731
10 กันยายน 2562
สสว.ขานรับนโยบาย รุกการใช้ดิจิทัล ส่งเสริมธุรกิจรายย่อย
 
 
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ( สสว.) ร่วมสานพลังส่งเสริมธุรกิจรายย่อย (MSMEs) ผลักดันการใช้ดิจิทัลเต็มรูปแบบ เชื่อมโยงการค้าและการลงทุนในภูมิภาค นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า สืบเนื่องจากการจัดงานประชุมวิชาการ หัวข้อ “ASEAN MSMEs in the Digital Era : Challenges and Opportunities”

เมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานในประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ทั้งภาครัฐและเอกชน นักวิชาการ ภาคประชาสังคม รวมทั้งผู้แทนจากประเทศสมาชิก G20 เข้าร่วมสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี เพื่อส่งเสริมการใช้ดิจิทัล และแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ผู้ประกอบการในการประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความท้าทายและโอกาสของผู้ประกอบการ MSMEs ในภูมิภาคอาเซียนที่ต้องเผชิญกับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) นั้น
 
ทั้งนี้ การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย หรือที่เรียกว่า MSME ถือเป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลทุกประเทศในกลุ่มอาเซียน ที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมุ่งเน้นสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากดิจิทัลอย่างเต็มที่ การส่งเสริมให้เกิดการประสานความร่วมมือรัฐและเอกชนในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้แข็งแกร่งมากขึ้น โดยการใช้ระบบพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ รวมทั้งการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงข้อมูล และแหล่งเงินทุน ผลักดันให้เกิดการพัฒนา MSME อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
 
ประเทศในประชาคมอาเซียนมีความคล้ายคลึงกันประการหนึ่ง กล่าวคือ มีวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย เป็นจำนวนรวมกันมากกว่าร้อยละ 95 ของจำนวนวิสาหกิจที่มีอยู่ในแต่ละประเทศ ในส่วนของประเทศไทย มีผู้ประกอบการ MSME จำนวน 3 ล้านราย มีการจ้างงานประมาณ 14 ล้านคน โดย MSME เหล่านี้มีอัตราการเติบโตอยู่ในระดับสูง ในขณะนี้มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 43 ของ GDP ประเทศไทย ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2557 โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.8 ต่อปี แสดงถึงบทบาทของ MSME ต่อเศรษฐกิจประเทศที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
ขณะนี้ สสว.ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพอาเซียนของไทย ภายใต้หัวข้อหลัก คือ การส่งเสริมการใช้ดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยอาเซียน (Digitalization of ASEAN Micro Enterprises) ร่วมกับคณะกรรมการอาเซียนด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในการใช้ดิจิทัลในการประกอบธุรกิจ และจัดทำแนวทางการส่งเสริมการใช้ดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยในอาเซียน เพื่อแนะแนวทางให้ผู้กำหนดนโยบายสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้อต่อผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งการพัฒนาระบบนิเวศทางการเงินเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่วิสาหกิจรายย่อยในการเข้าถึงแหล่งเงิน สนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่คาดว่ามีประมาณ 66.83 ล้านรายทั่วอาเซียนเข้าสู่ระบบ ก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณ 117 ล้านคนทั่วทั้งอาเซียน และการใช้ดิจิทัลในการออกสู่ตลาดต่างประเทศ โดย สสว.จะได้เสนอเอกสารนี้ให้ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister Meeting : AEM) ให้การรับรอง และเสนอผู้นำอาเซียนรับทราบในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 35 เดือนพฤศจิกายน 2562
 
สำหรับการจัดงาน “ASEAN MSMEs in the Digital Era: Challenges and Opportunities” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเข้าสู่ยุคการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ให้แก่ผู้ประกอบการ MSMEs ในอาเซียนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยภายในงานมีการเสวนาโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียนภายใต้ 4 หัวข้อหลัก ดังต่อไปนี้
  1. Advancing MSMEs 4.0 with Digital Transformation แนวทางในการนำเทคโนโลยียุคดิจิทัลมาปรับใช้สำหรับการบริหารจัดการธุรกิจ
  2. Enhancing Capability for MSMEs through Public - Private Partnership ความคิดเห็นจากตัวแทนทางภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งวิธีการสนับสนุนทางด้านข้อมูลและให้คำปรึกษาในด้านเทคโนโลยีและการเข้าถึงตลาดและการเงินให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
  3. Financial Inclusion for MSMEs มุ่งเน้นไปที่การสร้างการตระหนักรู้ในประเด็นปัญหา และอุปสรรคที่ผู้ประกอบการ MSMEs ต้องเผชิญในประเด็นการเข้าถึงตลาดและการเงินจากแหล่งเงินทุนผ่านสถาบันทางการเงิน
  4. Digitalization of Ecosystem for Financial Inclusion การเสวนาเกี่ยวกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับการเข้าถึงการเงินทั้งในรูปแบบดั้งเดิม ร่วมสมัย และดิจิทัล
นอกจากนี้ การจัดงานประชุมดังกล่าวยังสอดรับกับข้อเสนอของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต่อการประชุมผู้นำ G20 ที่นครโอซากา เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้แสดงความพร้อมของไทยในฐานะประธานอาเซียนที่จะขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนและ G20 อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสานต่อแนวคิด ASEAN Outlook on the Indo-Pacific โดยหนึ่งในประเด็นที่เสนอ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่ดีกับ G20 ในเรื่องการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างครอบคลุม โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการเงินเพื่อเปิดโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างครอบคลุมให้แก่ชุมชนห่างไกล สตรี เยาวชน และผู้ประกอบการ start up อีกด้วย
 
อ้างอิงจาก : MGROnline.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น เป..
4,998
ชีสซี่ฟราย สแน็ค เปิดต..
4,022
เริ่มแล้ว! งานแฟรนไชส์..
2,896
แรงจริง! #แฟรนไชส์ ก๋ว..
1,617
พบบูธ “ก๋วยเตี๋ยวเรือป..
985
ธงไชยผัดไทย ร่วมกับ 7-..
983
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด