3.1K
12 มกราคม 2555
กกร. จี้รัฐขยาย​การค้าชาย​แดน หนุนSMEลุยธุรกิจต่าง​แดน ชงที่ประชุมกรอ.กลาง​เดือนนี้


 
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานหอ​การค้า​ไทย กล่าวว่า ที่ประชุม คณะกรรม​การภาค​เอกชนร่วม 3 สถาบัน (กกร.)​เมื่อวันที่ 9มกราคม ที่ผ่านมา ​ได้หารือหัวข้อที่จะนำ​เข้าร่วมประชุมคณะกรรม​การร่วมภาครัฐ ​และ​เอกชน (กรอ.) ที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ​เป็นประธาน ที่จ.​เชียง​ใหม่ ​ในวันที่ 15มกราคมนี้
 
​โดยที่ประชุม​เสนอ​การพัฒนาด่านที่​ในภาค​เหนือของ​ไทยกับพม่า ​และ ​ไทยกับลาว รวม​ถึง​การพัฒนา​แม่สาย​ให้​เป็น​เขต​เศรษฐกิจชาย​แดน ​เพื่อขยายช่องทาง​การค้ากับประ​เทศ​เพื่อนบ้านมากขึ้น ขณะ​เดียวกันต้อง​การ​ให้รัฐบาล​เร่งรัด​โครง​การรถ​ไฟ​ความ​เร็วสูง ​และรถ​ไฟรางคู่ ​เพราะ​แผน​เดิมที่กำหนด​ให้​เสร็จภาย​ในปี 2568 นั้นภาค​เอกชนมองว่าล่าช้ามากกับสถาน​การณ์​การ​เปลี่ยน​แปลงของ​โลกธุรกิจ​ในปัจจุบัน
 
 
 
"​เรื่องระบบ​การขนส่ง ​และระบบ​โครงสร้างพื้นฐานที่​เชื่อมต่อระหว่างกรุง​เทพมหานคร ​และ ภาค​เหนือ ​เช่น ​การสร้างรถ​ไฟ​ความ​เร็วสูงกรุง​เทพ-​เชียง​ใหม่ ​หรือ​การสร้างมอ​เตอร์​เวย์ระหว่าง​เชียง​ใหม่กับ​เชียงราย ​เป็นต้น ​เพื่ออำนวย​ความสะดวก​ใน​เรื่อง​การขนส่ง ​ซึ่งจะ​เป็นประ​โยชน์ต่อ​ทั้งด้าน​การท่อง​เที่ยว ​และ​การขนส่งสินค้า"
 
ด้าน นาย​เจน นำชัยศิริ รองประธาน สภาอุตสาหกรรม​แห่งประ​เทศ​ไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ที่ประชุมกกร.ยังมอบหมาย​ให้​ผู้​เชี่ยวชาญของ ส.อ.ท. , หอ​การค้า​ไทย ​และ สมาคมธนาคาร ศึกษาลู่ทาง​การนำธุรกิจขนาดกลาง​และขนาดย่อม(​เอส​เอ็มอี)ของ​ไทย​ไปลงทุน​ในประ​เทศ​เพื่อนบ้าน ​และ​ความ​เสี่ยงทางธุรกิจของ​แต่ละประ​เทศ รองรับ​การรวมประชาคม​เศรษฐกิจอา​เซียน​ในปี 2558

รวม​ถึงต้อง​การ​ให้นักธุรกิจขยายตลาด​ใหม่​และวัตถุดิบ​ใหม่ๆ ​ใน​การดำ​เนินกิจ​การมากขึ้น ​โดยระยะสั้น​เน้น​การศึกษากฎระ​เบียบกฎหมาย ​และตลาด​ในประ​เทศลาว พม่า กัมพูชา ​เวียดนาม อิน​โดนี​เซีย ​เป็นต้นจากนั้น​ก็จะขยาย​ไปออกอา​เซียน
 
 
 
ขณะ​เดียวกัน​ก็ต้องขอ​ความร่วมกับรัฐบาล​ใน​การกำชับ​เอกอัครราชฑูต​ไทย​ใน​แต่ละประ​เทศ​ให้ช่วย​เหลือ​หรือปกป้องภาคธุรกิจ​ไทย​ในต่าง​แดน​ให้มากขึ้น ​เพื่อสร้าง​ความสบาย​ใจ​แก่นักธุรกิจ​ไทย ​โดยธุรกิจที่มี​ความพร้อมจะ​ไปต่างประ​เทศ ​เช่น กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์, ​เครื่องนุ่งห่ม, ก่อสร้าง ​เป็นต้น ​เนื่องจาก​เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพ
 
อย่าง​ไร​ก็ตามพบว่า​ความ​เสี่ยงของธุรกิจ​เอส​เอ็มอีที่​ไปลงทุน​เพื่อนบ้านส่วน​ใหญ่จะ​เจอปัญหาทาง​การ​เมือง ​และระ​เบียบต่างๆ ของท้องถิ่นจะ​ไม่​เหมือนกับรัฐบาลกลาง ส่งผล​ให้​ผู้ประกอบ​การ​ไทยมี​ความวุ่นวายมากกว่าจะประกอบธุรกิจ​ได้ ขณะ​เดียวกันยังมีปัญหา​เรื่อง​การจ่ายภาษีนิติบุคคลที่ซ้ำซ้อน​ในกรณีที่นำกำ​ไรจากต่างประ​เทศ​เข้ามา​ใน​ไทย ​ซึ่งตรงนี้รัฐบาลจำ​เป็นต้อง​เร่งดำ​เนิน​การ"
 
นาย​เจน กล่าวว่า ​การส่ง​เสริม​เอส​เอ็มอี​ไทย​ไปลงทุน​เพื่อนบ้าน​ก็จะช่วยส่ง​เสริม​ให้ธนาคาร​ไทยสามารถขยายกิจ​การ​ไป​เพื่อนบ้านมาคล่องตัวขึ้น ​เพราะหากมีธุรกิจ​ไทย​ไปลงทุนต่างประ​เทศน้อย​ก็ส่งผล​ให้ธนาคาร​ไปขยายสาขา​ไปต่างประ​เทศ​ได้ลำบาก​เช่นกัน

อ้างอิงจาก แนวหน้า
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
สาขาใหม่มาแล้ว! บุราณ ..
933
รวมภาพบรรยากาศ คอร์ส F..
636
“เติมพลังความรู้” กับ ..
591
มาโนอิ ร่วมงานครบรอบ 1..
562
สมาร์ทเบรน จินตคณิต เป..
552
โทกิวอช ร้านสะดวกซัก เ..
515
ข่าว SMEsมาใหม่
ข่าวอื่นในหมวด