1.5K
3 พฤศจิกายน 2558
สสว. ขานรับนโยบายรัฐบาล เทงบ 2,467 ล้านบาท ช่วย SMEs 3 หมื่นราย


สสว.ขานรับแนวทางรัฐบาล เดินหน้าแผนปฏิบัติการรองรับมาตรการเพิ่มขีดความสามารถ เทงบ 2,467 ล้านบาท จัดหนักช่วย SMEs 3 หมื่นราย ใน 3 กลุ่มคือ บ่มเพาะ SMEs รายใหม่ พัฒนา SMEs รายเดิมให้เติบโต และฟื้นฟู SMEs ที่ประสบปัญห

โดยทำงานร่วมกับอุตสาหกรรม พาณิชย์ วิทยาศาสตร์ฯ ด้วยการวินิจฉัยเชิงลึกแบบรายกิจการ บ่มเพาะ พร้อมส่งต่อสถาบันการเงินเพื่อกู้ ร่วมทุน หรือเข้าโครงการเพื่อพลิกฟื้นของสสว.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดแถลงข่าวแนวทางปฏิบัติของ สสว. เพื่อรองรับมาตรการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs เร่งด่วน โดยนางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สรุปได้ดังนี้

1. สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 มีมติเห็นชอบมาตรการการเงิน การคลัง เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ระยะเร่งด่วน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น รวมทั้งบรรเทาภาระภาษี นั้น

ต่อมา ในวันที่ 27 ตุลาคม 2558 ครม.ได้มีมติเห็นชอบมาตรการอีก 1 ชุด เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของ SMEs ในเรื่องกระบวนการผลิต การให้บริการ และช่องทางการจัดจำหน่าย โดยเป็นการทำงานระหว่าง 3 กระทรวงและ 1 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และสสว. โดยมีสสว. เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน และจัดสรรงบประมาณจากกองทุนของ สสว. เป็นจำนวนรวม 2,467 ล้านบาท ซึ่งแต่ละกระทรวง ตั้งเป้าที่จะพัฒนา SMEs อย่างชัดเจน โดยสสว.มีเป้าหมายในการพัฒนา SMEs จำนวน 3 หมื่นราย

2. งบประมาณที่สสว. จัดสรรให้ 3 กระทรวงได้แก่
  • กระทรวงอุตสาหกรรม 530 ล้านบาท
  • กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทโนโลยี 187 ล้านบาท
  • กระทรวงพาณิชย์ 150 ล้านบาท
และจะตั้งคณะทำงานเพื่อติดตามผลการพัฒนา SMEs ของแต่ละหน่วยงานโดยมีสสว.เป็นแกนหลัก


3. ในส่วนของสสว. ตั้งเป้าที่จะพัฒนา SMEs รวม 3 หมื่นราย ใช้งบประมาณ 1,600 ล้านบาท โดยจะพัฒนา SMEs 3 กลุ่ม ได้แก่


3.1 กลุ่ม SMES ที่ดำเนินกิจการอยู่แล้ว (Strong/Regular SMEs)

สสว. จะใช้งบประมาณ 200 ล้านบาทในการพัฒนา SMEs โดยมีเป้าหมาย 10,000 ราย ในปี 2559 และการคัดเลือกจะพิจารณาจาก
ก. ลูกค้าธนาคารของรัฐ

ข. คัดจากฐานข้อมูล สสว. โดยพิจารณาจากนิติบุคคลที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์และส่งงบการเงินสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของSMEs ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นในอัตราระดับค่อนข้างสูงในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา และSMEs ที่มียอดขายทรงตัวในระดับปานกลาง ซึ่งSMEs ทั้ง 2 กลุ่มนี้ มีจำนวนรวมกันประมาณ 1.2 แสนราย

โดย สสว. จะให้ผู้เชี่ยวชาญเข้าวินิจฉัยในเชิงลึกเป็นรายกิจการและหาทางช่วยปรับปรุงการผลิต การให้บริการ และการจำหน่าย รวมทั้งให้คำแนะนำทางด้านการเงินในกรณีที่ SMEs ต้องการขยายกิจการด้วย

ตัวอย่างเอสเอ็มอีในกลุ่มนี้ ได้แก่ SMEs ในกลุ่มที่มีศักยภาพ เช่นอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สปา แฟชั่น อัญมณีและเครื่องหนัง ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการเพิ่มเติมในการประชุมครม. เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 ว่า ให้ช่วยดูแลเอสเอ็มอีในกลุ่มที่มีศักยภาพรวมถึงให้พิจารณาว่าจะทำอย่างไรให้มีแบรนด์สู่ตลาดโลก

3.2.กลุ่มผู้ประกอบการใหม่ (Start Up)

สสว. มีเป้าหมายจะสร้างผู้ประกอบการใหม่ จำนวน 10,000 ราย ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2559 - 2561 โดยจะใช้งบประมาณ จำนวน 200 ล้านบาท ในปี 2559

วิธีการคือ สสว.จะทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาที่มีจุดเด่น ในเรื่องการเรียนการสอนด้านวิชาชีพ เช่น การช่าง การออกแบบ และการบริหารธุรกิจ โดยจะคัดนักศึกษาที่จบใหม่ หรือเพิ่งประกอบธุรกิจไม่เกิน 5 ปี มาเข้าหลักสูตรที่ศูนย์บ่มเพาะของมหาวิทยาลัย ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ

และเมื่อนักศึกษารายใดที่จบหลักสูตรการบ่มเพาะ และมีศักยภาพเพียงพอที่จะเริ่มต้นกิจการได้ สสว. จะสนับสนุนให้จดทะเบียนการค้ากับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเป็นนิติบุคคล และจะประสานกับธนาคารของรัฐ เช่น SME Bank เพื่อให้การสนับสนุนด้านการเงินในรูปการให้กู้เงินหรือร่วมลงทุน สสว. จะติดตามดูแลผู้ประกอบการใหม่โดยผ่านทางศูนย์บริการ SMEs ครบวงจร หรือศูนย์ OSS ของสสว.

3.3.กลุ่มที่ประสบปัญหาทางธุรกิจ (Turn Around)

สสว. มีเป้าหมายให้ความช่วยเหลือ 10,000 ราย ในปี 2559 โดยจะใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท ให้ความช่วยเหลือ SMEs ขนาดเล็ก ซึ่งคัดเลือกมาจาก

ก. ลูกค้าธนาคารของรัฐ ซึ่งมีปัญหาในการจ่ายชำระหนี้ แต่มีความบริสุทธิ์ใจ และมีเจตนาที่จะทำกิจการต่อไป

ข. SMEs ที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งส่งงบการเงินให้กับกระทรวงพาณิชย์อย่างสม่ำเสมอ และมียอดขายลดลงค่อนข้างมากอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา 3 ปี ซึ่ง SMEs ในกลุ่มนื้ มีจำนวนประมาณ 36,000 ราย

วิธีการช่วยเหลือของ สสว. คือ วินิจฉัยเชิงลึกเป็นรายกิจการเพื่อหาประเด็นที่จำเป็นต้องปรับปรุง ทั้งในด้านการผลิต และการจำหน่าย และหาก SMEs รายใด มีความตั้งใจที่จะประกอบธุรกิจต่อไป และยังมีศักยภาพเพียงพอ สสว. จะประสานงานกับเจ้าหนี้เดิมเพื่อขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ในกรณีที่ SMEs ที่ได้ปรับโครงสร้างหนี้แล้ว จำเป็นต้องได้รับสภาพคล่องเพิ่ม สสว. จะพิจารณา ให้กู้ยืมจากกองทุนพลิกฟื้นของ สสว. ซึ่งจะจัดตั้งขึ้น เป็นวงเงินรวม 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้เพราะ SMEs ในกลุ่มนี้ ไม่สามารถกู้ยืมเงินจากระบบสถาบันการเงินได้

ส่วนการดำเนินงานในขั้นต่อไปคือ สสว. จะนำเสนอ คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) เพื่อจัดสรรเงินจากกองทุน สสว. เพื่อนำไปปฏิบัติได้จริงต่อไป

อ้างอิงจาก  www.ryt9.com
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น เป..
5,019
ชีสซี่ฟราย สแน็ค เปิดต..
4,037
เริ่มแล้ว! งานแฟรนไชส์..
2,896
แรงจริง! #แฟรนไชส์ ก๋ว..
1,617
พบบูธ “ก๋วยเตี๋ยวเรือป..
985
ธงไชยผัดไทย ร่วมกับ 7-..
983
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด