2.6K
16 พฤศจิกายน 2559
กระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงเพิ่มเติม มาตรการช่วยเหลือชาวนา

 
ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แจง ตามมติ ครม. 8 พ.ย. 59 กับการปรับเพิ่มเติมมาตรการช่วยเหลือชาวนา โดยชาวนาได้ประโยชน์ทุกคนทั้งผู้ที่ปลูกข้าวหอมมะลิ ข้าวเจ้า และข้าวปทุมธานี 1  หากเข้าร่วมโครงการชะลอการขายข้าวเปลือก ราคาข้าวดีเมื่อไหร่แล้วค่อยขาย

รับเงินเพิ่มค่าเก็บรักษาข้าวเปลือกในยุ้งฉาง 1,500 บาทต่อตัน นอกจากนี้ชาวนาที่เข้าร่วมโครงการและไม่ได้เข้าร่วมโครงการชะลอการขายข้าวเปลือกก็จะได้รับค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว 2,000 บาท ต่อตันทุกคน
 
นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากมติ ครม. เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 ให้มีการปรับเพิ่มเติมมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและรักษาเสถียรภาพราคาข้าวปีการผลิต 2559/60

ในส่วนของโครงการชะลอการขายข้าวเปลือก โดยมีการขยายกลุ่มผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการจากเกษตรกรรายคน และสหกรณ์การเกษตร ให้ครอบคลุมถึงกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และขยายพื้นที่ดำเนินโครงการให้ครอบคลุมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเปลือกหอมมะลิ (ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15) ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ในทุกพื้นที่
 

โดยกำหนดวงเงินในสินเชื่อต่อตันข้าวเปลือก ความชื้นต้องไม่เกินร้อยละ 15 สิ่งเจือปน ไม่เกินร้อยละ 2 สำหรับข้าวหอมมะลิชนิดสีได้ต้นข้าว 36 กรัม ขึ้นไป ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 7,000 บาท และข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ตันละ 7,800 บาท
 
นอกจากนี้ยังช่วยเหลือด้านเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้แก่เกษตรกรรายย่อย ผู้ปลูกข้าวซึ่งประสบปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลยังช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั้ง 3 ชนิด ตันละ 2,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 12,000 บาท ข้าวหอมมะลิ ไร่ละ 800 บาท ไม่เกิน 15 ไร่,  ข้าวเจ้า ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 12 ไร่ และข้าวปทุมธานี 1 ไร่ละ 1,200 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ 
 
รวมที่เกษตรกรได้รับ คือ ข้าวเปลือกข้าวหอมมะลิ 16,500 บาทต่อตัน ข้าวเปลือกเจ้าหน้าปี 13,500 บาท ต่อตัน และข้าวเปลือกปทุมธานี 1 ได้ 13,900 บาทต่อตัน
 
และทางเลือกในการชำระหนี้ของชาวนา หากครบกำหนด 6 เดือน ราคาข้าวในตลาดต่ำกว่าเงินกู้ ธ.ก.ส. ขยายเวลาชำระหนี้ให้อีก 3 เดือน โดยไม่เสียดอกเบี้ย ชาวนาไม่ต้องรับผิดชอบส่วนต่าง

อาทิเช่น เงินกู้ 9,500 บาทต่อตัน ราคาตลาด 8,000 บาทต่อตัน ก็ชำระหนี้เพียง 8,000 บาทต่อตัน โดยในส่วนต่าง 1,500 บาทต่อตัว ชาวนาไม่ต้องรับผิดชอบในส่วนต่างนี้ และหากในระยะเวลาที่กำหนดในการชำระหนี้ราคาข้าวในตลาดสูงกว่าวงเงินกู้ ชาวนาสามารถแจ้ง ธ.ก.ส. แล้วเอาข้าวไปขาย ชาวนาสามารถรับส่วนต่างไปได้เลย
 
 
ท้ายนี้ได้เน้นย้ำเพิ่มเติมว่าในกรณีเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวข้าวแล้วนำข้าวไปขายในตลาดแล้วก็ยังสามารถติดต่อรับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวได้ที่ ธ.ก.ส.โดยชาวนาต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกระทรวงเกษตรตามฐานข้อมูล โครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิต 
 
โดยเกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพาณิชย์ สำนักงานเกษตร และ  ธ.ก.ส. ในจังหวัดของท่าน หรือสายด่วน 1569 

โครงการชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี
 
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
1,206
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
805
“เติมพลังความรู้” กับ ..
638
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
615
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
611
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
553
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด