1.5K
20 ตุลาคม 2559
รัฐฯ ดันธุรกิจเครื่องสำอางโต 10% หลังพบสินค้าส่งออกมีอนาคต

 
 
นางสาวรัตนา เธียรวิศิษฎ์สกุล รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
 
กระทรวงพาณิชย์ นำผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอาง 120 ราย ดูงาน 3 องค์กรผู้ผลิตเครื่องสำอาง บรรจุภัณฑ์ และสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางรายใหญ่ของประเทศไทย หวังเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจตลอดกระบวนการผลิตจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ลดการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ตัดตอนต้นทุนการผลิตให้สู้ราคากับคู่แข่งได้ ย้ำธุรกิจเครื่องสำอางไทยยังมีโอกาสเปิดตลาดส่งออกอีกมากหากใช้นวัตกรรมมาสร้างสรรค์ผลผลิตเป็น
       
น.ส.รัตนา เธียรวิศิษฎ์สกุล รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบนโยบายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าดำเนินการหาช่องทางการเปิดตลาดให้กับผู้ประกอบธุรกิจเครื่องสำอางไทยให้ได้มีโอกาสพบปะและเจรจาธุรกิจกับผู้ผลิตวัตถุดิบรายใหญ่ระดับโลก เพื่อส่งเสริมและลดต้นทุนการผลิตให้แก่ธุรกิจเครื่องสำอางไทย
 
ซึ่งปัจจุบันเครื่องสำอางนับเป็นสินค้าส่งออกของไทยที่น่าจับตามองเพราะสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศในสัดส่วนที่สูงมาก และเพื่อเป็นการขานรับนโยบายดังกล่าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงได้ดำเนินการจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “สร้างมูลค่าเพิ่ม Supply Chain กลุ่มธุรกิจเครื่องสำอาง” ระหว่างวันที่ 9-10 กันยายน 2559 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
 

 
ภาพจาก  http://goo.gl/wzZHza

นำผู้ประกอบการรายใหญ่ (Trader) ผู้ผลิตขนาดกลาง (OEM) และผู้ผลิตรายย่อย รวมทั้งหมดจำนวน 120 ราย เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ด้านการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และไฮไลท์สำคัญของกิจกรรมในครั้งนี้คือ การศึกษาดูงาน ณ องค์กรผู้ผลิตและส่งออกวัตถุดิบสารตั้งต้นที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางรายใหญ่ของประเทศไทย เช่น Fatty Alcohol, Glycerin, Methyl esters, Ethyl ester เป็นต้น รวมถึงผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีโอกาสได้จับคู่เจรจาการค้าเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจในกลุ่มเครื่องสำอางอีกด้วย
       
สำหรับองค์กรที่ผู้ประกอบธุรกิจจะได้ศึกษาดูงานประกอบไปด้วย 3 องค์กร คือ
  1. บริษัท ซีซีแอล ลาเบิล (ไทย) จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ผลิตฉลากบรรจุภัณฑ์รายใหญ่ของโลกที่นำนวัตกรรมมาใช้ในกระบวนการผลิตทำให้มีความรวดเร็ว คมชัด ดึงดูดใจผู้บริโภค และที่สำคัญหากมีการสั่งผลิตในจำนวนมากจะทำให้มีต้นทุนด้านราคาต่ำลงซึ่งจะช่วยผู้ประกอบธุรกิจประหยัดต้นทุนในการผลิต
  2. บริษัท เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) จังหวัดชลบุรี ผู้ผลิตเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ความงามซึ่งมีกระบวนการพัฒนาสินค้าตั้งแต่ การสร้างผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การจัดส่งสินค้า และการสร้างชื่อเสียงให้ผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนด้านงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาด้วย และ 
  3. บริษัท โกลบอลกรีน เคมิคอล จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีในประเทศไทย และผลิตสารตั้งต้นอย่างกลีเซอรีน ซึ่งเป็นวัตถุดิบส่วนสำคัญของการผลิตเครื่องสำอาง ปัจจุบันผู้ผลิตเครื่องสำอางส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าประเทศไทยสามารถผลิตสารดังกล่าวได้เองแล้ว จึงทำให้ต้องนำเข้าจากต่างประเทศส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตสูงและเกิดข้อเสียเปรียบในการแข่งขันด้านราคากับคู่แข่งทั้งในประเทศรวมไปถึงการส่งออก
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยมีนิติบุคคลผู้ผลิตเครื่องสำอางจำนวน 1,912 ราย มีทุนจดทะเบียนรวมกันทั้งสิ้นเป็นมูลค่าถึง 11,517 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 59) ฉะนั้นธุรกิจเครื่องสำอางเป็นธุรกิจที่น่าจับตามองเพราะมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยิ่ง

อีกทั้งภาครัฐยังได้ตั้งเป้าหมายว่าจะผลักดันให้อุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยขยายตัวปีละ 10% ซึ่งจะทำให้มีมูลค่าส่งออกติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกภายใน 3-5 ปีข้างหน้า จึงนับเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจเครื่องสำอางไทย 

อ้างอิงจาก  ผู้จัดการออนไลน์
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,235
PLAY Q by CST bright u..
1,334
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
951
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
949
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
797
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
770
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด