995
20 มีนาคม 2562
เปิด 5 เทรนด์เจียระไนจิวเวลรี่ไทย จับทุกตลาดส่งออก “สร้างสตอรี่ สู่ดีเอ็นเอ พร้อมมุ่งสู่วัฒนธรรมและความเชื่อ”
 
 
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์จัดงาน “BangkokGems & Jewelry Fair” ครั้งที่ 63 เนื่องจาก “อัญมณีและเครื่องประดับ” สัญชาติไทย เป็นสินค้าส่งออกที่ยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีทั้งชื่อเสียง เอกลักษณ์ และคุณภาพ นอกจากนี้ ประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางพลอยสีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกโดยเฉพาะทับทิม ไพลิน และ มรกต ปัจจัยที่ทำให้สินค้าจำพวกเพชรพลอยและเครื่องประดับยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเป็นเพราะผู้ส่งออกไทยมีความเข้าใจตลาดในระดับที่สูงและผู้ค้าในตลาดโลกก็รู้จักไทยมากกว่าคู่แข่งคนอื่นๆ อีกด้วย
 
สำหรับงาน "Bangkok Gems & Jewelry Fair"ซึ่งในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 63 จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการได้โชว์ผลงานผ่านเวทีการค้าสากลระดับโลก นอกจากนี้ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) ยังได้มีการจัดสัมมนาโครงการเสริมสร้างความรู้ทางการค้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่สากล ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับของไทยได้เสริมสร้างความรู้และพัฒนาสินค้าให้สามารถตอบโจทย์และเข้าถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการเผยเทคนิคที่จะพาธุรกิจอัญมณีให้ก้าวไกลในต่างแดนได้สำเร็จซึ่งประกอบด้วย 5ปัจจัย ได้แก่
  • วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ของสินค้าถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของสินค้าเพื่อนำจุดอ่อนมาพัฒนา และชูจุดแข็งให้เป็นที่ยอมรับ และเป็นที่รู้จักผ่านการสร้างอัตลักษณ์ของแบรนด์ให้ชัดเจนก่อน จึงจะสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าในแต่ละแบบได้สำเร็จ
  • สร้าง DNA ของสินค้าและตั้งเป้ากลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนงานดีไซน์และการออกแบบอัญมณี เปรียบเสมือนงานศิลปะประเภทหนึ่งแบบที่สวยแสดงความคิดและความเป็นตัวตนย่อมมีคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าจนสามารถมองข้ามต้นทุนของวัตถุดิบไปได้แล้วนั้นผู้ประกอบการจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ธุรกิจของตนให้ได้ตั้งกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนว่า เหมาะกับใคร ประเทศใด กลุ่มอายุเท่าใดเพื่อจะผลิตสินค้าให้ตอบโจทย์กับกลุ่มคนเหล่านั้น
  • ศึกษาพฤติกรรม วัฒนธรรมและความเชื่อของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน ความแตกต่างของพฤติกรรมวัฒนธรรมและความเชื่อของกลุ่มลูกค้าในแต่ละประเทศย่อมมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อาทิประเทศจีน ในงานแต่งงาน ฝ่ายชายมักนิยมให้แหวนและสร้อยคอ เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักโดยมักจะผลิตจากเพชร หรือแพลทินัมในเด็กทารกมักนิยมให้เครื่องเงิน โดยเชื่อว่าจะทำให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรงกลุ่มผู้สูงอายุมักจะนิยมทองคำ แบบเรียบง่ายหรือแบบฝังทับทิมหรือมุกเพื่อแสดงถึงความร่ำรวย ในฝั่งของคนไทยเองนั้น ก็มีความเชื่อที่แตกต่างกัน เช่นความเชื่อเรื่องนพรัตน์หรืออัญมณีมงคล 9 ชนิด และความเชื่อเรื่องอัญมณีที่ถูกโฉลกกับราศีเป็นต้น ถือว่าการจะผลิตสินค้าอัญมณีควบคู่กับความเชื่อนับว่าเป็นอีกทางเลือกที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าได้ ในปี 2562รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้บริโภค จะทำให้เพิ่มยอดขายสินค้าได้
  • สร้างสตอรี่ (STORY) ที่น่าสนใจให้กับสินค้าท้องถิ่นการดึงเรื่องราวของอัญมณีในแต่ละท้องถิ่นออกมาผ่านการเล่าเรื่องให้มีความน่าสนใจเชื่อมโยงทรัพยากรธรรมชาติมาออกแบบร่วมกับอัญมณี อาทิ ปะการังสีสดใสนำมาออกแบบร่วมกับเพชรออกมาเป็นแหวน การนำมุกมาออกแบบร่วมกับเพชรออกมาเป็นต่างหูทำให้เกิดงานออกแบบที่เพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น อาทิ ตลาดอัญมณีในประเทศเกาหลีใต้ที่แบ่งออกเป็น 2กลุ่มใหญ่ๆ คือตลาด FineJewelry และ Wedding Jewelry ซึ่งในปัจจุบันการบริการจัดทำอัญมณีตามความต้องการของลูกค้าหรือ Made to order ก็กำลังเป็นที่นิยมซึ่งคาดว่าในปี2020ความนิยมจะเพิ่มสูงขึ้นอีก จากการนำเอกลักษณ์ของแต่ละเชื้อชาติในประเทศเกาหลีใต้หรือ Ethnic Jewelry มาใช้ออกแบบให้มีความร่วมสมัยและสื่อถึงวัฒนธรรม เอกลักษณ์ ของแต่ละชนชาติ มาออกแบบเครื่องประดับในปัจจุบันโดยใช้หลักการ ConvergenceJewelry ผสมผสานวัสดุอื่นกับการออกแบบอัญมณี
  • ศึกษาเทรนด์ของสินค้าช่องทางการทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ให้ตรงจุดควรศึกษาเทรนด์และความต้องการของสินค้าแต่ละประเทศ เพราะถือเป็นเรื่องสำคัญในการส่งออกสินค้า รวมถึงการประหยัดต้นทุนในการทำการตลาดด้วยกลยุทธ์ผ่านการทำการตลาดออนไลน์ในแต่ละประเทศ เช่น ประชากรจีนใช้ Weibo แทนFacebook ในการนำเสนอหรือสร้างโปรไฟล์ใช้ Alipay หรือWe Chat pay เพื่อการใช้จ่ายในแบบสังคมไร้เงินสดใช้ Baidu ในการสืบค้นข้อมูลแทนGoogle ใช้WeChat แทนLine ในการสื่อสารเป็นต้น
อย่างไรก็ดี ทิศทางธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับในปี 2562 ตลาดในประเทศยังคงเติบโตได้ดีรวมถึงการส่งออกในตลาดต่างประเทศ ก็ยังคงมีโอกาสเติบโตและขยายไปได้อีกสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการคือจะต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพทักษะฝีมือ และการสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์สินค้าที่จะต้องมาเป็นอันดับหนึ่งรวมถึงการสรรหาช่องทางตลาดใหม่ๆ ที่จะต้องเจาะกลุ่มลูกค้าเฉพาะและต้องเข้าถึงช่องทางดิจิทัลเพื่อเชื่อมต่อผู้บริโภคในทุกมุมโลก
 
สำหรับผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจรายละเอียดสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ (NEA) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โทรศัพท์ 02-507-7999 หรือ www.nea.ditp.go.th , facebook.com/nea.ditp
 
อ้างอิงจาก : MGROnline.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,063
PLAY Q by CST bright u..
1,304
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
941
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
790
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด