หน้าอินโฟกราฟฟิค    บทความ    สูตรคิดคำนวณ GP Food Delivery
1.8K
20 มีนาคม 2567
สูตรคิดคำนวณ GP Food Delivery
 
ปี 2567 ตลาด Food Delivery คาดว่า มูลค่าประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท หดตัว 1% จากปี 66 ยอดซื้ออาหาร/บิลเฉลี่ย 2.8% หรือ 185 บาท
 
คาดว่าค่าอาหาร  เพิ่มขึ้น 2.2%
 
Gross Profit (GP) ค่า GP ของแต่ละค่าย คือ ค่าคอมมิชชัน ที่ร้านค้าต้องจ่ายให้กับแอปพลิเคชันนั้นๆโดยหักจากราคาอาหารที่ขายได้
 
ค่า GP ของแต่ละค่าย
  • Grab ค่า GP 30%
  • Foodpanda ค่า GP 32%
  • LINE MAN ค่า GP 30%
  • Robinhood Robinhood* ไม่หักค่า GP
  • ShopeeFood Shopee Food ค่า GP 30%
*เป็นพาร์ทเนอร์ เก็บค่าส่งได้ LS 8%
**ทั้งหมดนี้ยังไม่รวม VAT 7%
 
Logistic Subsidy (LS) คือ ส่วนลดค่าส่ง หรือส่วนลดค่าอาหารจากทางร้านค้า ที่เข้าร่วมรายการกับทาง Robinhood

วิธีคำนวณค่า GP

สมมุติว่าค่าอาหาร 100 บาท
หักค่า GP 30%  30 บาท
บวก VAT 7% จากค่า GP  2.1 บาท
สรุป ต้นทุนใช้บริการ = 32.1 บาท
 
ค่า GP ส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 30-32% และส่วนมากยังไม่รวม VAT 7% ถ้าเรารู้ต้นทุนที่ชัดเจน ก็สามารถนำไปคำนวัณตั้งราคาขายได้แบบไม่ขาดทุน
 
สูตรที่ 1

คำนวณแบบมาตรฐาน
 
ตัวอย่าง | ราคาหน้าร้าน 40 บาท
 
40 * (100 -32.1%)x 100
 
= 40 - (67.9x100)
 
ราคาเดลิเวอรี่ = 58.9
 
สูตรนี้ค่อนข้างยาก ส่วนใหญ่ไม่นิยมใช้สูตรนี้คำนวณ
 
สูตรที่ 2

คำนวณแบบใช้เครื่องคิดเลข
 
ตัวอย่าง | ราคาหน้าร้าน 40 บาท
  • ราคาหน้าร้าน 40 บาท
  • หักค่า GP 30% (40x30%) 12 บาท
  • บวก VAT 7% (12x7%) 0.84 บาท
  • รวม GP+VAT (12+0.84) 12.84 บาท
  • ราคาเดลิเวอรี่ (40+12.84) = 52.84 บาท
เป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด ราคาที่คำนวณ สามารถปัดขึ้นได้ เพื่อเป็นกำไรของแต่ละร้าน
 
สูตรที่ 3
 
คำนวณด้วย "ตัวคูณ"
 
ตัวอย่าง | ราคาหน้าร้าน 40 บาท
 
ราคาหน้าร้าน x 1.48 , 1.5 , 1.48 , 1.2 , 1.7
 
ราคาหน้าร้าน x ราคาเดลิเวอรี่
 
เช่น 40 x 1.48 = 59.2 ปัดราคาขึ้นได้
 
เป็นสูตรลัดที่คำนวณเพื่อให้ได้ร้าคาขายอย่างคร่าวๆ
 
ข้อมูล ณ วันที่ 18 มี.ค. 2567 
 
อินโฟกราฟฟิคที่น่าสนใจอื่นๆ