5.6K
5 มกราคม 2558
ทุนยักษ์แห่เปิดร้านขายยารับเออีซี ค้าปลีกปูพรม-เซเว่นลุยแฟรนไชส์



 
ธุรกิจร้านขายยาคึก สิงคโปร์-มาเลย์ซุ่มรอ AEC เชนดรักสโตร์ไทย-เทศสปีดสาขา "ฟาสซิโน" บุกปั๊มน้ำมัน "บิ๊กซี-เทสโก้-เซเว่น" ไม่ยั้ง ร.พ.กรุงเทพขอแจมเค้ก

ปัจจุบันแม้ตลาดร้านขายยาจะมีอุปสรรคการขยายในแง่ของจำนวนเภสัชกรประจำร้านที่หายาก แต่จากตัวเลขอัตราการเติบโตในเกณฑ์สูงเป็นเลข 2 หลัก จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมซื้อยารับประทานเอง และร้านขายยาเป็นทางเลือกแรก ๆ ของประชาชนที่ใช้บริการเมื่อเจ็บป่วยในเบื้องต้น รวมถึงโอกาสจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ทำให้ผู้ประกอบการค่ายต่าง ๆ เร่งขยายสาขาเพิ่มเพื่อรองรับโอกาสทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น

นางสาวญาณิน พิศาลวาเลิศ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ฟาร์มาฮอฟ จำกัด เจ้าของแฟรนไชส์ร้านขายยา "ฟาสซิโน" เปิดเผยว่า ขณะนี้ตลาดร้านขายยามีความคึกคักขึ้น เห็นได้จากผู้ประกอบการรายใหญ่ ทั้งบริษัทของคนไทยและต่างชาติที่เข้ามาร่วมทุน มีความความเคลื่อนไหวในการเปิดร้านขายยาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตลาดร้านขายยายังมีโอกาสจะเติบโตได้อีกมาก ส่วนหนึ่งมาจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ซึ่งทำให้บริษัทจากต่างชาติสนใจจะเข้ามาเปิดสาขาในไทยมากขึ้น และอีกด้านหนึ่งก็เป็นโอกาสของร้านขายยาสัญชาติไทยที่จะลงทุนในอาเซียนด้วยเช่นกัน

"เราตั้งเป้าจะเปิดสาขาไว้ถึง 10 สาขา สำหรับปีนี้ จากปกติที่เปิดปีละ 5-6 สาขา โดยจะมุ่งไปที่ต่างจังหวัดซึ่งมีโพเทนเชียลมากกว่ากรุงเทพฯที่ตลาดค่อนข้างแน่น นอกจากนี้ยังมีสาขาที่เปิดในปั๊มน้ำมัน ปตท.และอยู่ระหว่างศึกษาโมเดลใหม่ ๆที่จะไปร่วมกัน รวมถึงสนใจจะขยายออกไปต่างประเทศในรูปของการร่วมทุนกับพันธมิตรในท้องถิ่น



 
โดยเฉพาะลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนาม"รศ.(พิเศษ) ภก.กิตติ พิทักษ์นิตินันท์นายกสภาเภสัชกรรม ระบุว่า โอกาสจากการเปิดเออีซี ทำให้ขณะนี้มีต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซียสนใจจะเข้ามาลงทุนเปิดร้านขายยา ขณะที่เครือข่ายร้านขายยาที่มีอยู่ต่างก็มองเห็นโอกาสของตลาดที่จะขยายตัวได้อีก จึงมีร้านขายยาเปิดใหม่เป็นจำนวนมากเกิดขึ้น ส่งผลให้ร้านขายยาเดี่ยวลำบาก เพราะเชนสโตร์มีต้นทุนต่ำกว่า ระบบการจัดการที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม สภาเภสัชกรรมพยายามให้ร้านยาเดี่ยวรวมตัวกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแข่งขัน

ด้านผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทยอยลงทุนเปิดร้านขายยามาเป็นระยะ ๆ ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวในการเร่งเปิดร้านเพิ่มขึ้น นายกุฎาธาร นาควิโรจน์ ที่ปรึกษาบริหารฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของร้านขายยา "เพรียว" กล่าวในเรื่องนี้ว่า ปีนี้บริษัทเน้นการขยายสาขาร้านเพรียวค่อนข้างมาก หรือประมาณ 20 สาขา โดยเปิดทั้งในสาขาบิ๊กซี และร้านสแตนด์อะโลนตามชุมชน หรือคอมมิวนิตี้มอลล์ คาดว่าสิ่นปีจะมีสาขาไม่น้อยกว่า 150 สาขา และในจำนวนนี้เป็นร้านยาคุณภาพ ที่ได้รับการรับรองจากสภาเภสัชกรรม 70 สาขา

"การมีสาขาจำนวนมาก จะช่วยในแง่ของวอลุ่มในการสั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนได้ในระดับหนึ่ง การมีสาขาอยู่ตามชุมชม มีที่จอดรถ ก็ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาร้านเพรียวมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10-20%"

ขณะที่นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ รองประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเท็มส์ จำกัด กล่าวว่า เทสโก้ฯเพิ่งลงทุนเปิดร้านขายยาเองได้ไม่ถึง 2 ปี จากเดิมที่เปิดพื้นที่ให้ผู้สนใจมาเช่าเปิดร้าน ปัจจุบันมีประมาณ 40 สาขา จากนี้ไปจะเน้นเปิดร้านขายยาตามสาขาของเทสโก้ฯเพิ่มอย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

ด้านค่ายเซเว่นฯ ผู้บริหารร้านขายยา "เอ็กซ์ต้า" ที่มีทั้งรูปแบบบริษัทลงทุนเองและเปิดขายแฟรนไชส์ นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ย้ำว่า จะขยายสาขาเพิ่มอีกเท่าตัว จากที่มีอยู่ 500-600 สาขา โดยจะขยายไปต่างจังหวัดให้มากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง พร้อมปรับเพิ่มสัดส่วนสินค้าเพื่อสุขภาพและความงามให้มากขึ้นด้วย


ด้านนางสาวเบญจมาศ ต้องประสิทธ์ กรรมการบริหาร บริษัท ซูรูฮะ (ประเทศไทย) จำกัด ร้านขายยา บริษัทร่วมทุนระหว่างเครือสหพัฒน์กับญี่ปุ่น กล่าวว่า ปีนี้ตลาดร้านขายยาคึกคักมาก โดยมีอัตราเติบโตถึง 15-20% และมีแนวโน้มโตต่อเนื่อง

โดยเฉพาะร้านขายยาที่เป็นรูปแบบกึ่งสะดวกซื้อ ซูรูฮะจึงต้องปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับการแข่งขันที่มีความรุนแรงขึ้น ทั้งการเร่งขยายสาขาให้ครบ 36 แห่งภายในสิ้นปี จากที่เปิดไปกว่า 22 สาขา รวมทั้งการจัดกิจกรรมและเปิดตัวบัตรสมาชิกน.พ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากเข้าซื้อกิจการร้านขายยา "เซฟดรัก" เดือนกันยายนที่ผ่านมา ตั้งเป้าขยายให้ได้ 50% จากที่เซฟดรักมีอยู่ 103 สาขา พร้อมขยายไลน์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเป็นตัวแทนจำหน่ายยา เพื่อเพิ่มน้ำหนักการลงทุนกลุ่มน็อนคอร์บิสซิเนส ที่มีมาร์จิ้นสูง

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า แม้ว่าตลาดร้านขายยายังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อีกมาก แต่ผู้ประกอบการทุกค่ายต่างระบุไปในทิศทางเดียวกันว่ามีปัญหาเรื่องเภสัชกรหายาก และเป็นข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถขยายสาขาได้ตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากแต่ละปี สถาบันการศึกษาผลิตเภสัชกรได้ประมาณ 1,500 คน และมีเภสัชกรจำนวนหนึ่งที่หันไปทำอาชีพอื่น จึงทำให้เกิดปัญหาการแย่งตัวเภสัชกรตามมา

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีจำนวนร้านขายยาทั่วประเทศ ประมาณ 19,500-20,000 ร้าน เป็นร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ขย.1) ประมาณ 13,000 ร้าน, ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ (ขย.2) ประมาณ 4,000 ร้าน, ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จสัตว์ (ขย.) ประมาณ 900-1,000 ร้าน และร้านขายยาแผนโบราณ ประมาณ 2,000 ร้าน

อ้างอิงจาก ประชาชาติธุรกิจ
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่ มาแล้ว! ทูลเก..
5,136
PLAY Q by CST bright u..
1,023
มาแล้ว! #งานแฟรนไชส์ ม..
934
อร่อย! เลิศ! รสเด็ด ก๋..
927
สุดปัง! แฟรนไชส์หม่าล่..
770
ลงทุนกับ “ซุปซุป” ร้าน..
747
ข่าวแฟรนไชส์มาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด