1.3K
17 พฤศจิกายน 2559
จับตาหนี้เสีย SMEs พุ่งหลังส่งออกไม่โต-แรงซื้อยังไม่ขยับ

 
สภาองค์การนายจ้างชี้สัญญาณ NPL แบงก์พุ่งสุดรอบ 5 ปี จับตาหนี้เสีย SMEs โตถึงต้นปี 2560 หลังส่งออกปีนี้ส่อเค้าติดลบสูงหรือหากโตก็ไม่มากพอ ขณะที่แรงซื้อในประเทศยังมีแต่ปัจจัยลบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำโดยเฉพาะ “ข้าว” ขณะที่การขยายลงทุนใหม่ๆ ของภาคเอกชนซึมยาว
       
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า มีแนวโน้มว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในภาคธุรกิจยังคงขยายตัวต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2560 โดยเฉพาะจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)

เนื่องจากขณะนี้สภาพคล่อง SMEs ตึงมากเพราะยอดขายทั้งการส่งออกที่ปี 2559 ภาพรวมติดลบหรืออาจโต 0% ขณะที่แรงซื้อภายในประเทศทิศทางยังคงซึมยาวด้วยหลายปัจจัยโดยเฉพาะปัจจัยจากราคาข้าวที่ตกต่ำซึ่งจะกระทบเป็นห่วงโซ่ต่อเนื่องไปยังภาคการผลิตอื่นๆ
       
“ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงาน NPL ภาคธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3 สูงสุดรอบ 5 ปี และมองว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่แบงก์เองถือว่ามีความระมัดระวังปล่อยกู้มากแล้ว NPL ยังสูงมาก

แต่ไม่มีใครพูดถึง NPL ในภาคธุรกิจที่กำลังเป็นปัญหาโดยเฉพาะ SMEs และเมื่อถึงสิ้นปีแบงก์จะมาดูสินเชื่อต่างๆ โดยเฉพาะเงินกู้เบิกเกินบัญชี (OD) คาดว่า NPL ธุรกิจจะโตถึงต้นปีหน้าเพราะสัญญาณค่อนข้างชัดเจนในวงการค้ามีการขยายเครดิตจาก 30-90 วันเป็น 90-120 วัน และบางส่วนเริ่มชักดาบมีการฟ้องร้องแล้ว” นายธนิตกล่าว
       
ปัจจุบันธุรกิจ SMEs ได้รับผลกระทบจากภาวะส่งออกของไทยปี 2558 ที่มองว่ายังมีโอกาสติดลบหรือโตระดับ 0% แม้ว่าจะติดลบต่ำกว่าที่ประเมินตอนแรกแต่อย่าลืมว่าปี2557 ส่งออกของไทยติดลบ 5% ซึ่งถือเป็นฐานที่ต่ำมากอยู่แล้ว ขณะเดียวกันแรงซื้อในช่วงไตรมาส 4 ไปจนถึงต้นปี 2560

คาดว่าจะยังทรงตัวหรือซึมต่อเนื่องด้วยปัญหาหลักจากรายได้เกษตรกรที่เป็นแรงซื้อขนาดใหญ่ยังไม่ฟื้นตัวและอาจตกต่ำลง โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขณะนี้ราคาข้าวตกต่ำมาก ขณะที่สินค้าเกษตรอื่นๆ ทั้งยางพารา มันสำปะหลัง ก็กระเตื้องเล็กน้อย มีเพียงอ้อยที่คาดว่าจะดีสุดเท่านั้น
       
นายธนิตกล่าวว่า ที่ผ่านมามาตรการของรัฐบาลเริ่มปรับตัวดีขึ้นในการกระตุ้นแรงซื้อด้วยการหามาตรการช่วยเหลือชาวนา โครงการกู้ยืมเงินหมู่บ้าน ฯลฯ เนื่องจากที่ผ่านมาอาจเกรงว่าจะเป็นการประชานิยมซึ่งเห็นว่าการดำเนินงานในบางเรื่องมีความจำเป็นโดยสามารถทำเป็นนโยบายประชารัฐได้ และปัญหาข้าวที่แท้จริงเพราะภาวะล้นตลาดจึงต้องหาวิธีแก้ไขระยะยาว 
 
อ้างอิงจาก  ผู้จัดการออนไลน์
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
975
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
667
“เติมพลังความรู้” กับ ..
597
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
571
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
558
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
523
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด