5.3K
21 พฤษภาคม 2552
“โอโตยะ” งัดดีลิเวอรีออกรบ ซุ่มลุยหนัก “เดลี่-คิทเช่น” ปีหน้า 

 
 
 
       “โอโตยะ” กางแผนรุกตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย วางเป้าอีก 2 ปี ครบ 30 แห่ง ทุกรูปแบบ ซุ่มรูปแบบโอโตยะเดลี่ และ คิทเช่น ลุยหนักปีหน้าหลังทดลองมาแล้ว พร้อมส่งดีลิเวอรีออกรบปลายปีนี้
       
       นายโทชิมิ ชิมามุระ ประธาน บริษัท เบทาโกร โอโตยะ (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้บริหารร้านอาหารญี่ปุ่น “โอโตยะ” เปิดเผยว่า บริษัทวางแผนจะขยายธุรกิจทั้งรูปแบบใหม่ๆ และจำนวนสาขาในไทยต่อเนื่อง โดยคาดว่า ภายใน 2 ปี จากนี้จะมีสาขาประมาณ 30 แห่ง จากปัจจุบันที่มีเปิดบริการ 16 สาขา ที่เป็นภัตตาคาร และรูปแบบคิทเช่น 1 สาขา และเดลี่ 1 สาขา
      
       นอกจากนั้น ในปีนี้ยังเตรียมที่จะเปิดบริการใหม่ คือ ดีลิเวอรี ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมการและวางแผนรวมทั้งศึกษารายละเอียด มีกลุ่มเป้าหมายเป็นพวกอาคารสำนักงาน และตามที่อยู่อาศัย


       
       ส่วนในปีหน้าคาดว่า จะสามารถเริ่มทำตลาดและลงทุนรูปแบบคิทเช่นและเดลี่ได้เต็มที่ หลังจากที่ได้ทดลองเปิดบริการมาตั้งแต่ 2-3 ปีที่แล้ว คือ โอโตยะเดลี่ ที่ อิเซตัน เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นรูปแบบเทคโฮม และโอโตยะ คิทเช่น ที่สยามพารากอน เป็นรูปแบบร้านอาหารทานสะดวก
      
       ด้านการลงทุนในปีนี้จะเปิดสาขาใหม่ประมาณ 2-3 แห่ง วางงบลงทุนประมาณ 30 ล้านบาท ล่าสุด เปิดสาขาที่ 16 ที่สยามสแควร์ ส่วนที่เหลือในปีนี้ คาดว่า จะเปิดเพิ่มอีกบริเวณสุขุมวิท วางแผนจะเปิดบริการภายในห้าง หรือคอมมูนิตีมอลล์ รวมทั้งจะรีโนเวตสาขาเดิม เช่น ที่ทองหล่อซึ่งเป็นสาขาแรกด้วย ส่วนต่างจังหวัดมีแผนเปิดสาขาในอนาคต เช่น ที่พัทยา เชียงใหม่ เป็นต้น ขณะที่ปีที่แล้ว เปิดสาขาใหม่ประมาณ 5 แห่ง
      
       “จุดเด่นอย่างหนึ่งของเราในหลายๆ อย่าง เช่น คุณภาพวัตถุดิบของอาหาร ที่สด และต้นทุนต่ำ เนื่องจากเรามีเบทาโกรเป็ผู้ถือหุ้นร่วมด้วย จะเป็ผู้สนับสนุนทางด้นานเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น หมู วัว ไก่ มากกว่า 15% ส่วนวัตถุดิบที่นำเข้าจากโอโตยะญี่ปุ่นโดยตรงก็ประมาณ 35% ที่เหลือเป็นซัปพลายเออร์หลายรายรวมกัน” นายโทชิมิ กล่าว
      
       ทั้งนี้ ราคาค่าอาหารของโอโตยะมีหลายระดับ โดยเฉลี่ยแล้วลูกค้าที่เข้าร้านจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 260-270 บาทต่อคนต่อครั้ง และที่ผ่านมา มีกลุ่มลูกค้าโดยรวมเป็นคนไทย 70% และเป็นคนญี่ปุ่น 30% แต่ในอนาคตจะพยายามเพิ่มสัดส่วนลูกค้าที่เป็นคนไทยมากขึ้น


 
       
       “ตลาดอาหารญี่ปุ่นในไทยยังมีโอกาสและแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องในอนาคต เพราะคนไทยเราเริ่มมีความชินกับวัฒนธรรมและอาหารญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นได้ว่า มีร้านอาหารญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนเปิดบริการในไทยมากขึ้นทั้งมาลงทุนเอง ขายแฟรนไชส์ และการร่วมทุน ซึ่งแต่ละรายก็ต่างมีจุดเด่นแตกต่างกันออกไป ซึ่งของโอโตยะเองก็เน้นที่คุณภาพและความสดของอาหาร รวมทั้งการรักษารุปแบบและวัฒนธรรมการประกอบอาหารและรสชาติที่เป็นญี่ปุ่นขนานแท้เอาไว้” นายโทชิมิ กล่าว
       

       โดย โอโตยะ เองก็มีการขยายธุรกิจในต่างประเทศนอกญี่ปุ่นหลายรูปแบบเช่นกัน ซึ่งในญี่ปุ่นมีสาขามากกว่า 250 แห่ง หลังจากเปิดบริการมานานกว่า 50 ปี ส่วนประเทศไทยก็เป็นสาขาแรกนอกญี่ปุ่นมีสาขา 16 แห่ง เป็นการร่วมทุน นอกนั้นก็มีที่ไต้หวัน ฮ่องกง เป็นการลงทุนจากญี่ปุ่น 100% ส่วนที่อินโดนีเซียก็เป็นการร่วมทุนกับคนท้องถิ่น และล่าสุด จะเปิดที่ประเทศสิงคโปร์ด้วย
      
       ทั้งนี้ ในปีนี้คาดว่า จะมีผลประกอบการเติบโตประมาณ 10% จากปีที่แล้วที่มีรายได้ประมาณ 390 ล้านบาท โดยเติบโตจากปีก่อนหน้าประมาณ 25% ซึ่งสาเหตุที่ปีนี้เติบโตน้อยกว่าเนื่องจากว่าการขยายสาขาที่น้อยกว่าปีที่แล้ว จึงทำให้ตัวเลขน้อยลง แต่ในแง่ของสาขาเดิมมีการเติบโตที่มากขึ้น
      
       สำหรับการถือหุ้นของบริษัท ประกอบด้วย บริษัท เบทาโกร อะโกรกรุ๊ป จำกัด ถือหุ้น 42%, บริษัท โอโตยะ (ไทยแลนด์) จำกัด ของญี่ปุ่น 44%, บริษัทร่วมทุนรายย่อยอีก 9 บริษัท รวม 14%
 











อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์

 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
5,612
PLAY Q by CST bright u..
1,222
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
940
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
931
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
784
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
757
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด