8.5K
24 มกราคม 2553

นีโอสุกี้ สะท้อนธุรกิจเอสเอ็มอี

 


ธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหารตามโมเดิร์นเทรด หรือศูนย์การค้า ทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีธุรกิจเพียงไม่กี่รายที่ครอบครองทำเลทองและการแข่งขันเป็นไปอย่างดุเดือด นำเสนอบริการแข่งทั้งด้านราคาและคุณภาพหลากหลายเพื่อดึงดูดลูกค้า

จนผู้ประกอบการรายเล็กยากที่จะเข้าแทรกในตลาดได้ เพราะปัจจัยความพร้อมด้านการลงทุนที่ถูกรายใหญ่จับจองไปหมด แม้ว่าศูนย์การค้าบางแห่งการลงทุนสุ่มเสี่ยง เพราะปริมาณลูกค้าที่หมุนเวียนเข้ามาใช้บริการยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่เพราะสายป่านยาวกว่าพร้อมกับความร่วมมือกับผู้ประกอบการศูนย์ในการประคับประคองเพื่อความอยู่รอดทั้ง 2 ฝ่าย

หนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอีอย่าง "นีโอสุกี้" ที่ประสบการณ์ไม่แตกต่างกัน ต้องหลบกระแสดังกล่าว ยึดหลัก "ทำเท่าที่เราถนัด" ไม่อยู่ ท่ามกลางทะเลแดงเดือด จากบทเรียนที่ เกิดขึ้นในอดีต ต้องพลิกธุรกิจหลีกหนียักษ์ใหญ่ ด้วยการผลิตน้ำจิ้มสุกี้แบรนด์ "นีโอ" เจาะตลาดตามร้านค้าสมัยใหม่ เพียงแค่ปีสองปีแรกธุรกิจประสบความสำเร็จ มีอัตราเติบโตเกือบ 100% จนถึงปัจจุบันธุรกิจก็ยังขยายตัวในระดับ 25%
 

นายสกนธ์ กัปปิยจรรยา กรรมการผู้จัดการ บริษัทนีโอ สุกี้ ไทย เรสเทอรองต์ จำกัด กล่าวว่า ธุรกิจน้ำจิ้มสุกี้ประสบความสำเร็จ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยนิยมรับประทานในร้าน ก็เริ่มช็อปปิ้งตามซุปเปอร์มาร์เกตแล้วนำไปรับประทานที่บ้าน ด้วยเหตุผลว่าราคาถูกกว่านั่งรับประทานในร้าน

"เราเริ่มเรียนรู้จากประสบการณ์และอยากแนะนำผู้ประกอบ-การเอสเอ็มอีว่า การทำธุรกิจไม่ง่าย แต่ขอให้อดทนและฮึดสู้ สร้างความแตกต่างหลากหลาย และที่สำคัญให้ธุรกิจยืนบนลำแข้งของตัวเองให้ได้ ต้องสร้างวิกฤติเป็นโอกาส จากในปี 2545 ทำร้านสุกี้แล้วขาดทุนจากร้านสุกี้ 6 สาขา ต้องยุบเหลือเพียง 1 สาขา และหันมาทำน้ำจิ้ม จากนั้นเมื่อมีโอกาสจึงค่อยทยอยลงทุนเปิดร้านสุกี้ขึ้นมา"

นายสกนธ์กล่าวว่า หลังจากน้ำจิ้มสุกี้ติดตลาดแล้ว ทางผู้ประกอบการอย่าง "เทสโก้ โลตัส" ก็ปรับธุรกิจเปิดศูนย์ขนาดเล็กลงและชักชวนให้ขยายร้านสุกี้ จึงเป็นโอกาสทองที่จะเริ่มขยายสาขาร้านสุกี้ออกไป จนขณะนี้ร้านนีโอสุกี้เปิดบริการ 4 สาขา โดยสาขาล่าสุดที่เทสโก้ โลตัส จังหวัดอุดรธานี เมื่อต้นเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา ผลปรากฏว่าได้รับการตอบรับอย่างดีมาก  ถึงกับมองว่าจะให้สาขาดังกล่าวเป็นศูนย์กลางบุกขยายสาขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เช่น  อุบลราชธานี,  ขอนแก่น,  ร้อยเอ็ด  และมหาสารคาม เป็นต้น

ส่วนการขยายสาขาที่ทำเลอื่นๆ จะพิจารณาจากทำเลทองเป็นหลัก จากบทเรียนที่เกิดขึ้น จะไม่มุ่งเน้นการขยายสาขาที่รวดเร็ว ค่อยเป็นค่อยไปให้แต่ละร้านยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง ที่สำคัญก็คือการเน้นรสชาติความอร่อยและความแตกต่างจากคู่แข่ง และราคาที่ย่อมเยากว่า 10-15%

"การที่เราเป็นรายเล็ก จำเป็นต้องมีกิจกรรมความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาก็ได้ฉีกแนว คือการวางตำแหน่งเป็นสุกี้นานาชาติ มีน้ำจิ้มให้เลือกถึง 7 สูตรให้เลือกตามความชอบ เรียกว่าน้ำจิ้ม 7 วัน 7 สูตร และยังมีการพัฒนาต่อเนื่องที่จะได้เห็นกัน รวมทั้งน้ำซุปสุกี้ที่จะทยอยออกตามเทศกาลต่างๆ เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคได้ลิ้มลองอีกทางหนึ่ง"

สำหรับธุรกิจน้ำจิ้มสุกี้ ขณะนี้กลายเป็นธุรกิจที่ใหญ่กว่าธุรกิจร้านสุกี้ ก็ได้ขยายไลน์น้ำจิ้มออกไปให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกเพื่อนำกลับไปรับประทานที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นน้ำจิ้มสุกี้หลากหลายสูตร, น้ำจิ้มหมูกระทะและซีฟู้ด ซึ่งได้มาตรฐานขององค์การอาหารและยากับ GMP/HACCP ล่าสุดได้รับการรับรองความอร่อยจากเชลล์ชวนชิมอีกด้วย

ด้านธุรกิจต่างประเทศ จะขยายไปพร้อมกับการโปรโมตของกรมส่งเสริมการส่งออก ด้วยการขายแฟรนไชส์ในประเทศจีน, อินโดนีเซีย และเวียดนาม จากที่มีอยู่ในประเทศกัมพูชา

 

ในฐานะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี นายสกนธ์ระบุว่า ธุรกิจรายเล็กไม่จำเป็นต้องไปเร่งขยายสาขาแข่งกับรายใหญ่ที่มีความพร้อมและมียุทธศาสตร์ต่างกัน รายใหญ่เร่งขยายสาขาก็เพื่อตีกันคู่แข่ง แถมเอาปริมาณเพื่อลดต้นทุนการดำเนินการ ขณะที่รายเล็กต้องมุ่งให้ธุรกิจมีกำไรและยืนอยู่ได้ด้วยตนเองเป็นหลัก

ดังนั้นต้องมองช่องว่างและสิ่งที่รายใหญ่ไม่ทำ ที่สำคัญต้องทำในสิ่งที่ตัวเองถนัดที่สุด!!

อ้างอิงจาก ไทยรัฐ
 

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
963
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
664
“เติมพลังความรู้” กับ ..
597
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
567
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
558
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
522
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด