพราะเมื่อมีการลงทุนเพื่อธุรกิจอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดรายได้แก่สังคมในรูปต่าง ๆ ทำให้รายได้ประชาชาติสูงขึ้น ซึ่งมีผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ และเมื่อธุรกิจได้ชำระภาษีให้กับรัฐ รัฐก็นำไปใช้ในการสร้างสาธารณูปโภคเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน

5. ช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่ให้ผลิตสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  อาจกล่าวได้ว่าหน้าที่บางอย่าง ธุรกิจขนาดย่อมมักจะทำได้ดีกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ อีกทั้งธุรกิจขนาดใหญ่นั้นอาจไม่สามารถทำหน้าที่ได้ครบทุกประการเพราะไม่เกิดความคล่องตัว เช่นการผลิตตามความต้องการของผู้บริโภค จัดจำหน่ายและกิจกรรมต่างๆ จึงต้องมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบบางประการให้กับธุรกิจขนาดย่อม เช่นหน้าที่ในการจัดจำหน่าย การค้าส่งหรือค้าปลีก เป็นต้น

ทั้งนี้เพราะธุรกิจขนาดย่อมมีความคล่องตัวสูง สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดย่อมเป็นหน่วยย่อยของระบบเศรษฐกิจจะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ เพราะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับเงินตรา การทำธุรกรรม 

ส่วนประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของธุรกิจขนาดย่อมจะเหมือนกับธุรกิจขนาดใหญ่คือ สร้างรายได้ให้กับชุมชนและประเทศ   การคิดค้นนวัตกรรม กระตุ้นการแข่งขัน  ส่งเสริมสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนผลิตสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพ

6.สนับสนุนด้านประสิทธิภาพและคุณภาพ ธุรกิจขนาดใหญ่บางธุรกิจที่ลูกค้าต้องการคุณภาพ ธุรกิจขนาดย่อมมีสามารถในการช่วยเหลือเรื่องประสิทธิภาพของงาน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องอาศัยความประณีตและใช้ฝีมืออันก่อให้เกิดคุณภาพเป็นที่ต้องการของลูกค้า ธุรกิจขนาดย่อมจะทำได้ดีกว่ามีคุณภาพมากกว่า และถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบการ เช่น  การจ้างผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคของห้างสรรพสินค้า

7. การกระจายการพัฒนาประเทศ ธุรกิจขนาดย่อมมักจะมีการจัดตั้งกระจัดกระจายกันไปตามชุมชนต่างๆ จึงมีบทบาทในการส่งเสริมการกระจายความเจริญเติบโตของท้องถิ่น ทั้งยังนำไปสู่การผลิตสินค้าพื้นบ้าน หรือสินค้าประเภทหัตถกรรมของชุมชนได้ด้วย

8. การเพิ่มการระดมทุน ธุรกิจขนาดย่อมเป็นการรวบรวมเงินทุนทั้งที่เป็นของผู้ประกอบการและญาติมิตร ตลอดจนสถาบันการที่คอย  ส่งเสริม  สนับสนุน  มาก่อให้เกิดประโยชน์ในทางธุรกิจ จึงเป็นจุดเริ่มในการระดมทุน และเพิ่มความสามารถในการผลิตของประเทศด้วย

9. ธุรกิจขนาดย่อมช่วยส่งเสริมและรักษาประเพณี และวัฒนธรรมของสังคมให้คงอยู่  เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว ทำให้มีการฟื้นฟูประเพณี และวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น เช่น ประเพณีผูกเสี่ยวที่จังหวัดขอนแก่น ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งชมดวงอาทิตย์ผ่านหน้าบรรพ์ประตูที่จังหวัดบุรีรัมย์ การแสดงนาฏศิลป์ที่คุ้มศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดต่างๆเป็นต้น

นอกจากนี้ร้านขายของที่ระลึกตามโบราณสถานสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นได้อีกด้วย

อ้างอิงจาก  tpa.or.th
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
Anchor text คืออะไร สำคัญยังไงกับการทำ SEO
504
Joe Wings ไก่ทอดไทย น้องใหม่โอ้กะจู๋ ลุยตลาด 3 ห..
360
Trung Nguyen Legend กาแฟท้องถิ่นเวียดนาม ชนะสตาร..
356
เจ้าของ สุคิยะ บริษัทเชนร้านอาหาร ใหญ่สุดในญี่ปุ..
356
กลยุทธ์ "ชาสามม้า" ตำนานน้ำชา 88 ปี ที่หลายคนเคย..
345
หลังบ้านของธุรกิจร้านอาหารที่โตไว มีอะไรซ่อนอยู่!
340
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด