4.3K
20 ธันวาคม 2552

ปีหน้าแฟรนไชส์รายเล็กส่อเจ๊ง 50%  

 


 

แฟรนไชส์รายย่อยวิกฤต ปีหน้าส่อเจ๊ง 50%

นายณรัตน์ไชย หลีระพันธ์ นายกสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า ในปี 2552 ธุรกิจแฟรนไชส์รายย่อย (เอสเอ็มอี) มีแนวโน้มจะปิดกิจการมากถึง 50% จากธุรกิจแฟรนไชส์ที่ มีทั้งหมด 200-300 ราย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง จะมีเฉพาะรายใหญ่เท่านั้นที่ขยายตัว ส่งผลให้มูลค่าตลาดรวมแฟรนไชส์ปีหน้าเติบโตได้ 10% จากมูลค่าตลาดแฟรนไชส์ปัจจุบัน 7-8 หมื่นล้านบาท


“แม้ปีหน้าธุรกิจแฟรนไชส์จะยังเติบโต 10% แต่ก็เป็นส่วนที่เกิดจากรายใหญ่ เท่านั้น ซึ่งมีสัดส่วน 10% จากผู้ประกอบการแฟรนไชส์ทั้งหมด โดยภาพรวม ปีหน้าความขัดแย้งระหว่างผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชซี) และผู้ขาย (แฟรนไชซอร์) เพราะผู้ซื้ออาจได้กำไรจากการลงทุนธุรกิจไม่เป็นดังที่คาดหวัง ทำให้มีการยกเลิก หรือผู้ซื้อรายใหม่ระมัดระวังไม่กล้าเข้ามาลงทุน” นายณรัตน์ไชย กล่าว

 

นอกจากนี้ มีแนวโน้มที่ธุรกิจแฟรนไชส์ไทยจะประสบปัญหาลำบาก หากไม่สร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับ เพราะจะถูกต่างชาติเข้ามาตีตลาด โดยอาศัยชื่อเสียงของธุรกิจบริการไทย เช่น ร้านอาหารไทย สปาไทย มาทำเป็นระบบแฟรนไชส์ขายแข่งกับผู้ประกอบการไทย ภายหลังที่ไทยและประเทศในอาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรี บรรดาประเทศยักษ์ใหญ่ในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เตรียมที่จะใช้ไทยเป็นฐานลงทุนระบบแฟรนไชส์เพื่อขยายตลาดในอาเซียน

 

ด้านนายพีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ปีหน้าในส่วนของธุรกิจแฟรนไชส์รายย่อยเสี่ยงที่จะปิดตัว หรือหยุดการขายแฟรนไชส์ 44.8% หรือประมาณ 226 ราย จากธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีทั้งหมดในประเทศ 505 ราย


สาเหตุของความเสี่ยงเกิดจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของแฟรนไชส์รายย่อย เพราะส่วนใหญ่ขาดระบบวางแผนที่ดี เช่น ไม่เก็บค่าธรรมเนียมลงทุนแฟรนไชส์ (รอยัลตีฟี) ทำให้ไม่มีเงินทุนหมุนเวียนในการทำกิจการ ประกอบกับ ผู้ลงทุนแฟรนไชส์มีความคาดหวังสูงกับ ผลกำไรที่กลับมา จากการวิจัยพบว่า ผู้ลงทุนแฟรนไชส์คาดหวังที่จะได้กำไรจากการลงทุนต่อเดือนสูงถึง 6 หมื่นบาท หรือต้องมีรายได้ราว 2.8 แสนบาทต่อเดือน

นายพีระพงษ์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการรายย่อยควรจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อไม่ให้เกิดการปิดกิจการ ด้วยการวางกลยุทธ์ธุรกิจให้ชัดเจน สร้างจุดเด่นให้กับสินค้า ควบคุม ค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ ไม่แข่งขันกันลดราคา และต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายเดือน เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการบริหารแฟรนไชส์เหมือนที่รายใหญ่ทำ












อ้างอิงจาก โพสต์ทูเดย์

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
1,181
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
795
“เติมพลังความรู้” กับ ..
628
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
607
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
602
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
542
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด