2.4K
4 กรกฎาคม 2558
ธุรกิจ "ที่ปรึกษาส่วนบุคคล" โมเดล สร้างผู้ประกอบการไปเออีซี


เริ่มมีบริษัทเอกชนที่จับต้องปัญหาเอสเอ็มอีในเชิงลึก และแก้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น การที่ภาครัฐจ้างที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ จากบริษัทต่าง ๆ มาเพื่อแก้ปัญหาให้เอสเอ็มอี ก็เหมือนการตัดเสื้อตัวเดียวให้เอสเอ็มอีทุกรายใช้ด้วยกัน ในเชิงเทคนิคดูว่าทำได้ แต่มีหลาย ๆ ตัวแปรที่ทำให้การลงมือปฏิบัติจริงไม่สำเร็จ

เช่น งบประมาณแบบปีต่อปีก็ดี ระยะเวลาการทำงานก็ดี บางโครงการบวกเวลาในการยื่นเรื่องขออนุมัติโครงการ เริ่มรับสมัครจนกระทั่งปิดโครงการ จริง ๆ อาจจะมีระยะเวลาในขั้นตอนต่าง ๆ เพียงแค่ 5 เดือนเท่านั้น

ธุรกิจที่ปรึกษาส่วนบุคคล Bean′s World ก็มีโมเดลคล้ายกัน แต่ต่างกันที่เอกชนรู้ว่าผู้ประกอบการต้องการอะไรบ้าง เริ่มจากการเข้าไปศึกษาปัญหา รวมกลุ่มแมตชิ่งธุรกิจ และสุดท้ายคือ มีสื่อในมือพร้อมประชาสัมพันธ์ ครบทุกช่องทางที่ผู้ประกอบการต้องการ

คุณฤทธิชัย สายสุวรรณ กรรมการผู้จัดการและเจ้าของกล่าวว่า การเป็นที่ปรึกษาส่วนบุคคลต้องมีความรู้ความสามารถ เน็ตเวิร์กที่แตกต่างจากที่ปรึกษารายอื่น ๆ เช่น เขาเคยทำงานด้านรีเทลที่เซ็ลทรัลพัฒนา และเคยดูแลพื้นที่คอมมูนิตี้ของ เครืออีจีวี มาก่อน ทำให้รู้เรื่องดีเทลเป็นอย่างดี เช่น ขั้นตอนในการทำงาน ระยะเวลาในการวางแผนงานของรีเทลแต่ละที่ ซึ่งมีผลต่อการนำไปปรับใช้กับผู้ประกอบการอย่างมาก

ตัวอย่างของการเข้าไปเป็นที่ปรึกษาส่วนบุคคลก็คือฮ่องกงนู้ดเดิ้ลที่ประสบปัญหาในเรื่องของการขยายสาขาได้ไม่ตรงตามเป้า คือ ปัจจุบันมีสาขาราว 20 สาขา แต่เมื่อมีการพูดคุยกันก็จะพบปัญหาหลาย ๆ ประการที่เป็นอุปสรรค เช่น เรื่องค่าแรกเข้า ค่าการตลาด และไซซ์ของฮ่องกง นูดเดิ้ลซึ่งต้องลงทุนสูงถึงหลัก 4 ล้านบาทต่อสาขา



แนวทางแก้ปัญหาคือ ลดไซซ์ ลดค่าแฟรนไชส์ ทำการตลาดเพื่อที่จะสร้างรายได้จากโปรดักต์หลักเพิ่มขึ้น จากเดิมเน้นขายอาหารหน้าร้านเพียงอย่างเดียว

"จุดเด่นฮ่องกงนู้ดเดิ้ล ทำธุรกิจมายาวนานกว่า 30 ปี มีจุดเด่นคือทำเส้นเอง เขามีความฝังใจในรูปแบบของแฟรนไชส์ตั้งแต่ยุคแรก ๆ จึงไม่กล้าเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ผมแนะนำให้เขาลดไซซ์ให้เล็กลงเหลือแค่ 2 ล้านเศษ ๆ เพื่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น"

จากนั้นเริ่มทำโปรโมชั่นกับกังฟูแพนด้า ใครที่กินของเราแลกซื้อชามกลับบ้านไปเลย ขายดีมาก ยอดก็ขึ้น ชามก็ขายดี

และที่มีการขยายต่อก็คือ ขายเส้นแช่แข็งให้ลูกค้าไปลวกเองที่บ้าน เราไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ลูกค้าเมื่อเขากินที่ร้านก็อยากจะทำเองที่บ้าน พอทำที่บ้านก็นึกถึงการมากินที่ร้าน เป็นการเอื้อกัน และในระยะยาวก็คือ การพาให้ฮ่องกงนู้ดเดิ้ลขยายสาขา หาผู้ร่วมทุน ขยายไปประเทศในเออีซี และเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ

"เราจะหาผู้ร่วมทุนเพื่อขยายใน AEC ด้วย โดยสัดส่วนผู้ร่วมทุน 60/40 ของฮ่องกงนู้ดเดิ้ลในฐานะคนที่มีความชำนาญเรื่องโปรดักต์ หน้าที่ก็คือ การพัฒนาโปรดักต์ ส่วนหุ้นส่วนจะเป็นผู้ทำตลาด วิธีนี้จะทำให้การขยายตลาดเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและเติบโต ในที่สุดก็สามารถที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯได้"

ถือเป็นจุดแข็งธุรกิจที่ปรึกษาภาคเอกชน ซึ่งปกติแล้วเอสเอ็มอีจะมองไม่ถึงว่าจะเติบโตไปอย่างไร ผู้ที่ให้คำปรึกษาจะต้องมากกว่าการแนะนำหรือชี้แนะ ตั้งแต่คิด แมตชิ่งธุรกิจและพาไปสู่ความยั่งยืน


ซึ่งโมเดลของการรวมกลุ่มนั้นฤทธิชัยแนะว่า ฮ่องกงนู้ดเดิ้ลจะร่วมกับเอสเอ็มอีรายอื่น ๆ ที่ไม่ซ้ำกันในกลุ่ม และมีการนัดพูดคุยกันเดือนละครั้ง "เราก็จะดึงเอาผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ เข้ามาร่วมด้วย เช่นที่เพิ่งเกิดการแมตชิ่งกันก็คือ ข้าวตราเกษตร จะส่งข้าวให้ฮ่องกงนู้ดเดิ้ลอีกด้วย"

และท้ายที่สุดการมีรายการอาหารในช่องทรูทำให้เราสามารถที่จะนำเสนอเขาในรูปแบบรายการของเราเองการทำโฆษณาต่างๆ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะประชาสัมพันธ์ตนเองออกไปอย่างได้ผล ทั้งหมดคือตัวอย่างการให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา โดยให้คำปรึกษาอาทิตย์ละครั้งต่อผู้ประกอบการหนึ่งราย

ส่วนรายได้หลักมาจากการให้คำปรึกษาเฉลี่ยแต่ละรายจ่ายเดือนหลักหมื่นต้นๆให้คำปรึกษาอาทิตย์ละครั้ง ที่ทั้งผู้ประกอบการเองสามารถที่จะจ่ายได้เท่ากับการจ่ายเงินเดือนพนักงานคนหนึ่ง และสามารถที่จะใช้บริการในระยะยาว เป็นการปิดจุดอ่อนที่ภาครัฐทำในเวลานี้

ธุรกิจที่ปรึกษาโดยเอกชนแบบนี้จะเริ่มมากขึ้นเมื่อเอสเอ็มอีหันมาให้ความสำคัฐกับการพัฒนาธุรกิจและการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน

อ้างอิงจาก  ประชาชาติธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
963
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
664
“เติมพลังความรู้” กับ ..
596
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
567
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
558
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
522
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด