5.5K
1 มีนาคม 2559
ปั๊มบางจากลุยค้าปลีกน็อนออยล ตั้งบ.รีเทลเตรียมซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหารดังตปท.


ทิศทางใหม่บางจากปิโตรเลียม หลัง ปตท.ขายหุ้นออก เริ่มต้นปี 2559 แยกบัญชี Nonoil ออกจากธุรกิจน้ำมัน ตั้งบริษัทบางจาก รีเทล ดึงร้านอาหารแบรนด์นอกเข้ามาตั้งในปั๊ม ส่วนต่างประเทศเข้าซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ SunEdison ญี่ปุ่น วงเงิน 2,915 ล้านบาท

นายพงษ์ชัย ชัยจิรวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจการตลาด บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทบางจากได้จัดตั้งบริษัทบางจาก รีเทล จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท เพื่อประกอบกิจการแฟรนไชส์ รวมถึงการได้รับสิทธิให้ใช้ซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาต่าง ๆ การก่อสร้างและดำเนินการกิจการร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตทั้งขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการพัฒนาธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (Nonoil)

เนื่องจากในปีนี้บริษัทมีแผนที่จะขยายธุรกิจ Nonoil ในสถานบริการน้ำมันเพื่อให้มีบริการที่หลากหลายมากขึ้นและจะเพิ่มร้านอาหารแบรนด์จากต่างประเทศมาไว้ในพื้นที่สถานีบริการน้ำมันที่เหมาะสมจากจำนวนสถานีบริการน้ำมันที่มีแผนจะสร้างใหม่รวม 60 แห่ง เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท

"คอนเซ็ปต์ใหม่ของสถานบริการน้ำมันบางจากคือ One Stop Service ตัวปั๊มน้ำมันจะตั้งอยู่บนพื้นที่ 4-5 ไร่ เงินลงทุนแห่งละ 70-80 ล้านบาท จะมีการดึงร้านอาหารแบรนด์ต่างประเทศเข้ามาในปั๊มและมีพันธมิตรแบรนด์ไทยที่ต้องการขยายร้านไปกับบางจากด้วย นอกจากนี้เตรียมขยายร้านกาแฟ "อินทนิล" ในรูปแบบ Stand Alone จากเดิมมีกาแฟเฉพาะในปั๊มน้ำมันจะขยายออกไปนอกปั๊มด้ว

ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา บริษัทบางจากมีการตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา 3 บริษัทด้วยกันคือ BCPG Investment Holdings Private Limited ที่ประเทศสิงคโปร์ ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 40,000 เหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 1 ล้านบาท) โดย BCP ถือหุ้น 100% ผ่านทางบริษัทลูกคือ บริษัท BCPG แจ้งวัตถุประสงค์เพื่อใช้ดำเนินการลงทุนในต่างประเทศ, BSE Energy Holdings Private Limited ที่ประเทศสิงคโปร์ ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 4,000 เหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 100,000 บาท)โดย BCP ถือหุ้น 100% ผ่านทางบริษัทลูกคือ บริษัทบางจากโซลาร์เอ็นเนอร์ยี (ปราจีนบุรี) และบริษัทบางจาก รีเทล จำกัด

ส่วนความเคลื่อนไหวในกิจการพลังงานล่าสุดได้ใช้บริษัทย่อยคือ BCPG ลงนามในสัญญาซื้อขาย (Purchase and Sale Agreement) วงเงิน 2,915 ล้านบาท กับบริษัท SunEdison International หรือ SEI และบริษัท SunEdison Energy Holding (Singapore) หรือ SEH เพื่อเข้าซื้อธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมดที่เป็นของกลุ่ม SunEdison ด้วยการซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของบริษัท SunEdison Japan Corporation หรือ SEJ ทุนจดทะเบียน 148 ล้านบาท-บริษัท SunEdison Japan Debt Financing หรือ SEDF ทุนจดทะเบียน 67 ล้านบาท และบริษัท SunEdison TK Investor 1 หรือ SETK ทุนจดทะบียน 188 ล้านบาท

โดยโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของกลุ่ม SunEdison มีกำลังผลิตรวม198 เมกะวัตต์ (MW) ประกอบด้วยโครงการโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการแล้ว 13 MW, โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 27 MW และ โครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีก 158 MW เงื่อนไขการชำระเงินในการเข้าซื้อกิจการของกลุ่ม SunEdison ก็คือ การชำระครั้งแรกไม่เกิน 1,254 ล้านบาท คำนวณจากโครงการโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการไปแล้ว โครงการที่ระหว่างก่อสร้าง และโครงการที่กำลังพัฒนา (63 MW) รวมถึงมูลค่าของบริษัท SEJ ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการพัฒนาโครงการเข้าไปด้วย ส่วนเงินที่เหลือจะชำระตามเงื่อนไขความสำเร็จของแต่ละโครงการ

อ้างอิงจาก  ประชาชาติธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
6,096
PLAY Q by CST bright u..
1,313
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
945
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
941
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
790
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
769
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด