1.5K
30 พฤศจิกายน 2561
NIA ชี้ 3 สินค้านวัตกรรมเสี่ยงโดนก๊อปสูง แนะ ผปก.ยุคใหม่ต้องใส่ใจสิทธิบัตร
 

 
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติเผยการพัฒนาสินค้าและบริการด้านนวัตกรรมไทยยังมีอุปสรรคจากการถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะในสินค้านวัตกรรมกลุ่มอาหาร กลุ่มไอทีและอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง ชี้ NIA มีกลไก 'MIND CREDIT : มายด์เครดิต' พร้อมให้ทุนสนับสนุนค่าบริการที่ปรึกษาด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญสำหรับสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ เน้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นในการแข่งขัน 
 
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันสินค้าและการบริการที่มีนวัตกรรมเกี่ยวข้อง เมื่อถูกนำออกสู่ตลาดหรือวางจำหน่ายกำลังประสบปัญหาการถูกลอกเลียนในระดับที่ค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นการทำซ้ำ การดัดแปลง การตกแต่ง ทำให้การเติบโตของสินค้าและบริการในตลาดนวัตกรรมมีวงจรที่สั้น ไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่นัก จากอุปสรรคดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีแนวทางป้องกันด้วยการ “คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา” ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพื่อจูงใจให้เกิดการสร้างสรรค์และการคิดค้นนวัตกรรม พร้อมช่วยให้ผลิตภาพทางการผลิตหรือทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น
 
แต่อย่างไรก็ตาม การตระหนักและการเข้าถึงด้านดังกล่าวของผู้ประกอบการและนักนวัตกรรมของไทยก็ยังมีอุปสรรคทั้งด้วยการขาดความรู้ความเข้าใจ เงินทุนสนับสนุน การให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ การมีความเชื่อและแนวคิดที่มองว่าก่อให้เกิดความยุ่งยาก ดังนั้น เพื่อให้สิ่งเหล่านี้สามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ขณะนี้จึงจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมทั้งการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมและการเข้าถึงการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้ควบคู่กันไป เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการสูญเสียโอกาสการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและการบริการ พร้อมรักษาสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับให้กับเฉพาะบุคคลและองค์กร
 
 
ดร.พันธุ์อาจกล่าวต่อว่า สำหรับสินค้าและบริการทางนวัตกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาสูงพบว่าอยู่ในกลุ่มดังต่อไปนี้
  1. สินค้านวัตกรรมกลุ่มอาหาร เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผลิตได้ง่าย สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกเพศทุกวัย จึงอาจทำให้ผู้ซื้อละเลย สับสน หรือเกิดความเข้าใจในตัวสินค้านวัตกรรมที่คลาดเคลื่อน โดยเฉพาะความเหมือนหรือคล้ายคลึงของบรรจุภัณฑ์ ชื่อทางการค้าและตราสินค้า ส่วนผสม คำโฆษณาชวนเชื่อ ช่องทางและรูปแบบการออกจำหน่าย โดยสินค้าที่มักถูกละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ปรุงอาหาร ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม และอาหารพร้อมรับประทาน
  2. สินค้าและบริการนวัตกรรมในกลุ่มไอที อิเล็กทรอนิกส์ จากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของโลก หรือ Digital Disruption เป็นเหตุให้ชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกต้องพึ่งพาสินค้าหรือการบริการที่มีความทันสมัยและไวต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การค้นหาข้อมูล ความบันเทิง ความสะดวกสบาย เป็นผลให้เกิดผลิตภัณฑ์ทางนวัตกรรมที่สอดคล้องกับกิจกรรมเหล่านี้ตามมาอย่างมากมาย และยังทำให้มูลค่าในตลาดสินค้านวัตกรรมเหล่านี้มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากปัจจัยดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดการอาศัยช่องทางต่างๆ ผลิตสินค้าออกมาเลียนแบบสินค้าเดิมที่มีอยู่ในตลาดหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ ระบบซอฟต์แวร์ โปรแกรมต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร รวมไปถึงการดาวน์โหลดสื่อบันเทิงประเภทต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังคงมีปริมาณสูงตามมูลค่าการตลาดเช่นเดียวกัน และ
  3. สินค้านวัตกรรมในกลุ่มเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นสินค้าที่กำลังมีอิทธิพลและเข้าสู่การเป็นปัจจัยที่ 5 ในหลายๆ กลุ่มผู้บริโภค โดยในปัจจุบันพบว่ามีผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจและผลิตสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งตลาดสินค้าที่สามารถสร้างเม็ดเงินได้สูงในทุกๆ ปี แต่อย่างไรก็ตาม การมีสินค้าประเภทดังกล่าวจำนวนมากนับเป็นช่องทางที่ทำให้เกิดการเลียนแบบสินค้าตั้งแต่ระดับล่างไปจนถึงระดับไฮเอนด์ โดยเฉพาะการทำซ้ำและการดัดแปลง ทั้งชื่อและตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ ลักษณะทางกายภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังสามารถพบเห็นได้บนช่องทางการขายทั่วไป พร้อมทั้งกลายเป็นเรื่องที่ปกติไปแล้วอีกด้วย

ทั้งนี้ ภายใต้การดำเนินงานของ NIA มีกลไกสนับสนุนด้านการเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรม รวมถึงด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยกลไกที่ชื่อว่า “MIND CREDIT (มายด์ เครดิต)” ซึ่งจะทำหน้าที่สนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงคำปรึกษาด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะเน้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/เครื่องหมายการค้าในประเทศไทยและต่างประเทศ คำปรึกษาด้านสัญญาและการเจรจาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา การให้คำปรึกษา/การสืบค้นงานที่ปรากฏอยู่แล้วเกี่ยวกับการประดิษฐ์ การจดแจ้งลิขสิทธิ์ คำปรึกษา/ประเมินความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิบัตรของบุคคลอื่น

ซึ่งจะให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรมตั้งแต่สตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่ โดยมีทุนสนับสนุนค่าบริการที่ปรึกษาสูงสุด 1 ล้านบาทต่อ 1 โครงการ รวมถึงยังมีการให้คำปรึกษาในด้านที่สำคัญต่อการประกอบธุรกิจนวัตกรรมอีก 3 สาขา ได้แก่ สาขากฎหมายธุรกิจและการขึ้นทะเบียน/การขอใบอนุญาตจากภาครัฐ สาขาการเงิน/บัญชี และการลงทุน และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 อีกด้วย
 
อ้างอิงจาก : MGROnline.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
957
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
652
“เติมพลังความรู้” กับ ..
593
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
564
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
556
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
518
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด