5.4K
1 มกราคม 2553

“ไซเบอร์แพลนเนต” เปิดโรงเรียนอิเล็กทรอนิกส์ “informatic plus”


 



ชนินทร์เดช-ชนินทร์ วานิชวงศ์ สองพี่น้องแห่ง บริษัท ไซเบอร์แพลนเนต อินเตอร์แอคทีฟ ใน ฐานะประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ ทั้งคู่มีแผนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเดือนม.ค. 2552 จากเป้าหมายเดิมไตรมาส 4 ปี 2552 แต่สถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย


บริษัทแห่งนี้ก่อตั้งโดย “ชนินทร์เดช” พี่ชาย ที่ปัจจุบันเป็นทั้งประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท โดยตั้งขึ้นมาภายหลังวิกฤตปี 2540 หรือปี 2543 เพื่อประกอบธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์เกม

ความที่เขาจบปริญญาตรีวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านการตลาด

เมื่อเรียนจบปริญญาตรีได้พัฒนาซอฟต์แวร์และจดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อจัดจำหน่ายโซลูชันในไทย จนกระทั่งปี 2543 พัฒนาซอฟต์แวร์เป็นซอฟต์แวร์เกม และจัดตั้งบริษัทดังกล่าว
 

จัดตั้งบริษัทได้ 1 ปี ในปี 2544 น้องชายคือ “ชนินทร์” จบปริญญาโทจาก ศศินทร์ มาช่วยงาน

“ผมช่วยงานพี่ตั้งแต่จบปริญญาตรี โดยช่วยทำซอฟต์แวร์ที่เขาคิดค้นได้ เป็นจอมัลติมีเดียเพื่อเป็นสื่อโฆษณา โดยช่วยทำการตลาด และทำมาเรื่อยๆ จนจบปริญญาโทกลับมาช่วยที่บริษัท”

“ไซเบอร์แพลนเนต” เปลี่ยนจากโครงการซอฟต์แวร์เดิมที่ จดลิขสิทธิ์ไว้มาเป็นแผ่นสำเร็จรูปส่งออกทั่วโลก ทำการวิจัยใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง มีการสร้างแบรนด์ และส่งออกไปทั่วโลกทั้งสหรัฐ และยุโรปซึ่งเป็นตลาด ที่กฎหมายลิขสิทธิ์เข้มงวด

จนกระทั่งปัจจุบันบริษัทนี้ส่งออกเพียงแค่ 70% จากปี 2549 ส่งออกทั้งหมด จากเกมเดียวที่ใช้เวลาสร้างซอฟต์แวร์นานนับปีจนท้อ พัฒนาเป็น 40-50 เกม เพื่อขายให้เด็ก 6 ขวบ จนถึงรุ่นคุณปู่คุณย่า ได้รับรางวัลกว่า 30 รางวัล ในฐานะแบรนด์ไทยคุณภาพชนะเกมเอเชีย

“เรามีจุดขาย คือ ต้นทุนการผลิตต่ำเพราะอยู่ในไทยใช้โปรแกรมเมอร์คนไทยทั้งหมด ทำให้ผลิตถูกกว่าคู่แข่ง 5-10 เท่าในคุณภาพเท่ากันทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน”

ธุรกิจนี้มีอัตรากำไร ขั้นต้น 60-70% อัตรากำไรสุทธิ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ นับว่าเป็นอัตรากำไรที่สูงมาก

“ผมใช้เวลาพัฒนากว่า 1 ปี ในงบประมาณไม่กี่ล้านบาทสำหรับเกม Magic Chronicle เทียบเกมแรกใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท ใช้เวลาสามปีคิด ปรับปรุง สามปีแรกของการก่อตั้งบริษัทไม่มีรายได้จากเกมเข้ามาเลยจนกระทั่งพัฒนาสำเร็จและขายเกมแรกในปี 2546”

“ชนินทร์” ยกความสำเร็จนี้ให้พี่ชายทั้งหมดเพราะเป็นคนกล้าคิด และรอคอยจนสำเร็จ
 

 
ลูกค้ารายแรกของ “ไซเบอร์แพลนเนต” ที่ซื้อซอฟต์แวร์ไปใช้คือ ฮิวเลท แพคการ์ด บริษัทชั้นนำของสหรัฐที่มีสาขาทั่วโลกภายใต้แบรนด์ HP หรือชื่อเกม คอมแพ็ค

“เขาสั่งซื้อ 4-5 หมื่นกล่องได้ดีล 70% เกือบคุ้มทุน ที่เหลือขายปลีกให้ผู้จัดจำหน่ายเกม เรียกได้ว่าเกิดเพราะลูกค้ารายนี้ทันทีในปีที่เขาซื้อ ทำให้เรากลายเป็นบริษัทผลิตเกมรายแรกในประเทศไทย”

ช่วงแรก “ไซเบอร์แพลนเนต” ผลิต 3 ปีต่อเกม จากนั้น 1 ปี 1 เกม และหลังปี 2546 ออกเกมหลากหลายแนวทางมากขึ้น จนกระทั่งปัจจุบันใช้เวลาคิดค้นและผลิตเพียง 6 เดือนเท่านั้น

บริษัทนี้ไม่ธรรมดาเพราะมีกองทุนเอเชีย อิควิตี้ เวนเจอร์ ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วรรณ ถือหุ้นด้วยตั้งแต่ต้น

“เราเป็นซอฟต์แวร์รายแรกที่บลจ.วรรณ ถือหุ้น เพราะผู้ใหญ่แนะนำมา”

จากจุดเริ่มต้นของตระกูลวานิชวงศ์ ที่ไม่ใช่ตระกูล นักธุรกิจ แต่บิดาและมารดาของทั้งคู่เป็นเจ้าหน้าที่องค์การสหประชาชาติ ในไทย

“พี่ชายผมเป็นนักคิด นักประดิษฐ์ ส่วนผมเป็นคนมีระบบ รูปแบบ จึงนำข้อดีของทั้งคู่มาช่วยกันบริหารบริษัท”

ขณะนี้ “ไซเบอร์แพลนเนต” เปิดโรงเรียนอิเล็กทรอนิกส์ “informatic plus” สอนหลักสูตรเสริมภาษาอังกฤษชั้น ป1.-ป.6 สาขาแรกที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ชิดลม โดยใช้สื่อการสอนเป็นเกมเสริมทักษะและประสบความสำเร็จ เป็นอย่างดี จากเป้าหมายนักเรียน 100 คน ใน 1 ปี ขณะนี้ได้ 80 กว่าคนแล้ว และมีแผนจะขยายสาขาและขายแฟรนไชส์ด้วย

ชนินทร์เดช เป็นบุตรคนกลาง ขณะที่ชนินทร์ เป็นคน สุดท้องที่ช่วยพี่ชายมาตั้งแต่แรก ทั้งคู่ใช้ชีวิตคนละบ้านกัน เพราะแต่งงานมีครอบครัวของตนเองแล้ว โดยชนินทร์เพิ่งแต่งงานเมื่อไม่นานมานี้ 
 


อ้างอิงจาก โพสต์ทูเดย์
 

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,040
PLAY Q by CST bright u..
1,290
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
941
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
790
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
768
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด