3.0K
29 ตุลาคม 2549
" ทำเลทอง 'สิงคโปร์' โอกาสแฟรนไชส์ไทยสู่โลก"



เท่ากับว่าสิงคโปร์เป็นที่รู้จักของนานาชาติทั่วโลก ดังนั้นการเข้าไปทำธุรกิจในแหล่งที่เป็นสายตาโลก เท่ากับเปิดตัวเองหรือประตูให้ชาวโลกได้รู้จัก หรือเป็นการแนะนำธุรกิจของคนไทยที่เข้าไปลงทุนให้รู้จัก และเกิดการขยายไปยังประเทศอื่นๆ โดยมีทำเลที่สิงคโปร์ในการสร้างร้านต้นแบบ ธุรกิจต้นแบบให้เกิดขึ้น นับเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยสู่โลก

ซึ่งจะเห็นได้ว่าสาขาแฟรนไชส์แต่ละรายในสิงคโปร์มีอยู่ประมาณ 10-30 สาขาเท่านั้น ดังนั้นนโยบายการผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์สิงคโปร์ก็ออกไป โตในต่างประเทศเช่นกัน เช่นเดียวกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะเข้าไปลงทุนก็ไม่จำเป็นที่ต้องมีสาขาที่มาก เพียงแต่ต้องมีร้านต้นแบบเพื่อโชว์ให้เห็นคอนเซ็ปต์ธุรกิจ 
 

 ขณะเดียวกันหากมองถึงโอกาสพื้นที่ในสิงคโปร์แล้ว จะพบว่ารัฐบาลได้ปรับพื้นที่บริเวณถนนออชาดซึ่งเป็นถนนสายเศรษฐกิจ เพื่อเกิดรีเทลชอปขึ้นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าให้ได้เป็น 2 เท่า

ส่วนโอกาสของธุรกิจไทยที่จะเข้าไปลงทุนนั้น เมื่อเทียบกับการลงทุนในสิงคโปร์แล้ว ปัจจุบันอันดับหนึ่งหรือกว่า 30% ยังเป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม รองลงมาคือธุรกิจค้าปลีก การศึกษาและธุรกิจบริการ จะเห็นว่าธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะเป็นธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ 

สอดคล้องกับข้อมูลของ Mr. Winston Lim Executive Director of BizLink Premium Services Pte Lid ผู้จัดงาน ‘Franchising & Lincensing Asia 2006' ที่สิงคโปร์ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 31 ต.ค.-2 ก.ย. นี้ว่า ชาวสิงคโปร์ว่า ชอบการชอปปิ้งและการรับประทานอาหารเป็นชีวิตจิตใจ ธุรกิจที่มีศักยภาพในสิงคโปร์ควรเป็นประเภทอาหาร เครื่องดื่ม หรือกลุ่มค้าปลีก บริการ ทั้งธุรกิจการศึกษา ฝึกอบรม ที่ปรึกษา สปา ซึ่งเป็นธุรกิจที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนสิงคโปร์ได้มากที่สุด

ขณะเดียวกัน การเข้าไปลงทุนยังสิงคโปร์นั้น ไม่มีระเบียบข้อบังคับที่ยุ่งยากฉะนั้นสามารถลงทุนได้เลย เมื่อเทียบกับการลงทุนที่มาเลเซียยุ่งยากกว่า เพราะต้องประกอบกิจการในประเทศนั้นมาไม่น้อยกว่า 3 ปี 
 

 

พีระพงษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในสิงคโปร์มี 350 ธุรกิจ ประสบผลสำเร็จ 67% 19% เป็นธุรกิจที่เกิดใหม่ และ 14% เป็นธุรกิจที่ล้มเหลว ซึ่งเปรียบเทียบแล้วยังไม่เข้มแข็งเท่าญี่ปุ่น เกาหลีและอเมริกา 

ถ้าเทียบจำนวนบริษัทแฟรนไชส์ต่อประชากร 1 แสนคน ในสิงคโปร์มีบริษัท 8.33 บริษัท ขณะที่ไทย 0.4-0.5 บริษัท ซึ่งเท่ากับว่าไทยสามารถขยายธุรกิจโตได้อีกกว่า 3 เท่า

ซึ่งปัจจุบันบริษัทแฟรนไชส์ในไทยมี 360 บริษัท คาดว่าในปี 2550-2551 จะมีบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 700 บริษัท

และสำหรับผู้ที่ต้องการไปลงทุนที่สิงคโปร์นั้น พีระพงษ์ เตือนว่า ถ้าจะไปลงทุนที่สิงคโปร์ ต้องมั่นใจว่าธุรกิจมีอะไรที่โดดเด่น คอนเซ็ปต์ธุรกิจเป็นอย่างไรและมีความแข็งแรงหรือยัง ถ้าเป็นธุรกิจอาหารควรมีจุดเด่นและสร้างความแตกต่าง ซึ่งถ้าเป็นอาหารไทยจุดเด่นคือความปราณีต แสดงออกถึงความเป็นไทยด้วยการดีไซน์หน้าตาอาหารให้ดี 

ขณะเดียวกันการมองหาพาร์ทเนอร์หรือคู่ค้าในการทำธุรกิจนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอย่ามองเพียงโลเคชั่นเพียงอย่างเดียว เพราะการทำธูรกิจในต่างประเทศ เจ้าของพื้นที่ในประเทศนั้นๆ จะรู้มากกว่าและเป็นการเกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

นอกจากนี้ควรมีการวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่แรก ด้านการร่วมทุนใน 3 ระยะ ระยะแรกจุดสำคัญคือการหาบริษัทที่ปรึกษา เพราะเรื่องการโอเปอเรชั่นต้องใช้ภาษาอังกฤษ
 

ซึ่งการหาพาร์ทเนอร์นั้น ในระยะแรกอาจจะหาพาร์ทเนอร์เป็นรายบุคคลเพื่อขยายในรูปแบบซิงเกิ้ลยูนิต เพราะตลาดสิงคโปร์เล็กทั้งพื้นที่และจำนวนประชากร 

ระยะกลาง หรือเวลาการลงทุนได้ 5 ปีแล้ว นั้นควรหาพาร์ทเนอร์ที่สามารถเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ได้ เพราะชาวสิงคโปร์มีความสามารถในการขยายธุรกิจในภูมิภาคทั้ง อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน และควรต้องสร้างแบรนด์ควบคู่กันไปด้วย

ระยะยาวหรือแผน 10 ปี ควรจัดตั้งบริษัทขึ้นที่สิงคโปร์ เพื่อเป็นศูนย์กลางของสำนักงานในการทำแผนการตลาดต่างๆ รวมถึงการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐของสิงคโปร์

แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังคือการเข้าใจข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งง่ายกว่าในหลายประเทศ เช่น จีน เพียงแต่เจ้าของกิจการต้องรักษามาตรฐาน เพราะผู้บริโภคชาวสิงคโปร์แข็งแรง และคาดหวังความเป็นมาตรฐานสากล ถ้าเมื่อไหร่แฟรนไชซอร์ไม่มีการสนับสนุน จะเกิดปัญหามากและเป็นการทำธุรกิจเพียงครั้งเดียว และต้องเข้าใจว่าตลาดต้องการอะไร ธุรกิจอะไรที่เหมาะสมที่จะเข้าไป 

จะเห็นได้ว่าที่สิงคโปร์จะมีฟูดส์คอร์ทอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นพื้นที่ของรัฐบาลให้เช่าในราคาไม่แพง ซึ่งการไปเช่าในพื้นที่ลักษณะ เป็นการสร้างร้านต้นแบบ ซึ่งแบล็คแคนยอนกาแฟแบรนด์ไทยก็ทำในรูปแบบนี้มาก่อน เพราะต้องสร้างแบรนด์ให้เกิดในสิงคโปร์ได้ก่อน

 

หลังเปิดโครงการ Mini MBA Franchise Management ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยศรีปทุม และสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการจำนวนมาก จึงเล็งเห็นความสำคัญของการตั้งแหล่งรวมความรู้และ พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยในธุรกิจแฟรนไชส์ขึ้นมา 

ทำให้เกิดการจัดตั้ง "ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล (IRF)" ขึ้นมา ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของมหาวิทยาลัย ดร.กมล ชัยวัฒน์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า เป็นบทบาทในการนำองค์ความรู้พร้อมบุคลากรมา สนับสนุนสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้น กับภาคธุรกิจเพราะปัจจุบันการทำธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น จะด้วยนโยบายการค้าเสรี ที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับคู่แข่งขันจากทั่วโลก ซึ่งศูนย์แห่งนี้จะพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันยกระดับ องค์ความรู้ผู้ประกอบการไทยเทียบชั้นสากล 
 


พีระพงษ์ กิตติเวชโภคาวัฒน์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฯ ขยายความถึงหน้าที่ของศูนย์ฯ แห่งนี้ว่า จะมีการจัดทำวิจัยหัวข้อธุรกิจทั้งการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค สนับสนุนการเกิดของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยอย่างยั่งยืน โดยศูนย์แหล่งนี้จะเป็นศูนย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแฟรนไชส์ รวมถึงการจัดอันดับแฟรนไชส์ดีเด่นและนักธุรกิจดีเด่นขึ้นเป็นประจำทุกปี

โดยศูนย์ฯ ได้นำอุปสรรคที่เกิดกับธุรกิจแฟรนไชส์มาพูดคุยเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการเร่งผลักดันกฏหมายแฟรนไชส์ การสนับสนุนด้านการเงิน เพื่อขยายการลงทุนทั้งในส่วนของการพัฒนาของแฟรนไชซอร์ เพื่อขยายวงเงินในการสร้างธุรกิจที่มีขนาดใหญ่พอที่จะขยายได้ต่อไปในอนาคต และความต้องการซื้อของแฟรนไชซี 

ล่าสุด ได้ประสานความร่วมมือกับสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ แบงก์ไทยพาณิชย์ เพื่อทำแพคเกจ กู้โดยไม่มีค้ำประกันโดยศูนย์ฯ จะเป็นตัวกลางในการซัพพอสผลการวิจัยที่เกิดขึ้นของธุรกิจ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับแบงก์พิจารณาในการปล่อยกู้ทั้งแฟรนไชซีและแฟรนไชซอร์

ทั้งนี้ ศูนย์ ฯได้เปิดอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจในหลายหลักสูตร อาทิ หลักสูตรบริหารแฟรนไชส์ และหลักสูตรบริหารธุรกิจค้าปลีก 
สนใจติดต่อ โทร. 0-2579-1111 ต่อ 2343




ที่มา : นสพ.ผู้จัดการ
ข้อมูลเพิ่มเติม : 
ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล (IRF)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
933
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
636
“เติมพลังความรู้” กับ ..
591
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
562
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
552
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
515
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด