1.6K
17 ธันวาคม 2559
มาแล้ว! ค้ำประกันสินเชื่อ 1 แสนล. บสย. ผนึกแบงก์ลุย “เอสเอ็มอี ทวีทุน”

 
 
มาแล้ว! สำหรับโครงการค้ำประกันสินเชื่อ “เอสเอ็มอี ทวีทุน” หรือ PGS6 หลังจากเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้ บสย. ดำเนินโครงการดังกล่าว ในวงเงิน 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะหมดเขตในวันที่ 30 มิถุนายน 2561 หรือประมาณ 1 ปีครึ่งจากนี้

ซึ่งคาดว่าจะช่วยผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ 33,000 ราย ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินรวม 168,000 ล้านบาท และก่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 458,000 ล้านบาท
       
ถือเป็นอีกหนึ่งข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการของสินเชื่อเพื่อลงทุน ขยายธุรกิจ หรือเพื่อเสริมสภาพคล่อง โดยการค้ำประกันของ บสย. สามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการที่ขาดหลักประกัน หรือหลักประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อ

โดย บสย. จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ภายใต้โครงการนี้กับธนาคารต่างๆ ในช่วงต้นเดือนธันวาคม เพื่อเร่งให้การค้ำประกันสินเชื่อกับผู้ประกอบการเกิดขึ้นได้เร็วที่สุด 
 

 
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยมติ ครม. อนุมัติให้ บสย. ดำเนินโครงการ“เอสเอ็มอี ทวีทุน” วงเงิน 1 แสนล้านบาท
 
ข้อดีของโครงการค้ำประกันสินเชื่อ “เอสเอ็มอี ทวีทุน” หากเทียบกับโครงการค้ำประกัน PGS5 (ปรับปรุงใหม่) ก่อนหน้านี้ที่ชัดเจนคือ กรณีที่เกิดความสูญเสียจากหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) บสย. รับผิดสูงขึ้นเป็น 23.75% จากเดิม 22.5% และขยายระยะเวลาการค้ำประกันจาก 7 ปี เป็น 10 ปี ซึ่งทำให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 
 
อีกหนึ่งสิ่งที่แตกต่างเป็นเรื่องของ “คุณสมบัติของ SMEs” ที่จะเข้ามาใช้บริการโครงการนี้ ซึ่งเพิ่มเติมเข้ามา คือ ต้อง “ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้” ทั้งที่เป็น SMEs ประเภทบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

โดยมีเอกสารหรือหลักฐานแสดงการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ในรอบปีปัจจุบันหรือ 1 ปีก่อนหน้า จุดประสงค์ก็เพื่อสนับสนุน SMEs ที่เข้าระบบฐานภาษีได้รับสิทธิประโยชน์ และความช่วยเหลือต่างๆ จากภาครัฐอย่างเต็มที่
       
แน่นอนว่าการที่ ครม. อนุมัติการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ “เอสเอ็มอี ทวีทุน” ซึ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่ผู้ประกอบการทั่วไป จะทำให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ของ บสย.

จากนี้ ทำได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และครอบคลุม SMEs ทุกกลุ่ม เนื่องจากปัจจุบัน บสย. มีการค้ำประกันใน 2 โครงการอยู่แล้ว คือ โครงการค้ำประกันผู้ประกอบการรายย่อย Micro Entrepreneurs ระยะที่ 2 และโครงการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการใหม่และนวัตกรรม
       
สำหรับโครงการค้ำประกันฯ รายย่อย ซึ่งมุ่งช่วยเหลือกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า หาบเร่ แผงลอย ที่ขาดหลักประกัน โดยค้ำประกันฯ สูงสุดรายละไม่เกิน 2 แสนบาท ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา บสย. สามารถค้ำประกันฯ กลุ่มรายย่อย รวมแล้วกว่า 15,000 ราย และขณะนี้กำลังเดินหน้าช่วยเหลือผู้ประกอบการอย่างเข้มข้นผ่าน 4 ธนาคาร คือ ออมสิน ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย ทิสโก้ และธนาคารกรุงเทพ
       
ขณะที่โครงการค้ำประกันฯ ผู้ประกอบการใหม่และนวัตกรรม ซึ่ง บสย. ได้รับการอนุมัติโครงการจาก ครม. เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 วงเงินรวม 1 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันเริ่มมีการอนุมัติค้ำประกันแล้ว ผ่านธนาคารกรุงเทพ และธนาคารออมสิน ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
       
วันนี้เมื่อกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ สามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ทำให้โอกาสและศักยภาพของ SMEs ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมีมากขึ้น สิ่งที่จะตามมาคือ เจ้าของธุรกิจ และ SMEs ไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น 
       
อีกหนึ่งสัญญาณดีๆ ที่จะเกิดขึ้นกับวงการ “เอสเอ็มอีไทย” หลังจากนี้ 
       
บทความโดย: บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 

อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
933
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
635
“เติมพลังความรู้” กับ ..
591
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
562
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
552
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
514
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด