4.7K
13 ธันวาคม 2552

เดินหน้า Machine Fund เฟส 2 อัดฉีดเม็ดเงินสินเชื่อ 700 ล้าน 
 


 
 
       ภาครัฐ จับมือ 9 ธนาคาร เดินหน้าโครงการปล่อยสินเชื่อแก่ SMEs เพื่อปรับปรุงเครื่องจักร (Machine Fund) เฟส 2 ชี้ช่วย SMEs เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และลดต้นทุนการผลิต

 
 
       นายดำริ สุโขธนัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังการเป็นประธานเปิดโครงการ Machine Fund ระยะที่ 2 เพื่อสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ประกอบการ SMEs ไทย ว่า โครงการ Machine Fund เป็นโครงการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เอกชน เพื่อสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมตามเป้าหมาย เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมกับเพิ่มโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้ก้าวทันเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลให้ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับไทย

      
       ทั้งนี้ จากการดำเนินโครงการ Machine Fund ระยะที่ 1 มีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 200 ราย ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ไว้ถึงกว่า 200% ปีนี้ ทางภาครัฐ โดย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จึงได้จัดทำโครงการนี้ต่อเป็นระยะที่ 2 ขึ้น โดยจะสนับสนุนดอกเบี้ยเงินกู้ 3% เป็นระยะเวลา 5 ปี กับผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการปรับปรุงเครื่องจักรให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยตั้งเป้าหมายว่า ธนาคารที่ร่วมโครงการจะอนุมัติเงินกู้ให้ได้ตามเป้าหมาย จำนวนผู้ประกอบการ 50 ราย รายละไม่เกิน 20 ล้านบาท ในวงเงินกู้ทั้งสิ้น 700 ล้านบาท โดยมีสถาบันไทย-เยอรมันเป็นผู้ดำเนินโครงการ

      
       ด้านนายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า โครงการ Machine Fund ระยะที่ 2 ได้รับความร่วมมือจากธนาคารชั้นนำทั้ง 9 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารนครหลวงไทย ธนาคารไทยธนาคาร และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SMEs Bank) สนับสนุนเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการฟื้นฟูสภาพเครื่องจักร โดยมีสถาบันไทย-เยอรมันเป็นหน่วยงานวิเคราะห์และประสานงาน
      

       สำหรับโครงการ Machine Fund ระยะที่ 2 กำหนดระยะเวลาตั้งแต่ ตุลาคม 2551 ถึงธันวาคม 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ลดต้นทุนให้กับ SMEs ในด้านการผลิต ด้านพลังงาน ด้านการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการผลิตและฟื้นฟูสภาพเครื่องจักรภายในประเทศ สร้างโอกาสในการปรับปรุงเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พัฒนาเครื่องจักร และเทคโนโลยีของประเทศให้ทัดเทียมนานาประเทศ
      
       นอกจากนี้ ยังเพื่อสนับสนุนแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ และสภาพคล่องทางการเงินให้กับ SMEs ไทย รวมถึงการวางรากฐานการผลิตสินค้าที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SMEs ไทย


      
       สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ สามารถติดต่อขอเอกสารและใบสมัคร หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์บริการและพัฒนาอุตสาหกรรม สถาบันไทย-เยอรมัน นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี โทรศัพท์ 0-2784-6666 / 0-3821-5033-44 ต่อ 1702-1709 โทรสาร 0-2784-6691 หรือสำนักงานประสานงานโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแม่พิมพ์, สำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุน ซอยมิตรไมตรี กล้วยน้ำไท กทม. โทรศัพท์ 0-2381-5041-2 โทรสาร 0-2381-5079 หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โทรศัพท์ 0-3522-9334 โทรสาร 0-3522-9335
 
 








อ้างอิงจาก ผู้จัดการออนไลน์

ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
957
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
652
“เติมพลังความรู้” กับ ..
593
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
564
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
556
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
518
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด