หน่วยงาน    สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจ | Business Organization
11K
2
สมาคมต่อเรือและซ๋อมเรือไทย
SMEs
องค์กร สมาคมต่อเรือและซ๋อมเรือไทย 
Organization THAI SHIPBUILDING AND REPAIRING ASSOCIATION
รายละเอียด
 อุตสาหกรรมต่อเรือในประเทศไทยมีความเจริญมาแล้วไม่แพ้ประเทศอื่นในเอเชียเพราะประเทศอุดมสมบูรณไปด้วยไม้พันธุ์
พันธุ์ไม้หลายชนิดที่เหมาะแก่การต่อเรือดังนั้นจึงปรากฎว่ามีการต่อเรือรบและเรือสินค้าไทยมาตั้งแต่โบราณเรือเดินสมุทรที่ต่อระยะ
แรกส่วนใหญ่เป็นเรืสำเภาแบบจีน (Junk) โดยมีผู้ควบคุมต่อเรือเป็นชาวจีน ส่วนช่างลูกมือเป็นคนไทย
การต่อเรือในสมัยอยุธยา
     การต่อเรือกำปั่นแบบฝรั่งเริ่มในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถโดยได้ทรงขอให้ประเทศฮอลันดาส่งช่าง
ต่อเรือ และเครื่องมือเครื่องใช้มายังประเทศไทย
• เพื่อต่อเรือกำปั่นอย่างฝรั่งขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ และได้เริ่มมี การเรือกำปั่นแบบฝรั่งแบบ 2 เสา (Brig) และ 3 เสา เมื่อ 1 กันยายน พุทธศักราช 2151 และอุตสาหกรรมต่อเรือได้เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาจน
ถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้มีหลักฐานว่า ได้้มีการต่อเรือกำปั่น แบบฝรั่งที่กรุงศรีอยุธยาและที่ี่เมืองมะริดโดยจดหมายเหตุของบาท
หลวงเดอชัวรีกล่าวไว้ว่า“พระเจ้ากรุงสยามทรงมีพระราชดำริสร้างเรือ
กำปั่นแบบฝรั่ง มีกำปั่น กว้านเอาลงน้ำเมื่อเร็ว ๆ นี้ 3 ลำ”
 
     สมัยกรุงศรีอยุธยานับเป็นยุคที่อุตสาหกรรมต่อเรือของไทยเจริญรุ่งเรืองมีการต่อเรือเดินสมุทรทั้งสำเภาแบบจีน และกำปั่นแบบ
ฝรั่งเพื่อใช้เป็นเรือหลวงซึ่งเป็นเรือค้าขายด้วยและมีหลักฐานว่ามีการจัดตั้งโรงต่อเรือสินค้าเพื่อส่งออกไปยังขายยังต่างประเทศนับ
ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ทำใ้ห้เราได้ดีมาสู่ประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
การต่อเรือในสมัยกรุงธนบุรี
   
 ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีการใช้ประโยชน์จากเรืออย่างจริงจังในราชการสงคราม โดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรให้ต่อเรือ
สำเภาแต่ขนาดย่อมกว่าที่ใช้แล่นในทะเลบรรทุกทหารไปตามแม่น้ำจนสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าได้
การต่อเรือในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
   
  สมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยได้ติดต่อค้าขายกับประเทศอื่นมากที่สุด โดยใช้เรือสำเภาแบบ
จีน ซึ่งส่วนใหญ่ต่อที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2361 คนไทยมีขีดความสามารถต่อเรือขนาดใหญ่ 1,000 ตัน ได้ถึงปีละ 6 – 8 ลำ ในรัชสมัยพระบาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มยุคเรือกลไฟโดยตัวเรือต่อด้วยไม้ และเครื่องจักรไอน้ำส่งจากต่างประเทศ มาติดตั้งผู้ที่มี
ชื่อเสียงในการต่อเรือในสมัยนั้นมักจะเป็นขุนนางในตระกูลบุนนาค โดยมีที่ปรึกษาเป็นชาวต่างประเทศ
อู่เรือในยุคแรกอู่เรือที่ต่อเรือในสมัยรัตนโกสินทร์
อู่ของทหารเรือตรงข้ามท่าราชวรดิษฐ์บริเวณด้านใต้วัดระฆังโฆษิตา
รามซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ 
วันที่ 9 มกราคม 2433ปัจจุบันคือ ที่ตั้งของกรมอู่ทหารเรือ
อู่ของข้าราชการ ได้แก่อู่ที่บ้านสมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
อู่ของบริษัทเอกชนได้แก่ Bangkok Dock ปัจจุบันคือ อู่กรุงเทพ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกองทัพเรือ
ผลงานการต่อเรือในอดีต
 เรือกลไฟลำแรก ต่อเมื่อ พ.ศ. 2308 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเรือตัวเป็นไม้ยาว 75 ฟุต กว้าง 20 ฟุต เครื่องจักร 15 แรงม้า
 เรือรบลำแรก ต่อเมื่อ พ.ศ. 2441 โดยรมอู่ทหารเรือ ตัวเรือทำด้วย ไม้โครงเหล็กเป็นเรือยาว 113 ฟุต กว้าง 16 ฟุต ระวางขับน้ำ 200 ตัน เครื่องจักร 171 แรงม้า ความเร็ว 7 นอต
 เรือรบชุดแรก 4 ลำ เมื่อ พ.ศ. 2470 เป็นเรือยนต์ตอร์ปิโด ( Coastal Motor Torpedo Boat ) ต่อด้วยไม้ยาว 17 เมตร ความเร็ว40นอตเรือรบตัวเรือเหล็กลำแรกต่อขึ้นที่กรมอู่ทหารเรือเมื่อ พ.ศ. 2499 เป็นเรือตอร์ปิโดเล็ก ขนาดระวางขับน้ำ 140 ตัน ยาว 42.3 เมตร กว้าง 4.6 เมตร ความเร็ว 18 นอต รัศมีทำการ 360 ไมล์
 
ที่ตั้ง 96/67-68 ชั้น 3 หมู่ 9 ซอย 30 (ธนบุรี-ปากท่อ) ถนน พระราม 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 0-2452-1266, 0-2840-2110
โทรสาร 0-2452-1267
อีเมล์ thaiship_tsba@yahoo.com
เว็บไซต์
ข้อมูล ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2557
โหวต
ระดับความนิยม
ผลโหวตรวม 2 คะแนน
มีผู้เข้าชม 10,945 ครั้ง
มีผู้ขอข้อมูล 0 คน
หน่วยงาน ที่ไม่รับรอง
Contact Information  
ชื่อผู้ติดต่อ
 *
โทรศัพท์
 *
e-mail
 *
รายละเอียด
Location to Invest
*
ติดต่อหน่วยงาน
หน่วยงานสนับสนุนที่น่าสนใจ