5.6K
27 มีนาคม 2552

ม.ศรีปทุมเผยค้าปลีก-แฟรนไชส์โตสวนกระแสโดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

 

นายพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและ แฟรนไชส์สากล (IRF) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยถึงสถานการณ์ธุรกิจ ค้าปลีก และแฟรนไชส์ในประเทศไทย ว่า ปัจจุบันมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะระบบธุรกิจค้าปลีกเป็นหนึ่งความสำคัญของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ในช่วงปี 2008 มูลค่าของธุรกิจไม่น้อยกว่า 780,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือไม่น้อยกว่าสองล้านล้านบาท

ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า แม้ว่าประเทศจะอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขาลง ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศไม่สามารถขยายตัวได้เท่าที่ควร แต่ธุรกิจแฟรนไชส์และค้าปลีกจะเติบโตขึ้นต่อเนื่อง หากเปรียบเทียบในด้านการพัฒนารูปแบบและการขยายพื้นที่ของธุรกิจค้าปลีก

โดยเฉพาะในตัวเมืองหลักจะเห็นได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยมีปัจจัย 3 ด้านที่สำคัญที่ส่งผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ 1.การพัฒนาพื้นที่ด้วยการสร้างศูนย์การค้า การขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติ ทำให้เกิดรูปแบบการค้าที่หลากหลายทุกระดับ 2.ปัจจัยด้าน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่ายของคนเมือง รูปแบบของธุรกิจค้าปลีก และ 3.ผลจากการกำกับดูแลในธุรกิจ

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล ยังย้ำว่าปัจจุบันบุคลากรที่มีความรู้เรื่องระบบค้าปลีก แฟรนไชส์ ของไทยยังมีน้อยมาก ทำให้ภาคอุตสาหกรรมค้าปลีกรายใหญ่ กลุ่มโมเดิร์นเทรด และผู้ประกอบการรายย่อยต่างประสบปัญหาและสร้างบุคลากรเฉพาะด้านขึ้นมารองรับ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐบาล เอกชน สถาบันศึกษา เร่งผลิตและอบรมบุคลากรคุณภาพเพื่อรองรับธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ ให้มีโอกาสเติบโต

เมื่อส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบไทยเข้มแข็งแล้วเชื่อว่า ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาพรวมต่อไป ธุรกิจแฟรนไชส์คือรากฐานหลักของประเทศ หากมีการเพิ่มสัดส่วนมากขึ้นก็จะยิ่งมั่นคงต่อไป

 


ด้าน ดร.สุนันทา ไชยสระแก้ว ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้เล็งเห็นศักยภาพโอกาสการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ในไทย แต่ประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรเฉพาะทาง จึงเปิดหลักสูตร การจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์เต็มรูปแบบ ครั้งแรกในเมืองไทย

ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท เพื่อสร้างบุคลากรสาขาค้าปลีกและแฟรนไชส์ให้มีคุณภาพสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมภาคธุรกิจของไทย

เพราะธุรกิจค้าปลีกถือได้ว่าเป็นธุรกิจที่ความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ เป็นภาคธุรกิจที่สร้างงานสร้างเงินนับหมื่นนับแสนล้านบาทต่อปี และเป็นดัชนีสำคัญที่สะท้อนถึงความมั่งคั่งของประชาชนและความมั่นคงของประเทศ หลักสูตรเน้นการให้ความรู้เรื่องทฤษฎีไปพร้อมกับการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง ซึ่งหลักสูตรได้ออกแบบให้มีการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็น นักบริหารและผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์มืออาชีพรุ่นใหม่

ผ่านการเรียนการสอนที่ทันสมัย สมบูรณ์แบบได้มาตรฐานสากล สามารถทำงานในองค์กรค้าปลีกและแฟรนไชส์ได้อย่างหลากหลาย โดยมีจุดหมายที่สำคัญในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ในการบริหารจัดการธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจเอกชน และสอดคล้องตามนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งเพื่อยกระดับธุรกิจไทยให้มีความเข้มแข็งสามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประเทศมากขึ้นนำไปสู่เศรษฐกิจที่มั่นคง

“เชื่อว่าหลักสูตรนี้จะสามารถตอบโจทย์การยกระดับธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์ในประเทศ เพราะสถาบันการศึกษาถือเป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญ นอกเหนือจากภาครัฐและภาคธุรกิจที่จะผลักดันให้การพัฒนาธุรกิจค่าปลีกและแฟรนไชส์ในประเทศให้เติบโต เพราะที่ผ่านมาการขาดแคลนบุคลากรและองค์ความรู้ด้านธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์นี่เองที่ทำให้ธุรกิจค้าปลีกและ แฟรนไชส์ในไทยไม่สามารถเดินหน้าไปได้เท่าที่ควร” ดร.สุนันทา กล่าว

พร้อมกันนี้ ม.ศรีปทุม ได้สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางด้านวิชาการ โดยมีศูนย์วิจัยค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจเอกชนชั้นนำ และให้นักศึกษาได้ศึกษารวมทั้งมีโอกาสฝึกงานกับสถานประกอบการค้าปลีกและแฟรนไชส์ตลอดหลักสูตรการศึกษา และการเปิดตัวหลักสูตรครั้งนี้ ทาง ม.ศรีปทุมฯ ถือโอกาสเชิญผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ชื่อดังมาร่วมให้ข้อมูลความต้องการด้านบุคลากร และปัญหาอุปสรรคการสร้างธุรกิจให้มั่นคงและยั่งยืนด้วยระบบค้าปลีก-แฟรนไชส์ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

ได้แก่ ตัวแทนผู้บริหารจาก บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด (Black Canyon) บริษัท โชคดี อินเตอร์เนชั่นแนลแฟรนไชส์ จำกัด (โชคดีติ่มซำ) บริษัท กิฟฟารีน สกายไลนส์ ยูนิตี้ จำกัด (กิฟฟารีน) บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (Siam Macro) บริษัท โมนา โพลิแตนท์ จำกัด (Cosmeda) บริษัท คาร์แลค (ไทย-เยอรมัน) จำกัด (Moly Care) บริษัท อีซี่ส์ อินเตอร์เนชั่นแนล แฟรนไชส์ จำกัด (EZ’S) บริษัท สมาร์ทอิงลิช จำกัด (Smart English) บริษัท เดอะคอฟฟี่เมคเกอร์ จำกัด (The coffee maker) บริษัท ที อาร์ โปรดักส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (Wizard Auto Care) บริษัท วินเซนท์ เซ็นเตอร์เซอวิส กรุ๊ป จำกัด (Win-sent) บริษัท เพลย์ แอนด์ เลอน จำกัด (Kido) บริษัท วราภรณ์ สมพงษ์ ฟู้ดส์ จำกัด (วราภรณ์ ซาลาเปา) บริษัท เค เอส กรุ๊ป (KS Group )











อ้างอิงจาก กรุงเทพธุรกิจ

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,000
PLAY Q by CST bright u..
1,290
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
941
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
790
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
768
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด